การดำรงชีพอย่างยั่งยืนของเกษตรกรที่หลุดพ้นจากความยากจน กรณีศึกษา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน

ผู้แต่ง

  • ซิงหง หลี่ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • รัดเกล้า เปรมประสิทธิ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ฟ้ารุ่ง มีอุดร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • นพรัตน์ รัตนประทุม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2024.13

คำสำคัญ:

พลวัตชุมชน, การดำรงชีพอย่างยั่งยืน, ครัวเรือนที่หลุดพ้นจากความยากจนในประเทศจีน, นโยบายTPA

บทคัดย่อ

ที่มาและวัตถุประสงค์การวิจัย: การลงทุนฐานรากในพื้นที่ชนบท เป็นการสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพและการคงอยู่อย่างมั่นคงของประชาชนและเกิดการสืบทอดต่อคนรุ่นหลัง เป็นหนทางที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพลวัตการดำรงชีพของชุมชนและวิเคราะห์การปรับใช้ทุนการดำรงชีพอย่างยั่งยืนของครัวเรือนเกษตรกรที่หลุดพ้นจากความยากจน

          ระเบียบวิธีวิจัย (วิธีดำเนินการวิจัย): การวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนถานหัว ตำบลถานหัว อำเภอต้าเหย๋า มณฑลยูนนาน ประเทศจีน กำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เลือกแบบเฉพาะเจาะจง 52 คน ประกอบด้วย กลุ่มการสนทนากลุ่ม 3 กลุ่ม รวม 21 คน และกลุ่มการสัมภาษณ์ 31 ครัวเรือน ครัวเรือนละ 1 คน โดยใช้แบบสนทนากลุ่ม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ที่ได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เรียบร้อยแล้ว ไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการจัดการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นรายบุคคลร่วมกับการบันทึกเสียงและจดบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์เหตุการณ์แบบตีความ

          ผลการวิจัย: การหลุดพ้นจากความยากจนเกี่ยวกับ 1) พลวัตการดำรงชีพ ด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างตรงจุด โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม สำหรับ 2) การปรับใช้ทุนทางมนุษย์สูงที่สุด ขณะที่มีลักษณะการใช้ทุนการดำรงชีพเช่นเดียวกัน แต่มีการใช้ในระดับน้อย ปานกลาง มาก แตกต่างกันไป ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ 5 ประเด็น คือ 1) รายได้เพิ่มขึ้น 2) ความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตดีขึ้น 3) ความเปราะบางลดลง 4) ความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และ 5) จิตสำนึกที่ดีขึ้น

          อภิปรายผล: การทำให้พลวัตทางทุนของเกษตรกรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการดำรงชีพ มีผลต่อโอกาสแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างตรงจุด และหลุดพ้นจากความยากจนได้อย่างยั่งยืน

          ข้อเสนอแนะ: การเน้นวิธีเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็น สร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สร้างระบบตลาดที่เป็นธรรม พัฒนาทักษะทางธุรกิจและการบริหารจัดการให้กับเกษตรกร เป็นการสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว

References

Chantavavich, S. (2018). Qualitative research methods (24th ed.). Chulalongkorn University Press.

Chen, J., Rong, S., & Song, M. (2021). Poverty vulnerability and poverty causes in rural China. Social Indicators Research, 153(1), 65-91.

Chen, M., Zhou, Y., Huang, X., & Ye, C. (2021). The integration of new-type urbanization and rural revitalization strategies in China: Origin, reality and future trends. Land, 10(2), 207. https://doi.org/10.3390/land10020207

Department for International Development (DFID). (2000). Sustainable Livelihoods Guidance Sheets. Department for International Development.

Fan, Y., Ning, J., & Qin, H. (2023). Investigating the effectiveness of livelihood capital in reducing re-poverty risk: an empirical analysis of policy withdrawal and income structures in rural China. Frontiers in Environmental Science, 11, 1175315. https://doi.org/10.3389/fenvs.2023.1175315

Ghosh, M., & Ghosal, S. (2023). Multidimensional rural livelihoods in Indian sub-Himalaya: Regional analysis, households well-being and its determinants. International Journal of Rural Management, 19(1), 45-63. https://doi.org/10.1177/09730052211047

Liu, M., Feng, X., Wang, S., & Zhong, Y. (2021). Does poverty-alleviation-based industry development improve farmers' livelihood capital? Journal of Integrative Agriculture, 20(4), 915–926. https://doi.org/10.1016/S2095-3119(20)63449-9

Luthans, F., Youssef, C. M., & Avolio, B. J. (2007). Psychological capital: Developing the human competitive edge. Oxford University Press.

Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. (2020). AWT's white paper and the precise eradication of poverty.

https://www.nxpo.or.th/th/wp-content/uploads/2021/01/2020.10.16-Poverty-to-prosperity_V2.0.pdf

National Statistical Office Department of Rural Economic and Social Survey. (2021). Report on progress in solving poverty problems in Than Hua community, Than Hua Subdistrict, Dayao District, 2019 [Photocopied Document]. (n.p.).

Pan, Y., Chen, J., Yan, X., Lin, J., Ye, S., Xu, Y., & Qi, X. (2022). Identifying the spatial-temporal patterns of vulnerability to Re-poverty and its determinants in rural China. Applied Spatial Analysis and Policy, 15(2), 483-505. https://doi.org/10.1007/s12061-021-09407-1

Patton, M. Q. (2002). Qualitative evaluation and research methods. Sage Publications.

Phanishasarn, A. (2022). Lessons learned from Poverty Alleviation in China with 2D 3M approach. The National Defence College of Thailand Journal, 64(1), 75-84.

Rathamarit, N., Thananithichot, S., Saengsap, S., Sathitphon, W., Jiewpanya, N., Loramachan, W., & Sinthupong, T. (2020). The state and poverty alleviation in the Chinese context: within the framework of the subcommittee on poverty alleviation. King Prajadhipok's Institute.

Science and Technology Department Royal Thai Embassy in Beijing and the Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. (2021). Solving China's poverty problem. Thai-Chinese Science Journal, January(Special Issue), 1-28.

Shaojun, C., Ming, M., & Siji, T. (2023). The Influence of Livelihood Capital, Livelihood Strategies, and Livelihood Choice Behavior of Poverty Alleviation Relocation from the Perspective of Common Prosperity. Journal of Hohai University (Philosophy and Social Sciences), 25(1), 94-108. https://doi.org/10.3876/j.issn.1671-4970.2023.01.010

Sonnes, I. (2015). Sustainable Rural Livelihoods and Rural Development. Fernwood Publishing.

Tang, L., Xu, Y., Wang, W., & Wang, Y. (2023). Impact of livelihood capital and rural site conditions on livelihood resilience of farm households: evidence from contiguous poverty-stricken areas in China. Environmental Science and Pollution Research, 30(59), 123808-123826. https://doi.org/10.1007/s11356-023-30426-7

Wang, W., Lan, Y., & Wang, X. (2021). Impact of livelihood capital endowment on poverty alleviation of households under rural land consolidation. Land Use Policy, 109, 105608. https://doi.org/10.1016/j.landusepol.2021.105608

World Bank (2020). Poverty and shared prosperity 2020: Reversals of fortune. The World Bank. https://www.worldbank.org/en/publication/poverty-and-shared-prosperity

Wu, J., Yang, H., & Ahmed, T. (2023). An assessment of the policy of poverty alleviation in continuous poverty-stricken areas: Evidence from Yunnan Province, China. Environment, Development and Sustainability, 25(9), 9757-9777. https://doi.org/10.1007/s10668-022-02459-4

Yu, W., Wang, Q., Wang, Y., Guan, G., & Gao, Y. (2023). Does Targeted Poverty Alleviation Policy Reduce Poverty? Evidence From Rural China. SAGE Open, 13(4), https://doi.org/10.1177/21582440231197281

Zhang, C., Zhou, Z., Zhu, C., Chen, Q., Feng, Q., Zhu, M., Tang, F., Wu, X., Zou, Y., Zhang, F., Sheng, J., & Yu, T. (2024). Analysis of the Evolvement of Livelihood Patterns of Farm Households Relocated for Poverty Alleviation Programs in Ethnic Minority Areas of China. Agriculture, 14(1), 94. https://doi.org/10.3390/agriculture14010094

ภาพที่ 3 ตัวอย่างบ้านเรือนแบบดิน อิฐ กระเบื้องดินเผา และคอนกรีต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-13

How to Cite

หลี่ ซ., เปรมประสิทธิ์ ร., มีอุดร ฟ., & รัตนประทุม น. (2024). การดำรงชีพอย่างยั่งยืนของเกษตรกรที่หลุดพ้นจากความยากจน กรณีศึกษา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 18(2), 212–231. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2024.13