การพัฒนาความอ่อนตัวด้วยโปรแกรมการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่มีต่อคุณภาพชีวิตด้านร่างกายของผู้สูงอายุ จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • ชิดชนก ศรีราช มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • ชาญชลักษณ์ เยี่ยมมิตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.49

คำสำคัญ:

การฝึกพัฒนาความอ่อนตัว, การฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อ, คุณภาพชีวิตและร่างกายผู้สูงอายุ, ความอ่อนตัวของผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความอ่อนตัว คุณภาพชีวิตด้านร่างกาย และเปรียบเทียบระหว่างก่อนทดลอง หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ จากการใช้โปรแกรมการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรี ที่มีอายุระหว่าง 60-74 ปี จำนวน 60 คน เรียงลำดับ 1-60 แล้วคัดเลือกเข้ากลุ่ม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน คือ เลขคี่กลุ่มทดลอง และเลขคู่กลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการฝึกพัฒนาความอ่อนตัวของเจริญ กระบวนรัตน์ 2) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายของกรมพลศึกษา และ 3) แบบวัดคุณภาพชีวิต โดยมีค่าความคลาดเคลื่อน 0.39-0.80 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 เก็บรวบรวมข้อมูลตามแบบแผนการทดลอง 2 รูปแบบ และฝึกตามโปรแกรมเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน แล้วบันทึกผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบียงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ กรณีพบความแตกต่างใช้วิธีของ Bonferroni ผลการวิจัย พบว่า หลังจากใช้โปรแกรม ผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มทดลองมีความอ่อนตัวดี ( =4.63, S.D.=0.49) และมีคุณภาพชีวิตปานกลาง ( =24.30, S.D.=2.09) สำหรับกลุ่มควบคุมมีความอ่อนตัวปานกลาง ( =2.70, S.D.=0.88) และมีคุณภาพชีวิตปานกลาง ( =20.63, S.D.=2.39) โดยความอ่อนตัวและคุณภาพชีวิตด้านร่างกายทุกช่วงวัย แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่ช่วงเวลาก่อนการทดลอง ไม่แตกต่างกันทั้ง 2 ด้าน แสดงให้เห็นได้ว่าผู้สูงอายุที่ได้รับการฝึกมีความอ่อนตัวและคุณภาพชีวิตด้านร่างกายที่ดีเพิ่มขึ้น

References

Best, J. W. (1981). Research in education. New Jersey : Prentice-Hall.

Boonsom, N. (2017). Flexibility Development by Stretching. Veridian E-Journal Silpakorn University, 10(2), 2173-2184. (In Thai)

Department of Health. (2020). Guidelines for Driving the Elderly Health Promotion Action Plan, Department of Health. Bangkok : Amarin Printing and Publishing. (In Thai)

Department of Older Persons. (2018). Strategy of the Department of elderly 20 years, B. E. 2561-2580. Bangkok : Samlada. (In Thai)

Department of Older Persons. (2019). Statistics of the elderly in Thailand 77 as of December 31, 2019-5 Region. Retrieved March 7, 2020, from https://www.dop.go.th/download/ knowledge/th1610815306-335_0.pdf (In Thai)

Department of Physical Education. (2019). Test and standard of physical fitness of people aged 19-59 years. Bangkok : Office of Sport Science, Department of Physical Education, Ministry of Tourism and Sports. (In Thai)

Government gazette. (2007). Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2550. Vol. 124, Sec. 47Kor, 24 August 2007. (In Thai)

Jaikhat, P., Siriviroj, P., & Phanpanit, R. (2018). Effects of ascetic exercise on flexibility and quality of life in elderly. Naresuan Phayao Journal Health Sciences, Sciences and technology, 11(1), 37-40. (In Thai)

Krabuanrat, C. (2017). The exercise on quality of life in elderly. Health and Physical Education, 43, 1. (In Thai)

Krabuanrat, J. (2009). stretching exercise. Bangkok : Kasetsart University. (In Thai)

Mahatnirunkun, S., Tantipiwattanasakul, W., Pumphaisanchai, W., Vongsuwan, K., & Manajirangkul, R. (1998). Compare the WHO Quality of Life questionnaire, a set of 100 indicators and 26 indicators. Research report. Suan Prung Hospital, Department of Mental Health, Ministry of Public Health, Chiang Mai. (In Thai)

Noiwat, O. (2012). Health and quality of life. Nonthaburi : Department of Sukhonthai Thammathirat Open University. (In Thai)

Nomkammuang, N., & Kanchana-aad, K. (2008). Comparison of stationary stretching and mobile on the soft. Thesis, Master of Education Program in Science Education, Srinakharinwirot University, Bangkok. (In Thai)

Office of the National Economic and Social Development Council. (n.d). The 8th National Economic and Social Development Plan, B. E. 2540-2544. Retrieved March 21, 2020, from https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=3783

Phousi-on, S. (2013). Application of SPSS to analye research data. Kalasin : Prasan Printing. (In Thai)

Reangkajorn, T. (2011). Science for the quality of life. In Documents for teaching of Science for the quality of life. Faculty of Science and Technology, Songkhla Rajabhat University. (In Thai)

UNESCO. (1981). Evaluation the quality of life in Belgium. Social Indicators Research, p 89.

World Health Organizition. (1998). Health Promotion Glossary. Geneva : Horld Health Organizition.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-20

How to Cite

ศรีราช ช., & เยี่ยมมิตร ช. (2021). การพัฒนาความอ่อนตัวด้วยโปรแกรมการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่มีต่อคุณภาพชีวิตด้านร่างกายของผู้สูงอายุ จังหวัดจันทบุรี. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 15(3), 104–115. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.49