กระบวนการทางอาชีพเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การมีชีวิตที่ดีของผู้ต้องขังที่อยู่ในเรือนจำและทัณฑสถานภายหลังการพ้นโทษ

ผู้แต่ง

  • ฌานิกา ศรีวรรณวิทย์ วิทยาลัยดุสิตธานี 1 ซอยแก่นทอง ถนนศรีนครินทร์ แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร 10250.
  • วรรณดี สุทธินรากร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ภัทรวรรธน์ จีรพัฒน์ธนธร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สถิดาพร คำสด คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.34

คำสำคัญ:

ผู้พ้นโทษ, การปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง, กระบวนการฝึกอาชีพ, กระบวนการทางอาชีพที่มีความหมายต่อความหวัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์และสาเหตุของการกระทำผิดและการทำผิดซ้ำของผู้ต้องขัง 2) กระบวนการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังด้านการฝึกอบรมอาชีพในเรือนจำ 3) ความต้องการในการฝึกอาชีพและการมีชีวิตที่ดีของผู้ต้องขังภายหลังการพ้นโทษ และ 4) กระบวนการทางอาชีพที่มีผลต่อการป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังภายหลังการพ้นโทษ ผู้ให้ข้อมูลหลักเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ผู้บริหาร บุคคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ต้องขัง ผู้ต้องขัง นักสังคมสงเคราะห์ และเจ้าหน้าที่ควบคุมการฝึกอาชีพ จำนวน 156 คน ในเรือนจำและทัณฑสถานจำนวน 4 แห่ง เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง ผ่านการตรวจสอบได้ค่าความเที่ยงตรงอยู่ระหว่าง 0.50-1.00 การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการวิจัยภาคสนามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผู้ต้องขังกระทำผิดและการทำความผิดซ้ำในเรื่องการค้าและเสพยาเสพติด รองลงมาคือ การฉ้อโกง คดีฆ่า และชิงทรัพย์ และมีการกระทำผิดซ้ำเนื่องจากไม่ยอมรับความผิดที่เกิดขึ้นและไม่มีภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่เข้มแข็งในช่วงก่อนพ้นโทษ ซึ่งผู้ต้องขังมักกลับไปอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิม ทำให้เกิดการกระทำผิดซ้ำสาเหตุแห่งการกระทำผิดและกระทำผิดซ้ำ พบว่ามี 2 สาเหตุ ได้แก่ สาเหตุจากภายในจิตใจตนเอง และสาเหตุจากสภาพแวดล้อมภายนอก เรือนจำและทัณฑสถานมีกระบวนการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังด้วยการฝึกอบรมด้านอาชีพคือการวางแผนชีวิต การจำแนกและปรับทัศนคติที่มีต่ออาชีพของผู้ต้องขัง การอบรมและฝึกฝน และการประเมินและประยุกต์ใช้เพื่อสร้างอาชีพส่วนความต้องการที่แท้จริงในการฝึกอาชีพและการมีชีวิตที่ดีของผู้ต้องขัง พบว่าส่วนใหญ่ต้องการมีงานทำ เพื่อหารายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว กระบวนการทางอาชีพมีความหมายต่อความหวังและช่วยให้คลายเครียดในระหว่างถูกคุมขัง เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาชีพและสร้างรายได้หลังจากพ้นโทษ ทำให้ผู้ต้องขังสามารถพึ่งพาและเห็นคุณค่าในตนเอง ที่สำคัญกระบวนการทางอาชีพมีความสัมพันธ์กับการปกป้องกันผู้ต้องขังให้พ้นจากการกระทำผิดซ้ำ

References

Deduang, P. (2007). Factors affecting the offense of drug distribution cases among female prisoners: a case study of the Central Women Correctional Institution. Thesis, Master of Arts Program in Justice Administration Branch, Thammasat University, Bangkok. (In Thai)

Department of Probation. (2017). 20-Year Strategic Plan (2017-2036). Retrieved May 9, 2017, from http://164.115.41.115/u5/probation/index.php (In Thai)

Doddamkeng, S. (2014). Benefits of inmates with a classification system. Thesis, Master of Laws Program in Department of Law, Dhurakij Pundit University, Bangkok. (In Thai)

Jesadarak, S., Suwanhong, R., Yantana, N., Ruamchit, M., Sakrangkun, P., & Bunmakan, W. (2010). Adjustment of prisoners after their release from prison. Research Report. Office of Social Work Department of Corrections, Bangkok. (In Thai)

Kijphitak, P. (2009). Adaptation of new female inmates at the Thonburi Women Correctional Institution. Thesis, Master of Arts Program in Justice Administration Branch, Thammasat University, Bangkok. (In Thai)

Kurmkom, N. (2004). study of Needs of females inmates : a case study of Nakhornpathom Central Prison. Thesis, Master of Arts Program in Department of Justice Administration, Thammasat University, Bangkok. (In Thai)

Ministry of Justice. (2019). Project to return good people to society. Retrieved May 14, 2017, from https://www.moj.go.th/thainiyom/detail?id=8 (In Thai)

Office of Correctional System Research and Development. (2013). Factors Related to Recidivism. Research Report. Rehabilitative Development Section Office of Research and Correctional System Development, Nonthaburi. (In Thai)

Office of Corrections Research and Development. (2012). Pattern development and behavioral development process Occupational training for prisoners of the Department of Corrections. Research Report. Rehabilitative Development Section Office of Research and Correctional System Development, Bangkok. (In Thai)

Office of the Education Council. (2008). Vocational Education Act B.E. 2551. Retrieved April 28, 2017, from https://www.onec.go.th (In Thai)

Phothisita, C. (2009). The science and art of qualitative research (4th ed). Bangkok : Amarin Printing and Publishing Public. (In Thai)

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Super, D. E. (1957). Career pattern as a basic for vocational. New York : Harper and Brother.

Tangkittipaporn, J. (2013). General psychology (1st ed.). Bangkok : Chulalongkorn University. (In Thai)

UNESCO. (1978). Indicators of Environmental Quality and Quality of Life. Paris : UNESCO.

Woraphat, T. (2013). The Crisis of Human Rights in Prison: Prison Overdose Phenomenon. Personal Academic Document. Office of the Constitutional Court Constitution College, Bangkok. (In Thai)

(2019, 5 February). Prisoner. Interview. (In Thai)

(2019, 5 February). Prisoner. Interview. (In Thai)

(2019, 5 February). Prisoner. Interview. (In Thai)

(2019, 6 February). Prisoner. Interview. (In Thai)

(2019, 6 February). Prisoner. Interview. (In Thai)

(2019, 7 February). Prisoner. Interview. (In Thai)

(2019, 7 February). Prisoner. Interview. (In Thai)

(2019, 7 February). Prisoner. Interview. (In Thai)

(2019, 11 February). Prisoner. Interview. (In Thai)

(2019, 11 February). Prisoner. Interview. (In Thai)

(2019, 11 February). Prisoner. Interview. (In Thai)

(2019, 12 February). Prisoner. Interview. (In Thai)

(2019, 12 February). Prisoner. Interview. (In Thai)

(2019, 13 February). Manager. Interview. (In Thai)

(2019, 13 February). Personnel responsible for caring for Prisoner. Interview. (In Thai)

(2019, 13 February). Prisoner. Interview. (In Thai)

(2019, 13 February). Officer of control for training vocational. Interview. (In Thai)

(2019, 5 March). Prisoner. Interview. (In Thai)

(2019, 5 March). Prisoner. Interview. (In Thai)

(2019, 13 March). Social Worker. Interview. (In Thai)

p.180

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-01

How to Cite

ศรีวรรณวิทย์ ฌ. ., สุทธินรากร ว., จีรพัฒน์ธนธร ภ., & คำสด ส. (2022). กระบวนการทางอาชีพเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การมีชีวิตที่ดีของผู้ต้องขังที่อยู่ในเรือนจำและทัณฑสถานภายหลังการพ้นโทษ. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 16(2), 177–190. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.34