แนวทางการตลาดในการจัดการเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอำเภอ สูงเนิน ปักธงชัย และครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
DOI:
https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2023.38คำสำคัญ:
แนวทางการตลาด, ศักยภาพการท่องเที่ยว, การจัดการเส้นทางท่องเที่ยว, การพัฒนาเศรษฐกิจบทคัดย่อ
การนำทรัพยากรการท่องเที่ยวในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิผล ด้วยการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพ ความต้องการ เส้นทาง และแนวทางการตลาดในการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภอสูงเนิน อำเภอปักธงชัย และอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา กำหนดกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มภาคีที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 24 คน กลุ่มนักท่องเที่ยว 400 คน และกลุ่มองค์กรในพื้นที่ 71 คน โดยใช้แบบสำรวจ แบบประเมินศักยภาพ แบบสอบถาม และแบบบันทึกข้อมูล ที่ผ่านการตรวจคุณภาพเครื่องมือในแต่ละฉบับเท่ากับ 0.89, 0.87, 0.89, 0.84 และ 0.93 ตามลำดับ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์ สอบถามความต้องการ และจัดเวทีประชุม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนาหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง ( =3.98, S.D.=0.75) 2) นักท่องเที่ยวมีความต้อการท่องเที่ยวในพื้นที่อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.21, S.D.=0.76) 3) เส้นทางการท่องเที่ยวในพื้นมี 5 รูปแบบ คือ การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวเชิงพุทธ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการท่องเที่ยวแบบผสมผสาน และ 4) แนวทางการตลาดในการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่ 15 แนวทาง ประกอบด้วย 1) จัดทำและประกาศราคาด้านการท่องเที่ยวที่ชัดเจน 2) ประสานงานและค้นหาช่องทางการจัดจำหน่าย 3) สร้างจุดยืนและทิศทางให้กับผลิตภัณฑ์ 4) พัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยว 5) ค้นหาวิธีการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และการขายตรง 6) สร้างพฤติกรรมการเรียนรู้รวมกัน 7) ประสานงานทางธุรกิจร่วมกัน 8) สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างภาคีการท่องเที่ยว 9) จัดรวมสินค้าและบริการการท่องเที่ยว 10) พัฒนาบุคลากรการท่องเที่ยว 11) เพิ่มกิจกรรมเพื่อขยายโอกาสการท่องเที่ยว 12) ศึกษาสภาพแวดล้อมการท่องเที่ยว 13) ยอมรับความคิดเห็นจากสาธารณชน 14) สร้างองค์ความรู้การท่องเที่ยว และ 15) พัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งจะทำให้เกิดการสร้างงาน รายได้ การลงทุน การตลาด และการพัฒนาทางภูมิศาสตร์พื้นที่ท่องเที่ยวได้อย่างแท้จริง
References
Adom, D. (2019). The place and voice of local people, culture, and traditions: A catalyst for ecotourism development in rural communities in Ghana. Scientific African, 6, e00184. doi:https://doi.org/10.1016/j.sciaf.2019.e00184
Choibamroong, T. (2009). The role of local government organizations in sustainable tourism development based on the concept of sufficiency economy. Bangkok : King Prajadhipok's Institute. (In Thai)
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York : John Wiley and Sons.
Jin, X., Wu, H., Zhang, J., & He, G. (2021). Agritourism development in the USA: The strategy of the state of Michigan. Sustainability, 13(20), 11360. https://doi.org/10.3390/su132011360
Jittangwatana, B. (2005). Sustainable Tourism Development. Bangkok : Tourism Authority of Thailand. (In Thai)
Jittangwatana, B. (2005). Tourism industry, the never-ending business of Thailand. Bangkok : Bangkok CP Book Standard. (In Thai)
Kasikorn Research Center. (2019). Trends in the Thai tourism industry in the year 2019 (B.E. 2562). Retrieved August 31, 2020, from https://www.kasikornbank.com/international-business/en/Thailand/IndustryBusiness/Pages/201901_Thailand_TourismOutlook19.aspx (In Thai)
Kerimbergenovich, A. A., Kamilovich, S. S., Tursinbaevich, A. R., Jannazarovich, A. K., Kazievich, S. J., & Maksetovich, O. H. (2020). Ecotourism development in the Republic of Karakalpakstan: historical places and protected areas. Journal of Critical Reviews, 7(12), 1258-1262.
Mai, K. N., Nguyen, P. N. D., & Nguyen, P. T. M. (2019). International tourists’ loyalty to Ho Chi Minh City destination—a mediation analysis of perceived service quality and perceived value. Sustainability, 11(19), 5447. https://doi.org/10.3390/su11195447
Ministry of Sports and Tourism. (2017). Tourism Statistics Report of Thailand for the year 2017 (B.E. 2560). Retrieved March 22, 2018, from https://www.mots.go.th/download/article/article_20190516131031.pdf (In Thai)
Nonthapot, S., & Thomya, W. (2020). The effect of the marketing mix on the demand of Thai and foreign tourists. Management Science Letters, 10(11), 2437-2446. DOI: 10.5267/j.msl.2020.4.006
Pimolsompong, C. (2011). Planning and developing the tourism market (10th ed.). Bangkok : Kasetsart University Press. (In Thai)
Provincial Office of Natural Resources and Environment Nakhon Ratchasima. (2021). 5-Year Government Action Plan (B.E. 2565-2569) for Natural Resources and Environmental Management in Nakhon Ratchasima Province. Retrieved September 20, 2022, from https://korat.mnre.go.th/attachment/iu/download.php?WP=qUIcnKt4pQugZKqCGWOghJstqTgcWat0pQWgZKp2GQAgG2rDqYyc4Uux (In Thai)
Reason, P., & Bradbury, H. (2008). Handbook of action research: Participative inquiry and practice (2nd ed.). London : SAGE.
Siljaru, T. (2010). Research and analysis of statistical data with SPSS (11th ed.). Bangkok : V. Inter Print. (In Thai)
Tang, H., Wang, R., Jin, X., & Zhang, Z. (2022). The Effects of Motivation, Destination Image and Satisfaction on Rural Tourism Tourists’ Willingness to Revisit. Sustainability, 14(19), 11938. https://doi.org/10.3390/su141911938
Tirakanan, S. (2006). The use of statistics in social science research: a practical approach (2nd ed. (revised)). Bangkok : Chulalongkorn University Printing House. (In Thai)
Vada, S., Dupre, K., & Zhang, Y. (2023). Route tourism: a narrative literature review. Current Issues in Tourism, 26(6), 879-889. https://doi.org/10.1080/13683500.2022.2151420
Yang, X. S., & Xu, H. (2022). Producing an ideal village: imagined rurality, tourism and rural gentrification in China. Journal of Rural Studies, 96, 1-10. https://doi.org/10.1016/j.jrurstud.2022.10.005
Zeng, L., & Yi Man Li, R. (2021). Tourist satisfaction, willingness to revisit and recommend, and mountain kangyang tourism spots sustainability: A structural equation modelling approach. Sustainability, 13(19), 10620. https://doi.org/10.3390/su131910620
Zhang, X., Pang, X., Wen, X., Wang, F., Li, C., & Zhu, M. (2023). TriPlan: an interactive visual analytics approach for better tourism route planning. Journal of Visualization, 26(1), 231-248. https://doi.org/10.1007/s12650-022-00861-8
Zhou, Q., Zhu, K., Kang, L., & Dávid, L. D. (2023). Tea Culture Tourism Perception: A Study on the Harmony of Importance and Performance. Sustainability, 15(3), 2838. https://doi.org/10.3390/su15032838
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.