การศึกษาสภาพการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ อาจารย์และครูพี่เลี้ยง

ผู้แต่ง

  • จิราวรรณ เทพจินดา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • รุ่งฟ้า จันท์จารุภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ญานิน กองทิพย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.13

คำสำคัญ:

สภาพการเรียนการสอนคณิตศาสตร์, การตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์, ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์, นักศึกษาครูคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

ความมุ่งหมายของงานวิจัย คือ เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครู อาจารย์และครูพี่เลี้ยง ประกอบด้วย 1) ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครู อาจารย์และครูพี่เลี้ยง 2) ความสามารถในการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครู และ 3) สภาพการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครู อาจารย์และครูพี่เลี้ยง กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจง เป็นนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ชั้นปีที่ 5 จำนวน 45 คน อาจารย์ผู้สอนระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 5 คน สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และครูพี่เลี้ยงของนักศึกษา จำนวน 10 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 3) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน (ค่าเฉลี่ยรายข้อ 0.67-1.00) โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากการวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครู อาจารย์ และครูพี่เลี้ยง อยู่ในระดับดี 2) บริบทของปัญหาที่สร้างขึ้นไม่แตกต่างจากปัญหาที่กำหนด ภาษาที่ใช้ยังไม่ชัดเจนและสื่อให้เข้าใจได้เพียงบางส่วน การเขียนแสดงขั้นตอนการแก้ปัญหายังไม่เป็นระบบ ยุทธวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหามีเพียงยุทธวิธีเดียว และเงื่อนไขของสถานการณ์ปัญหาที่สร้างขึ้นไม่สอดคล้องกับชีวิตจริง และ 3) นักศึกษาครู อาจารย์และครูพี่เลี้ยงมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และมีประสบการณ์ในการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์น้อย

References

Brown, S. I., & Walter, M. I. (1993). Problem Posing: reflections and application. Hillsdale, N. J. : Lawrence Erlbaum.

Cankoy, O., & Özder, H. (2017). Generalizability Theory Research on Developing a Scoring Rubric to Assess Primary School Students' Problem Posing Skills. EURASIA Journal of Mathematics, Science & Technology Education, 13(6), 2423-2439.

Chaichumkhun, J. (2019). A talk on teacher’s responsibility and inequality at school with Attapol Prapasanobol. Retrieved July 11, 2020, from https://thematter.co/social/burden-on-teachers/87255 (In Thai)

Janjaruporn, R. (2005). The Development of a Problem-Solving Instructional Program to Develop Preservice Teachers’ Competence in Solving Mathematical Problems and Their Beliefs Related to Problem Solving. Dissertation, Doctor of Education Program in Mathematics Education, Srinakarinwirot University, Bangkok. (In Thai)

Lin, K. M., & Leng, L. W. (2008). Using problem-posing as an assessment tool. In 10th Asia-Pacific Conference on Giftedness, Singapore (pp. 1-15).

National Council of Teachers of Mathematics (NCTM). (2006). Curriculum focal points for prekindergarten through grade 8 mathematics: a quest for coherence. Reston, VA : NCTM.

Office of the Education Council. (2015). The Status of Teacher Production and Development in Thailand. Bangkok : Prikwan Graphic. (In Thai)

Panichakul, I. (2014). Dear Teacher, When will you be free to teach me?. Retrieved July 25, 2020, from https://www.posttoday.com/politic/report/301573 (In Thai)

Rosli, R., Capraro, M. M., Goldsby, D., y Gonzalez, E. G., Onwuegbuzie, A. J., & Capraro, R. M. (2015). Middle-grade preservice teachers’ mathematical problem solving and problem posing. In Mathematical problem posing (pp. 333-354). New York, NY : Springer.

Silver, E. A. (1994). On Mathematical Problem Posing. For the Learning of Mathematics, 14(1), 19-28.

Silver, E. A., Mamona-Downs, J., Leung, S. S., & Kenney, P. A. (1996). Posing Mathematical Problems: An Exploratory Study. Journal for Research in Mathematics Education, 27(3), 293-309.

Supnithi, P. (2016). Being a university lecturer in the new era and the hidden responsibilities and duties. Retrieved July 5, 2020, from https://www.matichon.co.th/columnists/news_366443 (In Thai)

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2012). Measurement and Evaluation in Mathematics. Bangkok : V. Print (1991) Company Limited. (In Thai)

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2013). Preliminary Data Analysis Report: PISA 2012 Project. Retrieved May 25, 2020, from https://pisathailand. ipst.ac.th/pisa-2012-basic-research/ (In Thai)

Vangmeejongmee, C. (2017). Competency of Thai Teacher in 21st Century : Wind of Change. Journal of Intelligence, 12(2), 47-63. (In Thai)

กรอบแนวคิดในการวิจัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-01

How to Cite

เทพจินดา จ., จันท์จารุภรณ์ . . . . . . ร. ., & กองทิพย์ ญ. . (2022). การศึกษาสภาพการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ อาจารย์และครูพี่เลี้ยง. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 16(1), 154–166. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.13