การสร้างสรรค์เครื่องประดับจากเสื่อกกจันทบูร จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • ภัทรบดี พิมพ์กิ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • ภัทรา ศรีสุโข คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • ศันสนีย์ อาจนาฝาย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • สิริวิภา วิมุกตายน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • กรกนก สนิทการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.26

คำสำคัญ:

การผลิตต้นแบบ, เครื่องประดับ, เสื่อกกจันทบูร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาข้อมูลการสร้างสรรค์ การออกแบบ และการผลิตต้นแบบเครื่องประดับจากเสื่อกก จันทบูร จังหวัดจันทบุรี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการศึกษาแนวคิดการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และทิศทางกระแสแฟชั่นเครื่องประดับปี พ.ศ. 2563 ร่วมกับการศึกษาความต้องการและความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยว 100 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ ใช้แบบสอบถามโดยอ้างอิงจากงานวิจัยของธนกฤต ใจสุดา, ภัทรา ศรีสุโข และณภัค แสงจันทร์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ และคัดเลือกแบบร่างเครื่องประดับ กำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ใช้แบบประเมินการคัดเลือกแบบประมาณค่า 5 ระดับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการพิจารณาร่างต้นแบบ และใช้สถิติพื้นฐานวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า ทิศทางการออกแบบที่สามารถนำมาสร้างสรรค์เครื่องประดับจากเสื่อกกจันทบูร ได้แก่ 1) การถ่ายทอดความงามของพื้นผิว (Surface pro) 2) ความสัมพันธ์ของการเชื่อมโยง (Linkedin) และ 3) สื่ออารมณ์ทางธรรมชาติด้วยอัญมณีสีเขียว (Green crush) ผลการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามพบว่ากลุ่มนักท่องเที่ยวเป็นเพศหญิงร้อยละ 68 มีช่วงอายุระหว่าง 26-35 ปี นิยมสวมใส่เครื่องประดับไปทำงาน ร้อยละ 44 ประเภทเครื่องประดับที่สนใจ ได้แก่ ต่างหู ร้อยละ 32 แหวน ร้อยละ 24 และสร้อยคอ ร้อยละ 21 และผลการคัดเลือกแบบร่างเครื่องประดับจากทั้งหมด 5 ชุด ซึ่งชุดที่ 4 แนวคิดการถ่ายทอดความงามของพื้นผิวเสื่อกกเชื่อมโยงกับรูปทรงเรขาคณิตมีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมสูงสุดคือ 4.47

References

Anurak, S., & Ratchavieng, A. (2020). The Development of Cultural Silver Jewelry Products : A Case Study of Ubonchat Sattathip. Fine Arts Journal : Srinakharinwirot University, 24(1), 35-46. (In Thai)

Chotiwan, P. (2016). Reed Mat Weaving and “Capitals” of Bang Sakao Community in Chanthaburi. The Golden Teak : Humanity and Social Science Journal (GTHJ.), 22(Special), 1-17. (In Thai)

Inaom, W. (1993). Art of Jewelry. Bangkok : Odeon Store. (In Thai)

Jaisuda, T., Srisukho, P., & Sangchan, N. (2018). The development of ceramic jewelry to create market opportunities. Research report. Bangkok : Thailand Science Research and Innovation. (In Thai)

Luca, P. D. (2019). Trenddision Jewellery+Forecasting Trendbook 2020+. Italy : Italian Exhibition Group S.p.A.

Ministry of Industry. (2016). Thai Industrial 4.0 Development Strategy for 20 years (A.D. 2017-2036). Retrieved February 19, 2020, from https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20171114-oie.pdf (In Thai)

Pulek, S. (2020). The Identity of Coconut Shell Jewelry pertaining to the Group of Coconut Shell Handicraft in the Community of Khao Takhli Takhli District, Nakhon Sawan Province. The Academic Journal Faculty of Humanities and Social Sciences Nakhonsawan Rajabhat University, 7(2), 100-115. (In Thai)

Siripan, S. (2009). Gems in jewelry. Bangkok : Darnsutha Press. (In Thai)

The Gem and Jewelry Institute of Thailand. (2018). The gems and jewelry industry is geared towards sustainability. Retrieved February 19, 2020, from http://www.tpa.or.th/writer/ read_this_book_topic.php?bookID=3611&pageid=1&read=true&count=true. (In Thai)

Treetrong, A. (2016). The transformation of arts and culture traditions to the transmission of Creativity. Retrieved February 19, 2020, from https://www.komchadluek.net/news/lifestyle/224363 (In Thai)

Wanichakorn, A. (2016). Otop Design. Bangkok : Chulalongkorn University Printing House. (In Thai)

Wongrattana, C. (2017). Research tool creating technique: guidelines for professional using. Bangkok : Chulalongkorn University Printing House. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-01

How to Cite

พิมพ์กิ ภ., ศรีสุโข ภ., อาจนาฝาย ศ., วิมุกตายน ส., & สนิทการ ก. (2022). การสร้างสรรค์เครื่องประดับจากเสื่อกกจันทบูร จังหวัดจันทบุรี. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 16(2), 70–82. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.26