รูปแบบการเรียนรู้ในการปรับตัวของภูมิปัญญาท้องถิ่นตามภูมินิเวศเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประชาชน

ผู้แต่ง

  • ปารณีย์ ศรีสวัสดิ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2023.40

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนรู้, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ภูมินิเวศ, การปรับตัว

บทคัดย่อ

    ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกิดขึ้นอย่างสอดรับกับภูมินิเวศและเกื้อกูลการดำรงชีวิตของผู้คน แต่กลับถูกมองข้ามและละเลยการปรับตัวจนทยอยสูญหายไปเรื่อยๆ การศึกษาครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสถานะภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวเนื่องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) วิเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้ในการปรับตัวของภูมิปัญญาท้องถิ่นตามภูมินิเวศเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ 3) วิเคราะห์แนวทางส่งเสริมการเรียนรู้ดังกล่าวของประชาชน โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งมีเครื่องมือการวิจัย 3 ชนิด คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมินการเรียนรู้ และแบบสังเกต ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องภายในอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 ไปดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสังเกต การปฏิบัติการเรียนรู้และการถอดบทเรียนภายหลังปฏิบัติการเรียนรู้ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ชุมชนทุ่งหยีเพ็งมีลักษณะภูมินิเวศเป็นโคก ทุ่ง และทาม และมีภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหลายประเภท แต่ส่วนใหญ่อยู่ในสถานะสูญหายไปแล้วและกำลังจะสูญหาย ซึ่งรูปแบบการเรียนรู้ในการปรับตัวของภูมิปัญญาท้องถิ่นตามภูมินิเวศเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประชาชน เรียกว่า “การเรียนรู้ 5 ภูมิ” โดยผลการประเมินในภาพรวมก่อนปฏิบัติ การเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ทัศนคติและการปฏิบัติตนอยู่ในระดับน้อยที่สุด และภายหลังปฏิบัติการเรียนรู้แล้วมีความรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ทัศนคติและการปฏิบัติตนอยู่ในระดับมาก ส่วนแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ดังกล่าว ประกอบด้วย การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง การจัดการเรียนรู้ตามประสบการณ์ การจัดการเรียนรู้ข้ามรุ่น และการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งรูปแบบการเรียนรู้ดังกล่าวจะเสริมศักยภาพในการดูแลรักษาทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนต่อไป

References

Badeni, B., & Saparahayuningsih, S. (2022). Management of Rejang Tribe Local Wisdom in Environmental Education. International Journal of Multicultural and Multireligious Understanding (IJMMU), 9(2), 84-99.

Best, J. W. (1977). Research in Education. New Jersey : Prentice Hall Inc.

Bloom, B. S. (1975). Taxonomy of Education. New York : David McKay Company Inc.

Boyd, R. D., & Apps, J. W. (1980). Redefining the Discipline of Adult Education. San Francisco : Jossey-Bass.

Chankao, K. (2001). Environmental Science. Bangkok : Kasetsart University. (In Thai)

Kaewurai, W. et al. (2020). Developmental Education Guidelines for Environmentally Friendly Growth. Social Sciences Research and Academic Journal, 15(2), 43-58. (In Thai)

Knowles, M. S., Holton, E. F., & Swanson, R. A. (2005). The Adult Learner (6th ed.). Burlington, MA : Elsevier.

Leser, H. (1997). Landschaftsökologie. Ulmer : Stuttgart.

Mulyadi, A., Dede, M., & Widiawaty, M. A. (2022). The Role of Traditional Beliefs and Local Wisdom in Forest Conservation. Jurnal Geografi Gea, 22(1), 55-66.

Na Thalang, E. (1997). Folk Wisdom in Four Regions : Way of Life and Learning Process of Thai Villagers. Nonthaburi : Sukhothai Thammathirat Open University. (In Thai)

Office of Academic and Educational Standards. (2010). Guidelines for Organizing Student Development Activities according to the Basic Education Core Curriculum 2008 (2nd ed.). Bangkok : Agricultural Co-operative Federation of Thailand. (In Thai)

Office of Education Council. (2018). National Education Standards 2018. Nonthaburi : 21 Century. (In Thai)

Office of Education Council. (2019). Developmental Education Guidelines for Environmentally Friendly Growth. Bangkok: Prikwarn Graphic. (In Thai)

Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. (2017). Sustainable Consumption and Production Roadmap 2017-2037 (Revised Version 1). Bangkok : Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. (In Thai)

Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. (2018). The Environmental Quality Situations 2018. Bangkok : Dokbia. (In Thai)

Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. (2020). Making an Ecological Landscape Plan to Manage the Community's Ecological Environment Project. Inception Report. Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning, Bangkok. (In Thai)

Phetroj, L., & Chamniprasat, A. (2019). Research Methodology. Bangkok : Jaroendeemunkong. (In Thai)

Phuttitarn, L. (2022). Teaching with Living Heritage in Informal and Non-Formal Education. Bangkok : Office of Non-Formal and Informal Education. (In Thai)

Royal Gazette. (1992). Enhancement and Conservation of National Environmental Quality Act 1992. 4 April 1992. Volume 109. Chapter 37, 1-47. (In Thai)

Royal Gazette. (2018). Announcement on National Strategy 2018-2037. 13 October 2018. Volume 135. Chapter 82 Kor, 1-61. (In Thai)

Saladan Subdistrict Municipality. (2018). Local Development Plan 2018-2022. Krabi : Saladan Subdistrict Municipality. (In Thai)

Srisa-ard, B. (2017). Basic Research (10th ed.). Bangkok : Suweeriyasan. (In Thai)

Triastoningtias, M. N. E. (2021). Conservation of Agriculture Land based on Local Wisdom in Serang Village Purbalingga Regency. Journal of Natural Resources and Environmental Management, 11(3), 419-429.

Wachirawongsakorn, P. (2019). Natural Resource Management. Bangkok : Chulalongkorn University. (In Thai)

Yasir, M. F., & Rusmadi, A. (2023). Environmental Communication Patterns based on Local Wisdom in Management of Lubuk Larangan in Subayang River. Sosiohumaniora-Jurnal Ilmu-ilmu Sosial dan Humaniora, 25(1), 60-70.

Yasir, Y., Firzal, Y., Yesicha, C., & Sulistyani, A. (2022). Environmental Communication Based on Local Wisdom in Forest Conservation: A Study on Sentajo Forbidden Forest, Indonesia. Journal of Landscape Ecology, 15(2), 127-145.

Yoddumnern-Attik, B., & Tangcholathip, K. (2009). Qualitative Data Analysis: Data Management, Interpretation and Meaning. Nakhon Pathom : Institute for Population and Social Research, Mahidol University. (In Thai)

ภาพ 2 รูปแบบการเรียนรู้ในการปรับตัวของภูมิปัญญาท้องถิ่นตามภูมินิเวศเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประชาชน : การเรียนรู้ 5 ภูมิ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-26

How to Cite

ศรีสวัสดิ์ ป. (2023). รูปแบบการเรียนรู้ในการปรับตัวของภูมิปัญญาท้องถิ่นตามภูมินิเวศเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประชาชน. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 17(3), 126–140. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2023.40