สัญญาณเตือนภัยทางการเงินที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการทำกำไรของสหกรณ์การเกษตรในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เพชรอำไพ สุขารมณ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • ศศิประภา สมัครเขตการพล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2024.7

คำสำคัญ:

สัญญาณเตือนภัยทางการเงิน, ความสามารถในการทำกำไร, สหกรณ์การเกษตร

บทคัดย่อ

    สัญญาณเตือนภัยทางการเงินของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสุขภาพทางการเงินของสหกรณ์การเกษตรเพื่อให้รับมือได้ทันต่อวิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น งานวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรในประเทศไทย 2) ศึกษาอิทธิพลของอัตราส่วนสัญญาณการเตือนภัยทางการเงินที่มีต่อความสามารถในการทำกำไรของสหกรณ์การเกษตรในประเทศไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงเป็นสหกรณ์การเกษตรในประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2562 - 2564 จำนวน 4,853 สหกรณ์ โดยกำหนดตัวแปรอิสระ ประกอบด้วย อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน อัตราส่วนทุนสำรองต่อสินทรัพย์ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ อัตราค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดำเนินงาน และอัตราหมุนเวียนของสินค้า และตัวแปรตาม คือ ความสามารถในการทำกำไร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลที่ผ่านการรับรองคุณภาพจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลจากระบบบริการข้อมูลสารสนเทศทางการเงินของสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ประกอบด้วย ค่าความถี่ของข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุดรวมถึงการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัย พบว่า ฐานะการเงินของสหกรณ์การเกษตรมีแนวโน้มค่อนข้างคงที่ แต่ด้านผลการดำเนินงาน พบว่า แนวโน้มของรายได้และค่าใช้จ่ายโดยรวมลดลงจากปี พ.ศ. 2562 ด้านอิทธิพลของอัตราส่วนสัญญาณการเตือนภัยทางการเงินที่มีต่อความสามารถในการทำกำไรของสหกรณ์การเกษตร พบว่า หากสหกรณ์การเกษตรมีทุนสำรองต่อสินทรัพย์และผลตอบแทนต่อสินทรัพย์มากขึ้น จะส่งผลให้ความสามารถในการทำกำไรดีขึ้น ในทางตรงข้ามหากสหกรณ์การเกษตรมีอัตราค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดำเนินงานสูง จะส่งผลให้ความสามารถในการทำกำไรของสหกรณ์ลดลง แต่อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน และอัตราหมุนเวียนของสินค้าไม่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของสหกรณ์การเกษตร ดังนั้น ข้อมูลที่ได้ครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการเฝ้าระวังวิกฤตทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นได้กับสหกรณ์ ตลอดจนส่งเสริมการดำเนินงานด้านการบริหารเงินทุน สินทรัพย์ รายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในสหกรณ์เพื่อให้เกิดกำไรสูงสุด และทำให้สหกรณ์การเกษตรคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน

References

Best, J. W., & Kahn, J. V. (2006). Research in Education (10th ed.). Pearson Education.

Boonlert-U-Thai, K., Srijunpetch, S., & Phakdee, A. (2022). Archival Accounting Research. TPN Press.

Boonpongha, S. (2019). Factors Affecting Profitability of Listed Companies in the Information and Communication Technology Industry in the Stock Exchange of Thailand [Independent Study, Master of Accountancy Program, University of the Thai Chamber of Commerce]. UTCC Scholar. https://scholar.utcc.ac.th/entities/publication/681c36b7-c71f-4bda-910b-f93065bdf022

Chantanasir, S. (2022). Operational Efficiency Factors Affecting Profitability of the Companies of the Agricultural and Food Industry Group Listed on the Stock Exchange of Thailand: Food and Beverage Sectors. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 5(1), 232-249.

Cooperative Auditing Department. (2022a). Financial Information Services System for Cooperatives. Cooperative Auditing Department. https://inputform.cad.go.th/CAD_WS/

Cooperative Auditing Department. (2022b). The Report on Operational Performance and Financial Status of Agricultural Cooperative for the Fiscal Year 2021. Financial Analysis Unit, Information Technology and Communication Technology Center, Cooperative Auditing Department. https://www.cad.go.th/download/statistic1/in_2_64.pdf

Cooperative Auditing Department. (2022c). Financial Information for Cooperatives and Farmers Groups in 2021. Information Technology and Communication Technology Center, Cooperative Auditing Department. https://www.cad.go.th/ewt_dl_link.php?nid=47783

Dhaka, D., & Mueser, P. (2023). Agricultural cooperatives and the failure to achieve commercialization of agriculture in Nepal: A case study of the Chitwan district. Research in Globalization, 7, 1-11. https://doi.org/10.1016/j.resglo.2023.100165

Juangsang, C., & Saengkhiew, P. (2021). The Relationship Between Profitability and Earnings Quality of the Real Estate and Construction Sector Listed on the Stock Exchange of Thailand. UMT Poly Journal, 18(2), 72-81.

Songjarean, P. (2022). The Relationship Between Capital Structure and Profitability of Listed Companies in the Stock Exchange of Thailand. Rajapark Journal, 16(47), 177-188.

Vanichbuncha, K., & Vanichbuncha, T. (2015). Using SPSS for Windows to Analyze Data (27th ed.). Samlada.

Wafullah, N. T. (2019). Agricultural Cooperatives. Delve Publishing.

Wongrasameeduan, R. (2020). Managerial Accounting. Sematham.

Yodrach, W., & Yangklan, P. (2021). Relationship Between Financial Ratio and Profitability of Food and Beverage Business Group Listed in the Stock Exchange of Thailand. Sripatum Chonburi Academic Journal, 18(2), 114-126.

Figure 3. Operational Performance of Agricultural Cooperative for The Year 2019–2021

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-18

How to Cite

สุขารมณ์ เ., & สมัครเขตการพล ศ. (2024). สัญญาณเตือนภัยทางการเงินที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการทำกำไรของสหกรณ์การเกษตรในประเทศไทย. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 18(1), 108–127. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2024.7