การพัฒนารูปแบบกิจกรรมทางกายเพื่อพัฒนาทักษะการประสานงานของกล้ามเนื้อ (ตา-มือ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา

ผู้แต่ง

  • วายุ แวงแก้ว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สริน ประดู่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.30

คำสำคัญ:

รูปแบบกิจกรรมทางกาย, ทักษะการประสานงานของกล้ามเนื้อ, สมรรถภาพทางกลไก, นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

ร่างกายและสติปัญญาตามช่วงอายุของเด็กควรได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมตามวุฒิภาวะ ดังนั้นงานวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบ ทดลองและเปรียบเทียบ และประเมินผล ของรูปแบบกิจกรรมทางกายที่พัฒนาทักษะการประสานงานของกล้ามเนื้อ (ตา-มือ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตแห่งมาหวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ประมาณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากประชากรได้เท่ากับ 80 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 40 คน และกลุ่มควบคุม 40 คน โดยใช้โปรแกรมกิจกรรมทางกายที่มีค่าความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 แบบประเมินความพึงพอใจ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 และแบบทดสอบ มีค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.96 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการให้ปฏิบัติตามโปรแกรม 8 สัปดาห์ วิเคราะห์หาค่าความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ ด้วยสถิติค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ การทดสอบใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และหาค่าร้อยละของความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมรูปแบบกิจกรรมทางกายที่พัฒนาขึ้นมีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้ 2) กลุ่มทดลองมีทักษะการประสานงานของกล้ามเนื้อ (ตา-มือ) สูงเพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาการฝึก และเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) นักเรียนและครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมในโปรแกรมอยู่ในระดับมากที่สุด แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาทักษะแต่ละกิจกรรมในโปรแกรมมีความหลากหลาย น่าสนใจ และมีการใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างไปนั้น ส่งผลให้เกิดพัฒนาการประสานสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของระบบการทำงานภายในร่างกายของนักเรียนได้อย่างเหมาะสม

References

Japan Sport Association. (2564). Phycical Activity Promotion in Children of Conceptual of ACP (Active Child Program). Bangkok : Kohken Printing. (In Thai)

Kaemkate, W. (2012). Research methodology in behavioral sciences. (3rd ed.). Bangkok : Department of Research and Educational Psychology, Chulalongkorn University. (In Thai)

Kaewmesri, B. (2002). Presentation of the Model for Development of Leadership Characteristics of Nursing College Administrators. under the Ministry of Public Health. Dissertation, Doctor of Philisophy Program in Education Administration, Department of Educational Administration, Faculty of Education, Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai)

Khamanee, T. (2017). Teaching Science and Knowledge for effective learning process management. Bangkok : Chulalongkorn University Press. (In Thai)

Kirkendall, D. R., Gruder, J. J., & Johnson, R. E. (1987). Measurement and Evaluation for Physical Educators (2nd ed.). Champaign, Illinois : Human Kinetics.

Krabuanrat, C. (2014a). Applying Fundamentals of Training (FITT). Journal of Health, Physical Education and Recreation, 40(2), 5-12. (In Thai)

Kuna-apisit, K. (2018). Physical Education Curriculum and Management (3rd ed.). Bangkok : N.d. (In Thai).

Ministry of Education. (2009). Basic Education Core Curriculum 2008. Bangkok : Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education. (In Thai)

Nakhonkhet, K. (2015). Learning experiences from children's play according to the components of Boom, s Taxonomy. Journal of Health Education, Physical Education and Recreation, 41(2), 31-37. (In Thai)

North Carolina Division of Public Health. (2009). Move More North Carolina: Recommended Standarss for After-School Physical Activity. North Carolina : Raleigh.

Office of the National Economic and Social Development Board Office of the Prime Minister. (2016). The 12th National Economic and Social Development Plan 2017-2021. Retrieved January 6, 2020, from https://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422 (In Thai)

Peanchob, W. (2018). Collection of articles on philosophy, principles, teaching methods, and measurements for evaluation in physical education (2nd ed.). Bangkok : Chulalongkorn University Press. (In Thai)

Physical Activity Research Center for Health. (2016). Survey of Physical Activity of Thai Children and Youth, 2016, Learn from Play. Bangkok : Green Apple Graphic Printing. (In Thai)

Robert, W. (2019). Alternate hand wall Toss test. Retrieved Feburary 8, 2020, from https://www. topendsports.com/testing/tests/wall-catch.htm

Rovininelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the Use Content Specialists in the Assessment of Criterin Reference Test Item Validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Silamad, S. (2014). Physical activity for good health. Bangkok : Chulalongkorn University. (In Thai)

Srisa-ard, B. (2011). Preliminary research (9th ed.). Bangkok : Suviriyasan. (In Thai)

Suwankan, S. (2017). A Guide for Physical Activity Development for Developing Physical Literacy for Prathomsuksa 3 Students. Dissertation, Doctoral of Physical Education Program, Faculty of Education, Kasetsart University, Bangkok. (In Thai)

Waikasikam, P. (2020). The Development of Athletic Activities Model for Kids to Promote Fundamental Movement Skill of Elementary Students. Dissertation, Doctor of Education Program in Health Education and Physical Education, Faculty of Physical Education, Srinakharinwirot University, Bangkok. (In Thai)

World Health Organization. (2014b). Global Strategy on Diet, Physical Activity and Health. Recommended levels of physical activity for children aged 5-17 years. Retrieved April 2, 2021, from http:// www.who.int/teams/health-promotion/physical-activity/physical-activity-and-young-people

Yarbrough, C. K., Powers, A. K., Park, T. S., Leonard, J. R., Limbrick, D. D., & Smyth, M. D. (2011). Patients with Chiari malformation Type I presenting with acute neurological deficits: case series. Journal of Neurosurgery: Pediatrics, 7(3), 244-247.

p.127

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-01

How to Cite

แวงแก้ว ว., & ประดู่ ส. (2022). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมทางกายเพื่อพัฒนาทักษะการประสานงานของกล้ามเนื้อ (ตา-มือ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 16(2), 121–134. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.30