การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อม โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผู้แต่ง

  • ชบา เมืองจีน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.27

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, ทักษะการคิดแก้ปัญหา, ความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อมก่อนและหลังเรียนโดยการจัดการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 57 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning) เรื่องสิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อม จำนวน 3 แผน 2) แบบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.75 3) แบบวัดความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน คือ 1) ด้านการตั้งปัญหา 2) ด้านการวิเคราะห์ปัญหา 3) ด้านการเสนอวิธีแก้ปัญหา และ 4) ด้านตรวจสอบผลลัพธ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

References

Bambang Hariadi, M. J., Sunarto, D, Sagirani, T., Amelia, T., & Lemantara, J. (2021). Higher Order Thinking Skills for Improved Learning Outcomes Among Indonesian Students:A Blended Web Mobile Learning (BWML) Model. https://doi.org/10.3991/ijim.v15i07.17909

Chapakia, R. (2015). Effects of problem-Based Learning on Biology Achievement and Instructional Satisfaction of Grade 12 Students. Thesis, Master of Education Program in Curriculum and Instruction, Songkla University Pattani Campus, Pattani. (In Thai)

Chareonwongsak, K. (1998). How to teach to think. Lecturer, 97(3-5), 77-79. (In Thai)

Cronbach, L. J. (1984). Essential of psychology testing. New York : Harper.

Kamanee, N. (2009). The Development of problem solving abilities and learning achievement of mathayomsuksa 3 students of plakhaowittayanusorn school taught by concentration 0f science process skills. Thesis, Master of Education Program in Education Research and Evaluation, Ubon Ratchathani Rajabhat University. (In Thai)

Kanchanakachen, C., & Phornphisutthimas, S. (2016). A study on ability in scientific problem-solving Through problem based learning for upper secondary students in biology. National education conference 1st Educational Management for Local Development towards ASEAN Community New Direction in the 21 Century (pp. 379-387). Bangkok : Srinakharinwirot University. (In Thai)

Khemmanee, T. (2013). Science of teaching pedagogy : Knowledge for effective learning process (17th ed.). Bangkok : Chulalongkorn University. (In Thai)

Rodrangka, W. (1998). “Constructivism”. IPST journal, 26(101). (In Thai)

Saengrutsamee, A. (2000). Effects of Problem-Based Learning on Self-Directed Learning Environmental Science Achievement and Satisfaction Towards Instruction of Mathayom Suksafour Students. Thesis, Master of Education Program in Science Education, Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai)

Salkind, N. J. (2000). Exploring research. Upper Saddle River, NJ : Prentice-Hall.

Satyasai, W. (2004). Problem-based learning Learner-Centered learning style. Bangkok : Booknet. (In Thai)

Seyhan, H. G. (2015). The effects of problem solving applications on the development of science process skills, logical thinking skills and perception on problem solving ability in the science laboratory. Asia-Pacific Forum on Science Learning and Teaching, 16(2), 1-31.

Srisa-ard, B. (2017). Preliminary Research (10th ed.). Bangkok : Suwiriyasan. (In Thai)

The Demonstration School of Ramkhamhaeng University. (2020). The following list represents the total number of students from (M1-M6) studying at DSRU during the academic year of 2020. (Mimeographed)

Thienthong, M. (2012). Research Methods in Computer Studies (2nd ed.). Bangkok : Danex Inter Corporation. (In Thai)

Wanichbancha, K. (2002). Statistical Analysis : Statistics for Administration and Research. Bangkok : Chulalongkorn University Press. (In Thai)

Wasi, P. (1996). Education reform. Bangkok : Village doctor. (In Thai)

p.86

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-01

How to Cite

เมืองจีน ช. (2022). การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อม โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 16(2), 83–93. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.27