การพัฒนารูปแบบการจัดการแหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนมีส่วนร่วมฟาร์มควายนมบ้านกุดรัง ตำบลสาริกา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • อภิศักดิ์ คู่กระสังข์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • สุบัน บัวขาว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • กนกพิชญ์ วิชญวรนันท์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • สาวิตรี คุ้มทะยาย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2024.18

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, การมีส่วนร่วมของชุมชน, แหล่งเรียนรู้ชุมชน

บทคัดย่อ

ที่มาและวัตถุประสงค์การวิจัย: ฟาร์มความนม เป็นหนึ่งในแหล่งเรียนรู้ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทำให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับประสบการณ์ที่มีคุณค่าและความแตกต่างจากรูปแบบการท่องเที่ยวทั่วไป ดังนั้น ในการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพ 2) พัฒนารูปแบบ และ 3) ประเมินผลรูปแบบ สำหรับรูปแบบการจัดการแหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนมีส่วนร่วมฟาร์มควายนมบ้านกุดรัง ตำบลสาริกา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก

          ระเบียบวิธีวิจัย (วิธีดำเนินการวิจัย): ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กำหนดกลุ่มเป้าหมายด้วยวิธีเฉพาะเจาะจงเป็นนักท่องเที่ยว 79 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 12 คน โดยใช้แบบประเมินศักยภาพและแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์การวิจัย 0.89 และ 0.82 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว และจัดการสนทนากลุ่ม นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับรูปแบบใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบจำแนกชนิดข้อมูล สร้างตารางองค์ประกอบ และสรุปแบบอุปนัย

          ผลการวิจัย: ภาพรวมของศักภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ อยู่ในระดับดี โดยนักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และรูปแบบที่พัฒนาขึ้นเรียกว่า “รูปแบบการจัดการแหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ฟาร์มควายนมบ้านกุดรังโดยชุมชนมีส่วนร่วม “NOMKHWAI”” มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ 1) เครือข่าย 2) สุนทรียสาธก 3) ทรัพยากรบริหารจัดการ 4) การจัดการฐานเรียนรู้ 5) ทรัพยากรการท่องเที่ยว 6) วิถีชีวิต 7) ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว และ 8) นวัตกรรม

          อภิปรายผล: ภายใต้องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และนักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับกิจกรรมฐานเรียนรู้นำไปสู่ประสบการณ์ใหม่ด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรและแหล่งท่องเที่ยวบนพื้นฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้สัมฤทธิ์ผลอย่างมีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการสร้างเอกลักษณ์และความยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยว

          ข้อเสนอแนะ: ควรส่งเสริมการใช้ทรัพยากร การอนุรักษ์วัฒนธรรม และวิถีชีวิตท้องถิ่น พัฒนากิจกรรมให้มีความหลากหลาย น่าสนใจ และเน้นการมีส่วนร่วม โดยใช้นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาหนุนเสริม และหลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากรที่ทำลายสภาพแวดล้อม

References

Bakas, F. E., Duxbury, N., Silva, S., & Castro, T. V. D. (2020). Connecting to place through creative tourism. Creative tourism dynamics: Connecting travellers, communities, cultures, and places. https://hdl.handle.net/10316/89503

Best, J. W. (1983). Research in Education (4th ed.). Prentice-Hall.

Bhuiyan, M. A. H. B., & Darda, M. A. (2021). Tourism for sustainable development goals (SDGs) achievement in Bangladesh. Bangladesh Journal of Public Administration, 29(2), 53-63. https://doi.org/10.36609/bjpa.v29i2.224

Blau, P. M. (1964). Exchange and Power in Social Life. Wiley.

Castro, T. V. D., Duxbury, N., Silva, S., Bakas, F., Carvalho, C., Sancho Querol, L., ..., & Matos, O. (2020). Creative Tourism: Guide for Practitioners. How do you regenerate communities and places by combining culture, tourism and creativity?. Centre for Social Studies of the University of Coimbra.

Cave, J., & Dredge, D. (2021). Regenerative tourism needs diverse economic practices. In Global Tourism and COVID-19 (pp. 49-59). Routledge.

Chantawanich, S. (2011). Data analysis in qualitative research (10th ed.). Chulalongkorn University Press.

Cooperrider, D., & Whitney, D. (2007). A Positive Revolution in Change: Appreciative Inquiry. In Holman, P., Devane, T., & Cady, S. (Eds.), The change handbook: The definitive resource on today's best methods for engaging whole systems (pp. 73-88). Berrett-Koehler.

Distaporn, C., Kerdnoonwong, S., Boriboon, K., Kongcharoen, M., & Areekul, C. (2020). Teaching materials, Course 431, Development of learning resources and learning networks. Faculty of Education Srinakharinwirot University.

Duxbury, N., Bakas, F. E., Vinagre de Castro, T., & Silva, S. (2020). Creative tourism development models towards sustainable and regenerative tourism. Sustainability, 13(1), 2.

European Union. (2020). Interreg Central Europe. Forget Heritage. Linee Guida per il Coinvolgimento dei Cittadini nei Percorsi di Valorizzazione dei beni Appartenenti al Patrimonio Storico Culturale. European Union.

Henche, B. G., Salvaj, E., & Cuesta-Valiño, P. (2020). A sustainable management model for cultural creative tourism ecosystems. Sustainability, 12(22), 9554. https://doi.org/10.3390/su12229554

Holowack, D. (2020). Keynote address: Vital steps to building a local-first tourism economy. Skift. com, 23. SkiftX. https://skift.com/2020/11/23/crowdriff-keynote-vital-steps-building-local-first-tourism-economy/

KUDRUNG@nakornnayok. (n.d.). Community enterprise of the Thai Salika Conservation Group Creative tourism learning center, Ban Kud Rang dairy buffalo farm. (Public relations brochure).

Kumar, P., Gupta, S. K., Korstanje, M. E., & Rout, P. C. (Eds.). (2024). Achieving Sustainable Transformation in Tourism and Hospitality Sectors. IGI Global.

Likert, R. (1961). New Pattern of Management. McGraw-Hill.

Ministry of Tourism and Sports. (2023). Handbook for managing creative tourist attractions. https://www.dot.go.th/storage/3_01_2562/JiIBmnsOzmzCAgf0M9h83hZ1RoJkUmlPFJA8lTMG.pdf

Mohamed, K. M., & bin Matar Al, M. B. Q. (2024). Saudi Identity In 2030 Vision From The Perspective Of Arts And Crafts Of Saudi Society. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 40, 46-64. https://doi.org/10.59670/081dp058

Panya, P. (2015). Group-based measurement and testing. Taksila Printing.

Phranakhon Rajabhat University. (2024, June 18). Project to enhance sustainable community resource management Raising the level of community development to a tourism enterprise group by the Sarika community, Salika Subdistrict, Mueang Nakhon Nayok District. Nakhon Nayok Province. PNRU NEWS, 717(11).

Policy and planning analysis work of Subdistrict. (2023). Local Development Plan (2023-2027). Office of the Permanent Secretary of the Subdistrict Administrative Organization, Sa Ri Ka, Mueang Nakhon Nayok District, Nakhon Nayok Province. https://www.sarika.go.th/public/ list/data/detail/id/1283/menu/1196/page/1/catid/2

Ramasutha, P. (1997). Participatory action research. ASEAN Institute for Public Health Development Mahidol University.

Richards, G. (2020). Designing creative places: The role of creative tourism. Annals of tourism research, 85, 102922. https://doi.org/10.1016/j.annals.2020.102922

Romagosa, F. (2020). The COVID-19 crisis: Opportunities for sustainable and proximity tourism. Tourism Geographies, 22(3), 690-694. https://doi.org/10.1080/14616688.2020.1763447

Royal Institute. (2013). Royal Institute Dictionary, 2011 (2nd ed.). Aksorn Charoen Tas.

Sunthonsamai, W. (2009). Marketing research and marketing information systems. Technology Promotion Association (Thai-Japan).

Talukder, M. B., Kumar, S., Kaiser, F., & Mia, M. N. (2024). Pilgrimage Creative Tourism: A Gateway to Sustainable Development Goals in Bangladesh. In Global Trends in Governance and Policy Paradigms (pp. 285-300). IGI Global.

Teachers Council Secretariat. (2007). Encyclopedia of the teaching profession Honoring His Majesty the King On the occasion of celebrating the 60th anniversary of His Majesty's accession to the throne. Office of the Secretary-General of the Teachers Council.

Thailand Productivity Institute. (2022). Manual for developing service models. (n.p.).

United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization. (1972). Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage. United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO).

ภาพที่ 2 รูปแบบการจัดการแหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ฟาร์มควายนมบ้านกุดรังโดยชุมชนมีส่วนร่วม “NOMKHWAI”

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28

How to Cite

คู่กระสังข์ อ., บัวขาว ส., วิชญวรนันท์ ก., & คุ้มทะยาย ส. (2024). การพัฒนารูปแบบการจัดการแหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนมีส่วนร่วมฟาร์มควายนมบ้านกุดรัง ตำบลสาริกา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 18(2), 309–325. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2024.18