อิทธิพลของการบริหารจัดการธุรกิจและกลยุทธ์ทางธุรกิจที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจชุมชน ในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ปริษา ชาติวาณิชกุล
  • สุชีรา ธนาวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สุธาสินี โพธิ์ชาธาร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.16

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการธุรกิจชุมชน, กลยุทธ์ธุรกิจชุมชน, ผลการดำเนินงานของธุรกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การนำปัจจัยการบริหารจัดการและกลยุทธ์ทางธุรกิจมาช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจชุมชนสามารถพึ่งตนเองและดำเนินต่อไปอย่างมั่นคงยั่งยืนได้นั้น จำเป็นต้องทำการศึกษาอิทธิพลที่เกี่ยวข้อง จึงนำมาสู่การศึกษาระดับความสำคัญ การตรวจสอบความสอดคล้อง และความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ของแบบจำลองเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานของธุรกิจชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม จำนวน 304 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ในช่วง 0.701-0.898 นำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการลงพื้นที่โดยผู้วิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาสถิติค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมานเพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (r) ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวแปรอิสระในรูปคะแนนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมและรายด้านของความสำคัญอยู่ในระดับมาก โดยมีด้านการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนอยู่ในระดับมากเป็นอันดับที่หนึ่ง ตัวแปรอิสระทุกคู่มีความสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.477-0.770 สำหรับโมเดลสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ซึ่งการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนและกลยุทธ์ทางธุรกิจชุมชนส่งผลให้มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานของธุรกิจชุมชน สามารถพยากรณ์ผลการดำเนินงานของธุรกิจชุมชนเป็นไปในทิศทางบวก ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้การพัฒนาตามกระบวนการบริหารจัดการ การผลิต การตลาด การเงินและทุน จะสามารถนำไปสู่ความเป็นมาตรฐานระดับสากลและพร้อมต่อการแข่งขันอย่างมีศักยภาพอย่างยั่งยืนการนำปัจจัยการบริหารจัดการและกลยุทธ์ทางธุรกิจมาช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจชุมชนสามารถพึ่งตนเองและดำเนินต่อไปอย่างมั่นคงยั่งยืนได้นั้น จำเป็นต้องทำการศึกษาอิทธิพลที่เกี่ยวข้อง จึงนำมาสู่การศึกษาระดับความสำคัญ การตรวจสอบความสอดคล้อง และความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ของแบบจำลองเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานของธุรกิจชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม จำนวน 304 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ในช่วง 0.701-0.898 นำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการลงพื้นที่โดยผู้วิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาสถิติค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมานเพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (r) ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวแปรอิสระในรูปคะแนนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมและรายด้านของความสำคัญอยู่ในระดับมาก โดยมีด้านการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนอยู่ในระดับมากเป็นอันดับที่หนึ่ง ตัวแปรอิสระทุกคู่มีความสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.477-0.770 สำหรับโมเดลสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ซึ่งการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนและกลยุทธ์ทางธุรกิจชุมชนส่งผลให้มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานของธุรกิจชุมชน สามารถพยากรณ์ผลการดำเนินงานของธุรกิจชุมชนเป็นไปในทิศทางบวก ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้การพัฒนาตามกระบวนการบริหารจัดการ การผลิต การตลาด การเงินและทุน จะสามารถนำไปสู่ความเป็นมาตรฐานระดับสากลและพร้อมต่อการแข่งขันอย่างมีศักยภาพอย่างยั่งยืน

References

Barney, J. (1991). Firm resources and sustained competitive advantage. Journal of management, 17(1), 99-120.

Best, J., & Kahn, J. V. (1993). Research in Education (7th ed.). Boston : Allyn and Bacon.

Bocken, N. M., Short, S. W., Rana, P., & Evans, S. (2014). A literature and practice review to develop sustainable business model archetypes. Journal of cleaner production, 65, 42-56.

Burke, G. L., & Denise, J. G. (2004). The influence of information and advice on competitive strategy definition in small-and medium-sized enterprises. Qualitative Market Research : An International Journal, 7(2), 126-138.

Community Organization Development Institute. (2015). Pai-Du-Chumchon-Haeng-Kan-Thongthiao-OTOP-Nawatta-Withi-Thai-Tambon-Prathai-Amphoe-Prathai-Changwat-Nakhon-Ratchasima. Retrieved June 17, 2019, from https://web.codi.or.th/development-news/20190819-7609/ (In Thai)

Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A First Course in Factor Analysis (2nd ed.). New Jersey : Lawrence Erlbaum Associates.

Department of Industrial Promotion. (2018). Naeonom-Utsahakam-Lae-Khanat-Talat-Khong-Thurakit-Praerup-Samunphrai. Retrieved 6, 2018, from https://bsc.dip.go.th/th/category /quality-control/qs-trensherbsproduct (In Thai)

Donlaya, C. (2019). Modern Organization Management. Retrieved December 9, 2019, from, https://www.moneywecan.com/organizing/

Gall, M. D., Borg, W. R., & Gall, J. P. (1996). Educational research : An introduction. New York : Longman Publishing.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2014). Multivariate data analysis (7th ed.). Harlow : Pearson Education Limited.

Haksever, C., & Render, B. (2013). Service management: An integrated approach to supply chain management and operations. FT Press.

Hasunthari, N. (2020). Quality Organization Management. Retrieved April 29, 2020, from http://www.elfhs.ssru.ac.th/natnicha_ha/file.php/1/MPA_5704/_pdf (In Thai)

Isranews Acency. (2012). OTOP-Mai-Chai-Khae-Khai-Khong-Nakwichakan-Yipun-Chi-Tong-Phatthana-Khuapkhu-Sinkha-Chum-Chon. Retrieved June 17, 2019, from https://www.isranews.org/ thaireform-other-news/15717-2012-08-12-16-29-58.html (In Thai)

Kairu, E. W., Wafula, M. O., Okaka, O., Odera, O., & Akerele, E. K. (2013). Effects of Balanced Scorecard on Performance of Firms in The Service Sector. European journal of business and management, 5(9), 81-88.

Kamonwet, C. (2016). Cultural Business Model. Bangkok : Department of International Trade Promotion, Ministry of Commerce. (In Thai)

Kantasuk, W., Thanhakitkit, K., & Noja, C. (2001). Status of the goup and network of healers in the production, processing and marketing of herbs. Research report. Community Potential development Foundation, Chiang Mai. (In Thai)

Kaplan, S. R., & Norton, D. P. (1996). Using the Balance Scorecard as a Strategic Management System. Harvard Business Review, 1(45), 74-85.

Kotler, P. (2000). Marketing Management. New Jersey : Prentic-Hall.

Morphet, D. (2007). The Administration of the School Administrators. Dissertation Abstract International, 34(3), 705-A.

Mukda, W. (2014). Guidelines Management of Product Manufacturing Group on One Tambon One Product in tak Province. SDU Research Journal, Humanities and Social Sciences, 10(1), 187-206.

Office of Nakhon Ratchasima Province Community Development. (2019). Summary report of the operating results according to the community business in Nakhon Ratchasima Province. Retrieved June 17, 2019, from http://korat.cdd.go.th/ (In Thai)

Office of Strategic Management Lower Northeastern Province Group 1. (2018). Provincial group plans. Retrieved September 13, 2018, from http://www.osmnortheast-s1.moi.go.th/ (In Thai)

Promsri, C. (2008). A handbook for excellent organizaitons. Bangkok : Panyachon. (In Thai)

Roth, P. L. (1994). Missing Data : A Conceptual Review for Applied Psychologists. Personel Psychology, 4(3), 537-560.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). The use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Rubera & Kirca (2012). Firm Innovativeness and Its Performance Outcomes: A Meta-Analytic Review and Theoretical Integration. journal of Marketing, 76(3), 130-147.

Silcharu, T. (2014). Research and statistical analysis with SPSS and AMOS (15th ed.). Bangkok : Business R & D. (In Thai)

Srisathitnarakun, B. (2020). Research Methods in Nursing (5th ed.). Bangkok : U & I Inter Media. (In Thai)

The National Statistical Office. (2019). Ongkon-Chumchon:-Konkai-Phuea-Kae-Panha-Lae-Phatthana-Sangkom. Bangkok : The Thailand Research Fund. (In Tha)

กรอบแนวคิดการวิจัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-01

How to Cite

ปริษา, ธนาวุฒิ ส., & โพธิ์ชาธาร ส. (2022). อิทธิพลของการบริหารจัดการธุรกิจและกลยุทธ์ทางธุรกิจที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจชุมชน ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 16(1), 194–205. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.16