การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษาเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก

ผู้แต่ง

  • วาสนา กีรติจำเริญ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา
  • อิสรา พลนงค์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.7

คำสำคัญ:

ระบบการจัดการเรียนรู้, สะตีมศึกษา, ความคิดสร้างสรรค์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

ท่ามกลางวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติและผลจากการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เยาวชนจำเป็นต้องมีทักษะความคิดสร้างสรรค์ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับการรับมือกับวิกฤตการณ์เหล่านี้ การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษาเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก และศึกษาผลการใช้ระบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จาก 3 โรงเรียน จำนวน 47 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินระบบการจัดการเรียนรู้ที่มี ค่า IOC เท่ากับ 1.00 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ และแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษา ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษา จำนวน 4 แผน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ระบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์มี 3 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1) จุดมุ่งหมายทางการเรียนการสอน 2) กิจกรรมการเรียนการสอน และ 3) การประเมินผล สำหรับกิจกรรมการเรียนการสอนของระบบการจัดการเรียนรู้นี้ประกอบด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวสะตีมศึกษา 7 ขั้นตอน ร่วมกับชุดกิจกรรม จำนวน 4 ชุด คือ กิจกรรมตึกระฟ้า กิจกรรมเรือกู้ภัย กิจกรรมกังหันมหัศจรรย์ และกิจกรรมเจลลี่แสนอร่อย ที่ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 และมีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ดังนั้น จึงเป็นแนวทางในการนำการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็กที่มีครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในจำนวนที่จำกัด

References

Bishop, M., Reiser, S., Taylor, A. M., Rein, J. A., & Hall, J. (2007). The Instructional System Design Model: A Framework for Development of a Web-Based Program. JBC, 32(3), 44-45.

Kaemmanee, T. (2018). Pedagogy Knowledge for learning process of efficiency (22th ed.). Bangkok : Chulalongkorn University. (In Thai)

Keeratichamroen, W. (2017). 21st Century Teaching Skills and Techniques. Nakhon Ratchasima : Nakhon Ratchasima Rajabhat University. (In Thai).

Khuana, T., & Khuana, K. (2018). Learning Management for Promoting the Creativity Thinking in Educational Production: Thailand Education 4.0. Journal of Research and Development Institute, Rajabhat Maha Sarakham University, 5(2), 325-342. (In Thai)

Klubsakun, O., & Phonak, D. (2020). A Development of the Education Model to Enhance Creative Thinking in Digital Maketing. Journal of Suvarnabhumi Institute of Technology, 6(2), 140-151. (In Thai)

Lefrancois, G. R. (1980). Psychology. California : Wadsworth Publishing Company.

Loughary, J. W. (1968). Instructional System-Magic or method?. Washington, D.C. : Association for Supervision and Curriculum Development, NEA.

Maeda, J. (2013). STEM+Art=STEAM. The STEAM Journal, 1(1). Retrieved July 27, 2021, from http://scholarship.claremont.edu/steam/vol1/iss1/34 DOI: 10.5642/steam.201301.34

Mahnaz, M. (1996). Instructional Design Models and Research on Teacher Thinking: Toward a New Conceptual Model for Research and Development. Retrieved May 16, 2021, from https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED397822.pdf

Marattana, C., & Keeratichamroen, W. (2018). A Study of Learning Outcome on Materials and Properties of Grade 5 Students’ Learning Unit Using STEM Education. NRRU community Research Journal, 12(3), 149-162. (In Thai)

Office of the Basic Education Commission. (2015). Strategic Plan for Small School Development 2015-2018. Bangkok : Agricultural Cooperative Society of Thailand. (In Thai)

Orapiriyakul, S. (2019). STEAM EDUCATION: Innovative Education Integrated into Learning Management. Journal of Research and Curriculum Development, 9(1), 1-16. (In Thai)

Phanmanee, A. (2014). Training for creative thinking. Bangkok : Chulalongkorn University. (In Thai)

Phanpool, S., Dokmai, P., & Kutthalaeng, N. (2020). A study of creativity thinking and attitude towards science using STEAM Education of grade 4 students. The 7th NEU National Conference 2020 (NEUNC 2020), Retrieved August 7, 2021, from http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:zSuj397f4B0J:psneu.neu.ac.th/neunic/home/journal_file/423.pdf+&cd=1&hl=en&ct=clnk&gl=th (In Thai)

Phonnong, I., & Keeratichamroen, W. (2021). Developing Instructional Model Based on STEAM Education for Enhancing Creative Thinking Skill of Students in Small Elementary Schools. Ratchaphreuk Journal, 19(3), 19-33. (In Thai)

Siripattrachai, P. (2013). STEM education and 21st century skills development. Executive journal Bangkok University, 33(2), 49-56. (In Thai)

Srisa-ard, B. (2011). Preliminary research (9th ed.). Bangkok : Suviriyasan. (In Thai)

Susaoraj, P. (2010). Thinking Development (4th ed.). Bangkok : 9119 Technical printing. (In Thai)

Tayea, F., Mophan, N., & Waedrama, M. (2017). Effect of STEAM Education on Science Learning Achievement, Creative Thinking and Satisfaction of Grade 5 Students towards the Learning Management. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 4(2), 1-14. (In Thai)

Thewasutharasakul, C. (2015). Development of instructional physics model corresponding to context of higher education institution with the educational process through lessons. Chonburi: Burapha University, Research funding from the National Research Council of Thailand Fiscal Year 2014. (In Thai)

Tsurusaki, B. K., Tzou, C., Carsten Conner, L. D. & Guthrie, M. (2017). 5th-7th Grade Girls’ Conceptions of Creativity: Implications for STEAM Education. Creative Education, 8, 255-270.

Uzunboylu, H., & Kosucu, E. (2020). An Evaluation on Instructional Systems Design. International Journal of Learning and Teaching, 12(1), 030-041.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-01

How to Cite

กีรติจำเริญ ว., & พลนงค์ อ. (2022). การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษาเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 16(1), 78–91. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.7