การประเมินผลตอบแทนทางสังคมเพื่อสร้างความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมผ้าไหมบ้านดู่

ผู้แต่ง

  • พรสวัสดิ์ สิงห์ยาม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงลคลอีสาน นครราชสีมา
  • นิลุบล วิโรจน์ฐิติยวงศ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงลคลอีสาน นครราชสีมา
  • สุนิษา ธงจันทร์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงลคลอีสาน นครราชสีมา
  • ดวงพร ขุนอาจสูงเนิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงลคลอีสาน นครราชสีมา
  • จิราพร จิระชีวี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงลคลอีสาน นครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2024.14

คำสำคัญ:

ผลตอบแทนทางสังคม, การสร้างความยั่งยืน, วิสาหกิจชุมชน, หัตถกรรมผ้าไหมบ้านดู่

บทคัดย่อ

ที่มาและวัตถุประสงค์การวิจัย: การทำให้วิสาหกิจชุมชนมีความยั่งยืนในด้านการเงิน การสร้างสังคม และสร้างโอกาสพัฒนากิจกรรมให้เหมาะสมอย่างมั่นคง โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานและประเมินผลการดำเนินงาน 2) พัฒนาตัวแบบของการบริหารธุรกิจเพื่อสร้างแนวทาง การสร้างคุณค่า 3) ศึกษาประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน โดยมีขอบเขตการวิจัยเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมผ้าไหมบ้านดู่

          ระเบียบวิธีวิจัย (วิธีดำเนินการวิจัย): ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายเชิงคุณภาพด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน 13 คน กลุ่มประชาชน 5 คน และกลุ่มผู้สนับสนุน 5 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างที่ได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการลงพื้นที่ทำการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่ม และข้อมูลได้ นำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา วิเคราะห์แบบจำลองแรงผลักดัน (Five Force Model) วิเคราะห์ปัจจัยภายนอก (PEST Analysis) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT) วิเคราะห์แบบจำลองธุรกิจ (BMC) วิเคราะห์โมเดลเชิงตรรกะ และวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม (SROI)

          ผลการวิจัย: 1) หัตถกรรมผ้าไหมบ้านดู่ ได้รับตราสัญลักษณ์พระราชทาน “นกยูงสีน้ำเงิน” โดยมีกระบวนการผลิต 9 ขั้นตอน จำหน่ายสินค้าราคาสูงและมีฐานลูกค้าเฉพาะกลุ่ม 2) สภาพการแข่งขันภายในอุตสาหกรรมเดียวกันสูงมาก มีผู้แข่งขันรายใหม่จำนวนมาก สินค้าทดแทนเกิดขึ้นมากหมาย ลูกค้ามีอำนาจต่อรองราคาและมีทางเลือกมากขึ้น ขณะที่ผู้ขายมีโอกาสกระจายสินค้าตามช่องทางดั้งเดิม (Offline) และที่มีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง (Online) สำหรับความถี่ของสภาพแวดล้อม พบว่า มีจุดแข็ง 7 ข้อ จุดอ่อน 4 ข้อ โอกาส 6 ข้อ และอุปสรรค 9 ข้อ ซึ่งพัฒนาเป็นตัวแบบการบริหารธุรกิจเพื่อสร้างแนวทาง การสร้างคุณค่า 9 ด้าน คือ คู่ค้า แหล่งวัตถุดิบ (KP) กิจกรรมสำคัญหลักของธุรกิจ (KA) คุณค่าสิ่งสำคัญที่มอบให้ลูกค้า (VP) การดูแลรักษาลูกค้าเดิม (CR) ทรัพยากรหลักที่สำคัญของธุรกิจ (KR) ช่องทางการจัดจำหน่ายและเข้าถึง (CH) ต้นทุนในการทำธุรกิจทั้งหมด และรายได้หลักของธุรกิจ และ 3) การพัฒนาตามตัวแบบการบริหารธุรกิจ ณ ปีฐาน 2565 สามารถสร้างความคุ้มค่าในการลงทุนและเกิดผลประโยชน์ต่อสังคมได้

          อภิปรายผล: การประเมินผลตอบแทนทางสังคมเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เข้าใจถึงผลกระทบในกิจกรรมของวิสาหกิจชุมชนที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างชัดเจน และครอบคลุมความเชื่อถือได้ โดยไม่จำเป็นต้องเน้นเฉพาะผลกำไรทางการเงิน

          ข้อเสนอแนะ: การประเมินผลตอบแทนทางสังคมต้องมีการตอบรับผลประเมินและมีกระบวนการปรับปรุงกิจกรรมตามผลการประเมินอย่างต่อเนื่อง

References

Ariyawong, P. (2021). The Social Return of Investment (SROI) Evaluation for Sustainable Development of Loom Weaving of Western Lai Hin, Koh Kha District, Lampang. Journal of Public Administration and Politics, 10(2), 147-166.

Bangkok Business. (2019, August, 17). Push 'Pak Thong Chai Silk' as a GI Korat product. Bangkokbiznes. https://www.bangkokbiznews.com/business/844214

Banthit, A. (2023). Factors Contributing to Success of Mineral Water Production Community Enterprises [Master’s Independent Study]. ThaiLIS.

Buathong, S., Panicharoen, B., Chanjam, C., & Luding, N. (2023). Manual and criteria for social outcome analysis (SIA) and social returns from Investment (SROI) for sustainable business operations (ESG). College of Development Sciences Puey Ungphakorn.

Butsalee, P. (2022). Analysis of Costs, Returns and Finacial Ratios from Mudmee Silk Weaving of Ban Mapsamor Community, Mueang District, Buriram Province. NRRU Community Research Journal, 16(3), 111-123. DOI: https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.49

Certo, S. C., & Peter, J. P. (1991). Strastegic management: Concept and application (2nd ed.). Mcgrow-Hill.

Chaloryou, S. (2021). Agenda Setting and Policy Formation of the Map Ta Phut Social Enterprise Policy [Doctoral dissertation, Rangsit University]. ThaiLIS.

Creswell, J. W. (2009). Research Design: Qualitative, Quantitative, and Mixed Methods Approaches (3rd ed.). Sage.

Earl, S., Carden, R., & Smutylo, T. (2001). Outcome Mapping: building learning and reflection into development programs. International Development Research Centre.

Epstein, M. J., & Yuthas, K. (2014). Measuring and Improving Social Impacts. Berrett-Koehler Publishers.

Iswilanon, S., & Phalanurak, P. (2018). Managing research towards results and impacts: concepts and case studies. National Institute of Thinking.

Jaimjit, N. (2023). Factors Contributing to Success of Cotton Cloth Product Community Enterprises in Chiang Mai Province [Master’s Independent Study]. ThaiLIS.

Johnson, G., Whittington, R., & Scholes, K. (2009). Exploring Corporate Strategy: Text and Cases (7th ed.). Prentice Hall.

Kanchanawisut, J. (2015). Community enterprise path for career development and self-reliance. Min Service Supply.

Lawlor, E., Neitzert, E., Nicholls, J., Goodspeed, T. (2009). A guide to Social Return on Invesmtne. Cabinet Office, Office of the Third Sector. https://neweconomics.org/uploads/files/aff3779953c5b 88d53_cpm6v3v71.pdf

Murray, R., Caulier-Grice, J., & Mulgan, G. (2010). The open book of social innovation (Vol. 24). Nesta.

Office of the National Economic and Social Development Council. (2004). Manual for preparing indicators for sustainable development in Thailand. Office of the National Economic and Social Development Council.

Osterwalder, A., & Pigneur, Y. (2020). Business Model Generation. John Wiley & Sons.

Pochanukul Suzuki, P. (2005). Natural Resources and Environmental Economics, Unit 6. Thammasat Open University Press.

Porter, M. F. (1980). Competitive Strategic Technique for AnalyzingIndustrialAnd Competitors. Free Press.

Porter, M. E. (2008). Competitive advantage: Creating and sustaining superior performance. Simon and Schuster.

Regulations of the Prime Minister's Office Concerning the promotion of national social enterprises 2011. (2011, May 18). Government Gazette. No. 128 Special Section 55 D. page 1-4.

Sakunpong, N. (2022). Operational Model of Community Enterprise Networks under the Sustainable Development Concept in Chiang Mai [Master’s thesis]. Communities in DSpace. http://ir.mju.ac.th/dspace/bitstream/123456789/918/1/6301333006.pdf

Sikkha, S., Suwanthada, P., & Chantaduang, T. (2023). Raising the level of hand-woven silk Ban Huai Sai Silk Weaving Group Maha Sarakham Province to the world. Technology Clinic, Mahasarakham University.

Social Enterprise Promotion Office, Community Development Department. (2002). Basic knowledge about the One Subdistrict One Product Project. A.T.N Production.

Strategy and Budget Division, Office of Mueang Pak Municipality, Pak Thong Chai District, Nakhon Ratchasima Province. (n.d.). Local gold development plan (2023-2027). https://www.muangpak1.com/attachments/view/?attach_id=349678

Tantayanon, R. (2017, April 25). Social Entrepreneur and innovation for society. Bangkok Business. https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/641032

The Queen Sirikit Department of Sericulture. (2022). Government operational plan for a period of 5 years (2023-2027). https://qsds.go.th/wp-content/uploads/2023/01/Plan-5-Year2566-2570.pdf

Yodkaew, P. (2022). Creative economy concept and creative product development of Lao Khrang ethnic group in Nakhon Pathom Province. In The 14th NPRU National Academic Conference (pp. 2873-2886). https://dept.npru.ac.th/conference14/data/files/14_NPRU_Full_Paper_Online_final.pdf

ภาพที่ 2 กระบวนการผลิตผ้าไหมของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมผ้าไหมบ้านดู่

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-19

How to Cite

สิงห์ยาม พ., วิโรจน์ฐิติยวงศ์ น., ธงจันทร์ ส., ขุนอาจสูงเนิน ด., & จิระชีวี จ. (2024). การประเมินผลตอบแทนทางสังคมเพื่อสร้างความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมผ้าไหมบ้านดู่. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 18(2), 232–251. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2024.14