การพัฒนาสินค้าที่ระลึกจากภูมิปัญญาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไทยพวน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • กาสัก เต๊ะขันหมาก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • พนิตสุภา ธรรมประมวล สาขาวิชาการจัดการ วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2023.47

คำสำคัญ:

สินค้าที่ระลึกจากภูมิปัญญา, ภูมิปัญญาวัฒนธรรมไทยพวน, การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

    สินค้าที่ระลึกจากทุนทางวัฒนธรรมและศักยภาพภูมิปัญญาของชุมชนเป็นธุรกิจสำคัญที่นำสู่การกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น นำมาสู่การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสินค้าที่ระลึกจากทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไทยพวน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ทำการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้มีส่วนสำคัญในด้านการผลิตสินค้าที่ระลึก การออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน และการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวน 15 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบอ้างอิงด้วยบุคคลและผู้เชี่ยวชาญ (Snowball sampling) โดยใช้แบบจำลองรูปแบบธุรกิจและแบบสัมภาษณ์ชนิดไม่มีโครงสร้างไปเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสนทนากลุ่ม นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองรูปแบบธุรกิจ สามารถพัฒนาต้นแบบสินค้าที่ระลึกวัฒนธรรมไทยพวน ที่โดดเด่นและเป็นอัตลักษณ์ได้ 7 ต้นแบบ คือ 1) หมวก 2) กระเป๋าใส่โทรศัพท์มือถือ 3) กระเป๋าใส่เครื่องสำอาง 4) กระเป๋าเอนกประสงค์ 5) กระเป๋าใส่เครื่องเขียน 6) กล่องใส่กระดาษทิชชู และ 7) พวงกุญแจ โดยเพิ่มโอกาสทางการตลาดในการส่งเสริมการออกแบบตราสินค้าที่มีลวดลายการทอผ้าเป็นกลีบดอกไม้โทนสีส้มที่สื่อถึงการย้อมจากวัสดุธรรมชาติและสื่อความหมายด้วยชื่อ “ที่ระลึกไทยพวน” ซึ่งจำหน่ายผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ และจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือ ดังนั้น ผลลัพธ์ที่ได้คือการสร้างรายได้ การสร้างงาน การอนุรักษ์วัฒนธรรมและสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทยพวน

References

Bourdieu, P. (1986). The form of capital. In J. G. Richardson (Ed.), (1986). Handbook of theory and research for the sociology of education. New York : Greenwood.

Buakhao, S. (2019). The Marketing Efficiency Development of Local Souvenirs One Tambon One Product of Nonthaburi Province. Phetchabun San Rajabhat Journal, 21(1), 33-40. (In Thai)

Chompoopanya, A., & Rojanatrakul, T. (2022). The development potential of the community in Participant Model to Sustainable Tourism Community. Journal of Modern Learning Development, 7(8), 414-430. (In Thai)

Hinpak Subdistrict Administrative Organization. (2022). History/General condition. Retrieved July 1, 2022, from https://www.hinpak.go.th/tambon/general (In Thai)

ICOMOS Australia. (1999). The Burra Charter: The Australia ICOMOS Charter for Places of Cultural Significance. Australia : ICOMOS.

Imsamraan, S., Lerttevasiri, P., & Phrompan, I. (2021). Souvenir Product Design Based on Folk Art Identities for Travelers. Arch Kmitl Journal, 33(23), 115-129. (In Thai)

Jiawiwatkul, U. (2010). Participatory action research: concepts, principles, and lessons. Bangkok : P. A. Living.

Kemmis, S., & Wilkinson, M. (1998). Participatory Action Research and the Study of Practice. In Atweigh, A., Kemmis, S., & Weeks, P. (Eds.). Action Research in Practice. New York : Routledge.

Osterwalder, A., & Pigneur, Y. (2010). Business Model Generation. New Jersey : John Wiley & Sons.

Royal Gazette. (2022). Announcement on the National Economic and Social Development Plan No. 13 (2023-2027). Volume 139, Special Section 258 D. November 2022, 1.

Sathienkomsorkrai, T., & Suwan, P. (2023). The Development of Tourism Souvenir Products with the Innovation for Enhancingthe Value of Local Resources. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(2), 411-432. (In Thai)

Sermchayut, R. (2020). Promotion Strategy For Community Based Tourism. Journal of Multidisciplinary Academic Research and Development, 2(4), 51-61. (In Thai)

Stinger, E. (2007). Action Research (3rd ed.). California : Sage Publication.

Sukkorn, C. (2019). Cultural Tourism in Thailand. Journal of Sustainable Tourism Development, 1(2), 1-7. (In Thai)

Wichaidit, S., Kongmanon, S., & Buatama, P. (2022). Value Addition of Local Woven Wisdoms toward Creative Tourism. Journal of Modern Learning Development, 7(3), 347-364. (In Thai)

การออกแบบตราสินค้าที่ระลึกวัฒนธรรมไทยพวนที่แปรรูปจากผ้าทอพื้นเมือง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-21

How to Cite

เต๊ะขันหมาก ก., & ธรรมประมวล พ. (2023). การพัฒนาสินค้าที่ระลึกจากภูมิปัญญาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไทยพวน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 17(4), 16–27. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2023.47