ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารโดยบูรณาการเทคนิคผังงานที่มีต่อความสามารถด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง

ผู้แต่ง

  • สหรัฐ ลักษณะสุต แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://orcid.org/0000-0002-4428-2607
  • วรรณประภา สุขสวัสดิ์ แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • อารีรักษ์ มีแจ้ง แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2023.26

คำสำคัญ:

การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร, เทคนิคผังงาน, ความสามารถด้านไวยากรณ์, เจตคติที่มีต่อการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารโดยบูรณาการเทคนิคผังงาน 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของกลุ่มทดลองกับความสามารถของกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) เปรียบเทียบเจตคติที่มีต่อการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียนของกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 84 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ไวยากรณ์ตามแนวคิดภาษาเพื่อการสื่อสารโดยบูรณาการเทคนิคผังงาน ผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ ผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) แบบทดสอบความสามารถทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ค่าความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง 0.27-0.60 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.36-0.74 และค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.86 และ 4) แบบวัดเจตคติที่มีต่อการเรียนไวยากรณ์ ข้อคำถามที่ใช้มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไปทุกข้อ โดยผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่ากลุ่มควบคุม และเจตคติที่มีต่อการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษหลังเรียนของกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งแสดงได้ถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้นเรียน

References

Angsilapittayakom School. (2023). Methodology and results report according to the international standard school quality award criteria (ScQA) of the year 2023. Chonburi : The Office of the Secondary Education Service Area Chonburi-Rayong. (In Thai)

Brown, H. D., & Lee, H. (2015). Teaching by Principles; An Interactive Approach to Language Pedagogy. United States : Pearson Education.

Chanaroke, U., & Niemprapan, L. (2020). The Current Issues of Teaching English in Thai Context. EAU Heritage Journal Social Science and Humanity, 10(2), 34-45. (In Thai)

Dos Santos, L. M. (2020). The Discussion of Communicative Language Teaching Approach in Language Classrooms. Journal of Education and e-Learning Research, 7(2), 104-109. https://doi:10.20448/journal.509.2020.72.104.109

Gardner, R. C., & Lambert, W. E. (1972). Attitudes and Motivation: Second Language Learning. Massachusetts : Newbury House.

Jumlongpeng, P. (2019). Activities for learning English reading comprehension using a graphical diagram for students in grade 8. Thesis, Master of Education Program in Curriculum and Instruction, Rajabhat Maha Sarakham University, Maha Sarakham. (In Thai)

Khaira, L. (2020). Improving Students’ Grammatical Competence by Using Cyclic Pre-Communicative and Communicative Activities. Thesis, Master of Bahasa dan Sastra Program in Pendidikan Bahasa Inggris, Yogyakarta State University, Indonesia.

Larsen-Freeman, D. (2001). Teaching language: From grammar to grammaring. Boston, MA : Heinle & Heinle.

Larsen-Freeman, D. (2011). Techniques and Principles in Language Teaching (3rd ed.). New York : Oxford University Press.

McClelland, D. C. (1953). The Achievement Motive. New York : Appletoncetury Crofts.

Ministry of Education. (2018). Basic Education Core Curriculum 2008 (Revised 2017). Retrieved January 16, 2023, from http://opec.go.th/ckfinder/userfiles/files/general/123(2).pdf (In Thai)

Mukhtarovn, D., & Borisovna, K. (2020). Features of the Formation of Grammatical Competence. International Journal of Progressive Sciences and Technologies (IJPSAT), 20(2), 121-125.

Nanquil, L. M. (2021). Changes and Challenges in the Teaching of Grammar in the Age of Disruption. Journal of Learning and Development Studies, 1(1), 01-06. https://dx.doi.org/10.32996 /jlds.2021.1.1.1

Novak, J. D., & Canas, A. J. (2006). The Theory Underlying Concept Maps and How to Construct Them (Technical Report No. IHMC CmapTools 2006-01). Pensacola, FL : Institute for Huan and Machine Cognition.

Odiliobi, O. J. (2021). APPLICATION OF FLOWCHART IN TEACHING SIMPLE INTEREST TO SECONDARY SCHOOL STUDENTS; A PANACEA FOR SUSTAINABLE DEVELOPMENT. COOU Journal of Educational Research, 6(1), 301-325.

Pahlevy, M. (2010). Pengertian Flowchart dan Definisi Data. England : Cambridge University Press.

Patria, L., Sudarsono, S., & Rosnija, E. (2020). the Use of Wall Charts As Media To Teach Vocabulary. Journal of English Educational Study (JEES), 3(2), 169-177.

Phomjui, S. (2020). Techniques for Project Assessment (7th ed.). Bangkok: Dan Suttha Phim. (In Thai)

Phuwarat, C., & Boonchukusol, N. (2020). The Role of Grammar Teaching In ESL Writing. Sripatum Chonburi Journal, 16(4), 1-9. (In Thai)

Rosiva, S. S. (2019). Using Flowchart Technique to Improve Students' Understanding on Indefinite and Definite Articles. Dissertation, Doctoral of Educaiton Program in Faculty of Education and Teacher Training, Ar-Raniry State Islamic University, Indonesia.

Rossiter, A. (2021). A Descriptive Grammar of English: Modern English grammar by example. N. P. : Independently published.

Shimchuk, A. O. (2021). BASIC PRINCIPLES OF COMMUNICATIVE GRAMMAR DURING ENGLISH LESSONS AT PRIMARY SCHOOL. Science and Education, 2(2), 365-369.

Syukur, A., & Wahyono, E. (2021). The Use of Flowchart in Improving Students’ Ability in Writing Paragraph. Ethical Lingua: Journal of Language Teaching and Literature, 8(1), 269-275.

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2014). STEM Learning Activities. Bangkok : The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (In Thai)

Ur, P. (2009). Grammar Practice Activities: A Practical Guide for Teachers (2nd ed.). England : Cambridge University Press.

ภาพ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-22

How to Cite

ลักษณะสุต ส., สุขสวัสดิ์ ว., & มีแจ้ง อ. (2023). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารโดยบูรณาการเทคนิคผังงานที่มีต่อความสามารถด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 17(2), 139–151. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2023.26