ผลของการฝึกแบบสถานีที่มีต่อการพัฒนาการทรงตัว ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา

ผู้แต่ง

  • สริน ประดู่ Kasetsart University Laboratory School Center for Educational Research and Development, Faculty of Education, Kasetsart University
  • วายุ แวงแก้ว โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.2

คำสำคัญ:

การทรงตัว, โปรแกรมการฝึกแบบสถานี, นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกแบบสถานีที่มีต่อการพัฒนาการทรงตัวของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 39 คน เป็นนักเรียนชาย 19 คน นักเรียนหญิง 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ 1) โปรแกรมฝึกการทรงตัวแบบสถานี 8 สถานี ประกอบด้วย แทมโพลีน กระดานทรงตัว เดินสลับซ้ายขวา โบซูบอล การก้าวขึ้น-ลง เดินราวเดี่ยว กระโดดเท้าคู่ข้ามรั้ว เดินข้ามบันไดเชือก ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยผ่านการตรวจความเที่ยงตรงเฉพาะหน้า (Face validity) จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน 2) แบบทดสอบการทรงตัวบนขาข้างเดียวที่สร้างขึ้นโดยมิชิกาวะ และคณะ (2009) ทำการทดสอบความเชื่อถือ โดยวิธีการของเพียร์สัน (r=0.97) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที (Dependent t-test) ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของการทรงตัวบนขาข้างเดียวของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนการฝึกมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 26.09 วินาที และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 14.35 วินาที และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 มีค่าเฉลี่ยเป็น 51.13 วินาที และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 17.06 วินาที และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการทรงตัวบนขาข้างเดียวของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนการฝึกและหลังการฝึกพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

Siriprasert, J. (2000). Skills and techniques for teaching physical education at the elementary level. Bangkok : Chulalongkorn University Press. (In Thai)

Krabuanrat, C. (2014). Science of Coaching. Bangkok : Sinthana Copy Center. (In Thai)

Leelayuwat, N. (2010). Physiology of exercise. Khon Kaen : Khon Kaen University Press. (In Thai)

Phutichan, P. (2004). Sport Science. Bangkok : Odium Store Publishing House. (In Thai)

Peanchob, W. (2018). Collection of articles on philosophy, principles, teaching methods and measurement forEvaluate physical education (2nd ed). Bangkok : Chulalongkorn Publishing House. (In Thai)

Mongkol, S. (2013). The effect of balance training by program Wii Fit with Nintendo Wii and Wii balance board in female obese people. Chiang Mai Journal of Medical Techniques, 46(1), 68. (In Thai)

Jeerapong, S. (2010). Effect of Exercise Using Basic Motor Activity on Balance Capability of Autistic Children. Master of Education Program in Faculty of Education, Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai)

Jonsson, E. (2006). Effects of Healthy Aging on Balance a Quantitative Analysis of Clinical Tests. Research report. Karolinska Institutel, Stockholm.

Kirkendall, D. R., Gruber, J. J., & Johnson, R. E. (1987). Measurement and Evaluation for Physical Education. Illinois : Human Kinetics Publisher.

Yaggie, J. A., & Campbell, B. M. (2006). Effects of Balance Training on Selected Skills. Journal of Strength and Conditioning Research, 20(2), 422-428. dio:10.1519/R-17294.1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-01

How to Cite

ประดู่ ส., & แวงแก้ว ว. (2022). ผลของการฝึกแบบสถานีที่มีต่อการพัฒนาการทรงตัว ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 16(1), 15–23. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.2