ตัวชี้วัดความน่าเชื่อถือของตราสินค้าองค์กรข่าวในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • นฤมล สิงหประเสริฐ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • ไพโรจน์ วิไลนุช มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2023.24

คำสำคัญ:

ตัวชี้วัดความน่าเชื่อถือของตราสินค้าองค์กรข่าว, ตัวชี้วัดด้านสื่อ, ตัวชี้วัดด้านข่าว, ตัวชี้วัดด้านบุคลากรข่าว

บทคัดย่อ

    การศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์ตัวชี้วัดความน่าชื่อถือขององค์กรข่าวจากงานวิจัยต่างประเทศและประเทศไทย 2) วิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างตัวชี้วัดที่ได้จากการสังเคราะห์งานวิจัยกับแนวคิดจริยธรรมวิชาชีพและแนวคิดตราสินค้าและคุณค่าตราสินค้าองค์กรข่าว และ 3) จัดทำตัวชี้วัดความน่าเชื่อถือของตราสินค้าองค์กรข่าวของประเทศไทย กำหนดกลุ่มข้อมูลที่ได้จากระบบในฐานข้อมูลทางวิชาการออนไลน์ต่างประเทศ จำนวน 3 ฐานข้อมูล และประเทศไทย จำนวน 4 ฐานข้อมูล สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเฉพาะงานวิจัยที่มีการใช้ หรือแสวงหาตัวชี้วัดความน่าเชื่อถือ ได้งานวิจัยที่นำมาศึกษาเป็นงานวิจัยต่างประเทศ 107 เรื่อง ประเทศไทย จำนวน 12 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหา คือ แบบจำแนกข้อมูลทั่วไป และแบบจำแนกตัวชี้วัดความน่าเชื่อถือ ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรงหรือความน่าเชื่อถือ เท่ากับ 1.00 ทั้ง 2 ฉบับ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยระหว่างปี ค.ศ. 1961-2022 จากฐานข้อมูลออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ตัวชี้วัดความน่าเชื่อถือที่สังเคราะห์ได้ มีจำนวนทั้งสิ้น 150 ตัวชี้วัด 2) ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้อง พบว่า ได้ตัวชี้วัดเพิ่มเติมจาก (1) แนวคิดจริยธรรมวิชาชีพ รวม 9 ตัวชี้วัด (2) แนวคิดตราสินค้าและคุณค่าตราสินค้า รวม 4 ตัวชี้วัด (3) ปรากฏทั้งในงานวิจัย แนวคิดตราสินค้าและคุณค่าตราสินค้า และหลักจริยธรรมวิชาชีพ รวม 7 ตัวชี้วัด และ 3) จัดทำตัวชี้วัดที่มีความเหมาะสม (IOC≥0.5) ได้รวม 61 ตัวชี้วัด ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางสร้างและรักษาความน่าเชื่อถือตราสินค้าองค์กรข่าวของประเทศไทยได้ 

References

Bachmann, P., Eisenegger, M., & Ingenhoff, D. (2022). Defining and measuring news media quality: Comparing the content perspective and the audience perspective. The International Journal of Press/Politics, 27(1), 9-37. doi:10.1177/1940161221999666

Gallup Poll. (2022). Media Use And Evaluation. https://news.gallup.com/poll/1663/media-use-evaluation.aspx

Holsti, O. R. (1969). Content Analysis for the Social Sciences and Humanities. Reading, MA : Addison-Wesley.

Jirasophon, P. (2005). Mass Communication Theory, Unit 10. In Philosophy of Communication Arts and Communication Theory. Nonthaburi : Sukhothai Thammathirat University. (In Thai)

Justin, D. M., & Fouad, H. (2021). News Media Credibility Ratings and Perceptions of Online Fake News Exposure in Five Countries. Journalism Studies, 21(16), 2215–2233. https://doi.org/10.1080/1461670X.2020.1827970

Keller, K. L. (2020). Strategic brand management: Building, Measuring, and Managing Brand Equity (5th ed.). New Jersey, NY : Prentice Hall.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2010). Principles of Marketing (13th ed.). India : Pearson Education.

Lertratanawisuth, P., Mr. (2022, 20 January). News Editor. Interview. (In Thai)

Llamero, L., Fenoll, V., & Domingo, D. (2019). Predictors of credibility of online media in the Spanish polarized media system. Communication & Society, 32(2), 127-138. Doi: 10.15581/003.32.2.127-138

Meyer, P. (2009). The Vanishing Newspaper. Columbia : University of Missouri Press.

Moriarty, W., Mitchell, S., & Wells, N. (2012). Advertising & IMC: Principle and practice (9th ed.). New Jersey, NJ : Prentice Hall.

Newly, P., Sui, M., & Searles, K. (2022). Look who’s writing: How gender affects news credibility and perceptions of news relevance. Journalism & Mass Communication Quarterly, 99(1), 183-212.

Rodcumdee, J., Mr. (2022, 26 April). Media scholar. Interview. (In Thai)

Ruenrom, G. (2013). Corporate brand success valuation. Bangkok : Cyberprint. (In Thai)

Tandoc Jr., E. C., Duffy, A., Jones-Jang, S. M., & Goh Wen Pin, W. (2021). Poisoning the information well? the impact of fake news on news media credibility. Journal of Language and Politics, 20(5), 783-802.

The National Press Council of Thailand. (2022). Regulations on the ethics of the mass media profession National Press Council of 2021. Retrieved February 15, 2022, from https://www.presscouncil.or.th/rule/6126 (In Thai)

Tirakanunt, S. (2014). Social Science Research Methodology: An Approach to Practice. Bangkok : Chulalongkorn University Publishing. (In Thai)

Vasist, P. N., & Krishnan, S. (2022). Demystifying fake news in the hospitality industry: A systematic literature review, framework, and an agenda for future research. International Journal of Hospitality Management, 106, 103277. https://doi.org/10.1016/j.ijhm.2022.103277

Victoria-Mas, M., Lacasa, I., & Marimon, F. (2018). Assessing the consumer-based brand equity of news media firms: a new validated scale. Journal of Media Business Studies, 15(3), 214-235. DOI: 10.1080/16522354.2018.1522199

ภาพ 1 กรอบแนวคิดของการวิจัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-09

How to Cite

สิงหประเสริฐ น., วิไลนุช ไ., & ตรีรยาภิวัฒน์ ม. (2023). ตัวชี้วัดความน่าเชื่อถือของตราสินค้าองค์กรข่าวในประเทศไทย. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 17(2), 111–125. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2023.24