การพัฒนากระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยงเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ในโรงเรียนขนาดเล็กระดับประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • อดิศร เนาวนนท์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครราชสีมา
  • ลลิตา ธงภักดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ปิยฉัตร เทพหัสดิน ณ อยุธยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • วริศรา ยางกลาง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • อรสิริ วิมลธรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • จตุพล ภู่ละกอ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.31

คำสำคัญ:

กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง, การจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ, โรงเรียนขนาดเล็กระดับประถมศึกษา

บทคัดย่อ

บทบาทสำคัญของการยกระดับสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้สากลด้วยการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง สำหรับพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนขนาดเล็กระดับประถมศึกษา โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณร่วมกัน กำหนดกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจงเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ทำการยกร่างกระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง และแบบประเมินคุณภาพด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีรับส่งทางไปรษณีย์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลคำแนะนำด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลคะแนนประเมินโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง สำหรับพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนขนาดเล็กระดับประถมศึกษา มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.20-4.80 และเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย ซึ่งพัฒนาขึ้นอย่างครบถ้วนในชื่อที่เรียกว่า “TOCM PROCESS” ที่เน้นส่วนสำคัญ 3 ขั้นตอน คือ T : การฝึกอบรมเสริมองค์ความรู้ (Training) OC : การชี้แนะในบริบทในโรงเรียน (Onsite Coaching) และ M : การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring) ทั้งนี้การจัดกระบวนการให้คำปรึกษาที่ดีควรมีความสอดคล้องกับหลักทางจริยธรรมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้และเพิ่มการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องต่อไป

References

Amornkitpinyo, P., Wiratchai, N., & Kajornsin, S. (2008). Effects of Mentoring System on Service Quality and Organizational Loyalty Mediating Job-Based Measures: A Study for Improving of Human Resorce Management in the Private Hospitals. Journal of Research Methodology, 21(3), 341-366. (In Thai)

Best, J., & Kahn, J. V. (1993). Research in Education (7th ed.). Boston : Allyn and Bacon.

Bruner, J. (1990). Acts of meaning. Cambridge, MA : Harvard University Press.

Buendía, X. P. & Macías, D. F. (2019). The professional development of English language teachers in Colombia: a review of the literature. Colomb. Appl. Linguist. J., 21(1), 93-106.

Cornelius, K. E., Rosenberg, M. S., & Sandmel, K. N. (2017). Examining the Impact of Professional Development and Coachning on Mentoring of Novice Special Educators. Action in Teacher Education, 42, 253-270. https://doi.org/10.1080/01626620.2019.1638847

Huat, C., & Torring, D. (2004). Human Resource management in Asia (3rd ed.). Jurong, Singapore : Prentice-Hill.

Jill, A. (2016). Coaching and mentoring in higher education: a step-by-step guide to exemplary practice. New York : Palgrave Macmillan.

Koopman, R., Englis, P. D., Ehrenhard, M. L., & Groen, A. (2021). The Chronological Development of Coaching and Mentoring: Side by Side Disciplines. International Journal of Evidence Based Coaching and Mentoring, 19(1), 137-151. DOI: 10.24384/3w69-k922

Kreitner, R., & Kinicki, A. (2007). Organizational Behavior (7th ed.). New York : McGraw Hill.

Kreitner, R., & Kinicki, A. (2007). Organizational behavior (7th ed.). New York : McGraw-Hill.

Krippendorff, K. (2018). Content analysis: An introduction to its methodology. Los Angeles : Sage publications.

Lancer, N., Clutterbuck, D., & Megginson, D. (2016). Techniques for Coaching and Mentoring (2nd ed.). New York, NY : Routledge Taylor & Francis Group.

Maclennan, N. (2017). Coaching and Mentoring. New York NY : Routledge Taylor & Francis Group.

Mathew, P., Mathew, P., & Peechattu, P. J. (2017). Reflective Practices: A Means to Teacher Development. Asia Pacific Journal of Contemporary Education and Communication Technology (APJCECT), 3(1), 125-131.

Nelson & Quick (2006). Organizational Behavior : Foundations, Realities & Challenges (7th ed.). Mason, Ohio : Thomson Corporation.

Nounlong, T., Intajuck, Y., & Rujimethabhas, S. (2015). The Scenarios and Problems of English Learning and Teaching for Prathomsuksa 4-6 in Dararajchawit School Group under the Uttaradit Primary Educational Service Area Office 1. In National and International Conference Interdisciplinary Research for Local Development Sustainability (IRLDS 2015) (pp. 491-502). Nakhon Sawan : Nakhon Sawan Rajabhat University. (In Thai)

Songbatumis, A. M. (2017). Challenges in Teaching English Faced by English Teachers at MTsN Taliwang, Indonesia. Journal of Foreign Language Teaching & Learning, 2(2), 54-67.

Srisa-ard, B. (2017). Preliminary research (10th ed.). Bangkok : Suwiriyasan. (In Thai)

Stokes, P., Diochon, P. F., & Otter, K. (2021). ‘Two sides of the same coin?’ Coaching & mentoring and the agentic role context. Sheffield Hallam University Research Archive (SHURA), 1-21.

Stufflebeam, D. L. (2000). The CIPP model for evaluation. In D.L. Stufflebeam, G.F. Madaus, & T. Kellaghan, (Eds.), Evaluation Models (2nd ed.). (Chapter 16). Boston : Kluwer Academic Publishers.

Surapaithun Saephung, S. (2019). Development of a supervision model by using coaching process and mentoring system to promote teaching and learning in parallel classrooms for autistic persons in schools under the Office of Secondary Education Service Area 25. Research Report. Bangkok : Office of Secondary Education Service Area 25. (In Thai)

Thanosawan, P., & Datesong, T. (2018). Problems of Teaching and Learning in the ASEAN Economic Community: Case Study of a Bangkok University. In Supporting professional learning in Southeast Asian universities through DEPISA (DEPISA Monograph no. 5) (pp. 174-187). University of Sydney & Phranakhon Rajabhat University, Thailand.

Uppinjai, S., Sukpraphaporn, T., Yavirat, P., Tunkaew, S., & Ariya, S. (2019). The Model of Using the Coaching and Mentoring System in for Induction Program of Teachers in School Under the Office of Primary Education Area, Chiang Rai province. Buabandit Journal of Educational Administration (BUAJEAD), 19(4), 1-13. (In Thai)

Wongyai, W., & Pattaphol, M. (2014). Cognitive Coaching. Bangkok : Charansanitwong Printing. (In Thai)

p.142

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-01

How to Cite

เนาวนนท์ อ., ธงภักดี ล., เทพหัสดิน ณ อยุธยา ป., ยางกลาง ว., วิมลธรรม อ., & ภู่ละกอ จ. (2022). การพัฒนากระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยงเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ในโรงเรียนขนาดเล็กระดับประถมศึกษา. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 16(2), 135–146. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.31