บทบาทการนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการอ่าน การเขียน และคิดวิเคราะห์ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ นาตัน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • นงลักษณ์ ใจฉลาด คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ณิรดา เวชญาลักษณ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • นิคม นาคอ้าย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2023.60

คำสำคัญ:

บทบาทการนิเทศ, นิเทศการศึกษา, โรงเรียนขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

    การนิเทศเป็นงานสำคัญของการบริหารสถานศึกษา และเป็นงานหลักของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อคุณภาพผู้เรียน และการพัฒนาคุณภาพการสอนของครู ดังนั้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทการนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการอ่าน การเขียน และคิดวิเคราะห์ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่เป็นเครือข่ายการพัฒนาของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยสมัครใจเข้าร่วมโครงการวิจัย จำนวน 33 โรงเรียน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารโรงเรียน 1 คน ครูวิชาการ 1 คน รวม 66 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 โดยใช้ google form สร้างแบบสอบถามออนไลน์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ และใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมบทบาทการนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการอ่าน การเขียน และคิดวิเคราะห์ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก อยู่ในระดับมาก ( =4.46, SD=0.66) และรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านบทบาทผู้ประสานงาน (Coordinator) ( =4.51, SD=0.68) สำหรับอยู่ในระดับมาก มีจำนวน 3 ด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านบทบาทผู้นำกลุ่ม (Group leader) ( =4.46, SD=0.66) ด้านบทบาทผู้ประเมิน (Evaluator) ( =4.43, SD=0.67) และด้านบทบาทที่ปรึกษา (Consultant) ( =4.42, SD=0.65) ตามลำดับ โดยผลลัพธ์ที่ได้แสดงให้เห็นว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีผลต่อความสำเร็จของการศึกษา และการพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาเป็นสถานที่ที่ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้เป็นอย่างดี

References

Achinsamajarn, C. (2011). New teaching supervision plan. Bangkok : Institute for Academic Advancement. (In Thai)

Beach, D. M., & Reinhartz, J. (2000). Supervision leadership : focus on instruction. Boston : Allyn and Bacon.

Boonjitradun, N. (2011). Educational administration (4th ed.). Bangkok : Thiampha Printing. (In Thai)

Department of Academic Affairs, Ministry of Education. (2003). National Education Act, B.E. 2542 and amended (2nd edition) B.E. 2545. Bangkok : Printing House, Shipping and Parcel Organization. (In Thai)

Glickman, C. D., Gordon, S. P., & Ross-Gordon, J. M. (1995). Supervision of instruction a developmental approach (3rd ed.). Mass : Needham Heights.

Knezevich, S. J. (1984). Administration of Public Education. New York : Harper and Row.

Noipitak, W. (2019). STUDIED THE SUPERVISION ROLES OF SCHOOL ADMINISTRATORS IN THE SAIYOK-LINTHIN NETWORK GROUP UNDER THE OFFICE OF KANCHANABURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 3. Journal of educational administration, Silpakorn University, 10(2), 468-479. (In Thai)

Office of the Basic Education Commission. (2019). Documents from the meeting of the sub-committee studying problems and solutions to the management of education in small schools. Under the Office of the Basic Education Commission, 21 November 2019. Bangkok : Agricultural Cooperative Community Printing Office of Thailand. (In Thai)

Oliva, P. F., & Pawlas, G. E. (2001). Supervision for Today’s School (6th ed.). New York : John Wiley & Sons.

Pibulsongkram Rajabhat University. (2022). Report of the Faculty of Education faculty meeting no. 2, 6 July 2022. Phitsanulok : n. p. (In Thai)

Srisa-ard, B. (2017). New and revised version of basic research. (10th ed.). Bangkok : Suwiriyasan. (In Thai)

Sukhan, K. (2023). Future Scenarios for Educational Supervision of Private Schools for General Education Type in the Special Development Zone of Southern Border Provinces in the Next Decade (2021-2030). Dissertation, Doctor of Education Program in Educational Administration, Hatyai University, Songkhla. (In Thai)

Vehachart, R. (2012). Academic Administration of Basic Educational Institutions (6th ed.). Songkhla : Nam Silpa. (In Thai)

Wonganutaroj, P. (2010). Human resource management psychology. Bangkok : Bangkok Supplementary Media Center. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27

How to Cite

นาตัน จ., ใจฉลาด น. . ., เวชญาลักษณ์ ณ., & นาคอ้าย น. (2023). บทบาทการนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการอ่าน การเขียน และคิดวิเคราะห์ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 17(4), 192–202. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2023.60