แนวทางการออกแบบสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในจังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • วันวิสาข์ หมื่นจง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.22

คำสำคัญ:

สื่อการเรียนรู้ภาอังกฤษ, การท่องเที่ยวโดยชุมชน, การวิเคราะห์ความต้องการ

บทคัดย่อ

ภาษาอังกฤษมีบทบาทที่สำคัญในเรื่อของการสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของการท่องเที่ยว ภาษาและการท่องเที่ยวมีความเกี่ยวข้องกันอย่างสำคัญยิ่งเนื่องจากการเดินทางของนักท่องเที่ยวที่มาจากหลากหลายเชื้อชาติและมีความหลากหลายทางภาษา งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางสำหรับการออกแบบสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยผ่านการวิเคราะห์ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในจังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ประกอบการและมีส่วนได้ส่วนเสียกับการท่องเที่ยวในชุมชนบ้านหวาย จำนวน 25 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ที่มีค่าเที่ยงตรงทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยแสดงให้เห็นความต้องการสองประเด็นหลัก ได้แก่ ความต้องการของผู้ประกอบการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเด็นของเนื้อหาสำหรับการออกแบบสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน และความต้องการในประเด็นของรูปแบบของสื่อการเรียนรู้สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียส่วนใหญ่มีความต้องการเนื้อหาภาษาอังกฤษในรูปแบบภาษาอังกฤษเพื่อมัคคุเทศก์สำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยเน้นเรื่องของสถานที่ท่องเที่ยวในชุมชน วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น อาทิเช่น เจดีย์พ่อขุนผาเมือง วัดโพนชัย ประเพณีการเส็งกลอง ศาลาข้าวสารดำ อนุสรณ์สถานเมืองราด และกลุ่มผ้าทอบ้านหวาย กลุ่มตัวอย่างต้องการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อกล่าวต้อนรับนักท่องเที่ยว อธิบายโปรแกรมการท่องเที่ยว บรรยายเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว การกล่าวลา และสำนวนอื่น ๆ สำหรับการเป็นมัคคุเทศก์ โดยเน้นการฝึกให้แก่นักเรียนในชุมชน นอกจากนี้ เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ในปัจจุบัน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนยังต้องการสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในรูปแบบสื่อออนไลน์ และต้องการฝึกภาษาอังกฤษกับเจ้าของภาษาผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์ เนื่องจากสามารถฝึกได้ด้วยตนเอง และต้องการเน้นทักษะการฟัง-พูดที่ประกอบไปด้วยคำศัพท์ ประโยค และบทสนทนา พร้อมคำแปล และสามารถนำไปฝึกฝนด้วยตนเองได้

References

Belcher, D. (2006). English for specific purposes: teaching to perceived needs and imagined futures in worlds of work, study, and everyday life. TESOL Quarterly, 40(1), 133-156.

Brown, J. D. (1995). The elements of language curriculum: A systematic approach to program development. Boston : Heinle and Heinle.

Brown, J. D. (2016). Needs Analysis and English for Specific Purposes. London : Routledge.

CBT entrepreneur in Ban Huay Prong. (2021). Interview. (In Thai)

Charoenkongka, A., & Nomnian S. (2019). Needs Analysis of Communicative English through Community-Based Tourism: A Case Study of Koh Klang Community in Krabi Province. Journal of International Studies, Prince of Songkla University, 9(2), 211-232. (In Thai)

Chen, P. C., Chiu, W. Y., & Lin, T. Y. (2011). A study constructing holistic English for specific purposes (ESP) curriculum model for tourism and hospitality English. Education Research Journal, 1(5), 84-93.

Dudley-Evans, T., St John, M. J., & Saint John, M. J. (1998). Developments in English for specific purposes: A multi-disciplinary approach. Cambridge : Cambridge university press.

Head of CBT in Ban Huay Prong. (2021). Interview. (In Thai)

Hsu, L. W. (2010). Learning gaming English by prospective casino dealers in Taiwan: An explorative study. Journal of Foreign Language Instruction, 4(1), 69-86.

Hutchinson, T., & Waters, A. (1987). English for Specific Purposes. Cambridge : Cambridge University Press.

Kuppan, A. (2008). An evaluation of an English course for hospitality management in a tertiary institution. Dissertation, Master of English as a Second Language Program in Faculty of Languages and Linguistics, University of Malaya Kuala Lumpur, Malaysia.

Leslie, D., & Russell, H. (2006). The importance of foreign language skills in the tourism sector: A comparative study of student perceptions in the UK and continental Europe. Tourism Management, 27(6), 1397-1407. https://doi.org/10.1016/j.tourman.2005.12.016

Manager Online. (2019). “Ban Huay Prong” community tour, visiting Thai Lom weaving style and the historic town of Muang Rad, Pho Khun Pha Muang. Retrieved January 20, 2020, from https://mgronline.com/travel/detail /9620000057800 (In Thai)

Minodora Otilia, S. (2015), NEEDS ANALYSIS IN ENGLISH FOR SPECIFIC PURPOSES, Annals-Economy Series, 1(II), 54-55.

Nitikasetsoontorn, S. (2015). The Success Factors of Community-Based Tourism in Thailand. NIDA Development Journal, 55(2), 24-58. (In Thai)

Nomnian, S. (2014). Thai Entrepreneurs’ Needs of English Language for Raft Service Business. Silpakorn University Journal of Social Sciences, Humanities, and Arts, 14(3), 101-128. (In Thai)

Nomnian, S., Trupp, A., Niyomthong, W., Tangcharoensathaporn, P., & Charoenkonka, A. (2020). Language and community-based tourism: Use, needs, dependency, and limitations. Austrian Journal of South-East Asian Studies, 13(1), 57-79.

Prachanant, N. (2012). Needs analysis on English language use in the tourism industry. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 66(7), 117-125.

Satarat, N. (2010). Sustainable management of community-based tourism in Thailand. Dissertation, Doctor of Philosophy Program in Development Administration, School of Public Administration, National Institute of Development Administration, Bangkok. Retrieved January 20, 2020, from http://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2010/b166706.pdf (In Thai)

School director of Pho Khun Pha Mueang Uppatham School. (2021). Interview. (In Thai)

Suansri, P., & Yeejaw-haw, S. (2013). Community-based tourism (CBT) standard handbook. Bangkok : Wanida Karnpim Limited Partnership. (In Thai)

The National Tourism Policy Committee. (2017). National Tourism Development Plan No.2 (2017-2020). Retrieved January 20, 2020, from https://www.mots.go.th/ewtadmin/ewt/mots_web57/ download/article/article_20170320150102.pdf (In Thai)

The student of Pho Khun Pha Mueang Uppatham School. (2021). Focus group interview. (In Thai)

The teacher of Pho Khun Pha Mueang Uppatham School. (2018). Focus group interview. (In Thai)

The villager in Ban Huay Prong community. (2021). Interview. (In Thai)

p.25

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-01

How to Cite

หมื่นจง ว. (2022). แนวทางการออกแบบสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 16(2), 14–27. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.22