รูปแบบการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลช้างซ้าย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • พิไลพร สุขเจริญ อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • กมลชนก ทองเอียด คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • เกศรา ตั้นเซ่ง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • อัญญรัตน์ มีสิทธิ์ เทศบาลตำบลช้างซ้าย อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • ภูเมศร์ คงเกต เทศบาลตำบลช้างซ้าย อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.10

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, การสร้างเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

อัตราผู้สูงวัยที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้คุณภาพชีวิตในช่วงวัยขาดความสมดุล จึงเป็นที่มาของวัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้คือเพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และสร้างรูปแบบการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 113 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบวัดคุณภาพชีวิต 2) แบบวัดความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิต มีค่าความเชื่อมั่น 0.90 และ 0.93 ตามลำดับ และ 3) แบบการสนทนากลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการลงพื้นที่ภาคสนามด้วยการสอบถามและการจัดสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมของคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{X}=3.08) มีความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} =2.08) โดยมีความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านร่างกายมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X}=2.37) และรูปแบบการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย การจัดอบรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองแก่ผู้สูงอายุ การบริการตรวจสุขภาพประจำปีแก่ผู้สุงอายุ การสนับสนุนให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา และบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม การจัดสวัสดิการแจกสิ่งของที่จำเป็นแก่ผู้สูงอายุ และการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้บุคคลในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถนำไปสู่นโยบายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับบริบทท้องถิ่น

References

Chan, C., & Liang, J. (2013). Active Aging: Policy Framework and Applications to Promote Older Adult Participation in Hong Kong. Ageing Int, 38, 28-42.

Charoenwong, S., Kongkun, P., Chansangrat, N., Sriwan, P., & Niramangul, R. (2018). Long-term Care Management Guidelines for Dependent Elders in a Muslim Community, Southern Thailand. Princess of Naradhiwas University Journal, 10(3), 1-11. (In Thai)

Chen, S. (2016). Determining the service demands of an aging population by integrating QFD and FMEA method. Qual Quant, 50, 283-298.

Cinotti, E., Perrot, L., Labeille, B., Biron, C., Vierkotter, A., Heusele, C., Nizard, C., Schnebert, S., Barthelemy, C., & Cambazard, F. (2016). Skin tumours and skin aging in 209 French elderly people: the PROOF study. Eur J Dermatol, 26(5), 470-476.

Civil Registration Office of Chang Sai Subdistrict.(2016). Elderly population data of Chang Sai Subdistrict Municipality. Retrieved December 3, 2016, from http://www.changsaicity.go.th/default.asp (In Thai)

Creswell, W. J., & Clark, P. V. (2011). Designing and conducting mixed methods research. California : SAGE Publications.

Daengjung, Y. (2015). Guidelines for the Quality of Life Development for the Elderly in Laplae District Uttaradit Province. Phetchabun Rajabhat Journal, 16(2), 84-92. (In Thai)

Kotpratum, K., & Nuntaboot, K. (2016). Community Continuing Care for Older People. Suranaree J. Sci. Technol, 25(3), 275-286. (In Thai)

Mahadnirunkul, S. (1997). Quality of Life Indicators of the World Health Organization Thai Version (WHOQOL-BREF-THAI). Retrieved December 3, 2016, from https://www.dmh.go.th/test/ download/view.asp?id=17 (In Thai)

Mutthakarn, C. (2016). Aging society and preparation for confrontation. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 9(1), 131-138. (In Thai)

National Statistical Office. (2014). Polling public opinions about knowledge and attitudes towards Elderly people, 2011. Bangkok : Bureau of Forecasting Statistics National Statistical Office. (In Thai)

Popejoy, L., Galambos, C., Stetzer, F., Popescu, M., Hicks, L., Khalilia, M., Rantz, M., & Marek, K. (2015). Comparing Aging in Place to Home Health Care: Impact of Nurse Care Coordination On Utilization and Costs. Nursing Economics, 33(6), 306-313.

Sukcharoen, P., Rakhab, A., & Thongied, K. (2019). The Concerns of Seniors in Suratthani: Lessons Learned from an Elderly School. Journal of Humanities and Social Sciences, SRU, 11(1), 61-81. (In Thai)

Tongdee, J., Rongmuang, D., & Nakchatree, C. (2013). Health Status and Quality of Life among the Elderly in the Southern Border Provinces of Thailand, Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 22(3), 88-99. (In Thai)

Wongsawad, S., Peungposop, N., Yoelao, D., & Sathirapanya, C. (2018). Developing Activity Models in order to Promote Health in the Risk Group of Elders, for the Community Health Team: Critical Participatory Action Research. Journal of Behavioral Science for Development, 10(1), 192-209. (In Thai)

Wongwiseskul, S., Sukcharoen, P., & Payomyong, S. (2017). Community Participation Model of Health Promotion for the Elderly in Bangphlat District, Bangkok Metropolis. SDU Res. J., 10(2), 153-173. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-01

How to Cite

สุขเจริญ พ., ทองเอียด ก., ตั้นเซ่ง เ., มีสิทธิ์ อ., & คงเกต ภ. (2022). รูปแบบการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลช้างซ้าย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 16(1), 116–128. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.10