แนวทางการบริหารความเสี่ยงหลังการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ด้วยการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าสินค้าและบริการใหม่อย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาชุมชนด่านเกวียน

ผู้แต่ง

  • สุนิษา ธงจันทร์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงลคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา
  • บุษบงกช บุญกุศล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงลคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา
  • พรพิมล อิฐรัตน์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงลคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา
  • นัฎสวัญจ์ กิตติลาภานนท์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงลคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา
  • นิลุบล วิโรจน์ฐิติยวงศ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงลคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2024.17

คำสำคัญ:

การบริหารความเสี่ยง, การพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าอย่างยั่งยืน, สินค้าและบริการใหม่, ชุมชนด่านเกวียน

บทคัดย่อ

ที่มาและวัตถุประสงค์การวิจัย: กระบวนการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และปรับตัวรับมือกับสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตามมาตรการที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจชุมชน นำมาสู่การวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารความเสี่ยงหลังการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ด้วยการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าสินค้าและบริการใหม่และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าอย่างยั่งยืนสำหรับชุมชนด่านเกวียน

          ระเบียบวิธีวิจัย (วิธีดำเนินการวิจัย): ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างที่มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา 0.81 ไปเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่กำหนดขึ้นโดยการคัดเลือกแบบเจาะจงด้วยวิธีเลือกแบบลูกโซ่ ซึ่งเริ่มจากการสัมภาษณ์รายแรก จากนั้นให้แนะนำผู้ให้ข้อมูลคนต่อไปที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกันจนเพียงพอ จำนวน 12 คน โดยผู้ให้ข้อมูลคนสุดท้ายแนะนำกลุ่มผู้ให้ข้อมูลอีก 5 คน สำหรับจัดการสนทนากลุ่ม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์สถานการณ์และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การวิเคราะห์ความเสี่ยง การวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์แบบเมตริก และการวิเคราะห์ศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยว

          ผลการวิจัย: แนวทางการบริหารความเสี่ยงในระดับสูงถึงสูงมาก ประกอบด้วย 1) ด้านกลยุทธ์ คือ การจัดฝึกอบรมส่งเสริมการมีวิสัยทัศน์และวิธีคิดที่ชัดเจนอย่างเข้าใจทิศทางการตลาดและความต้องการของผู้บริโภค การวิเคราะห์ตลาดและกลุ่มเป้าหมาย การสร้างกลยุทธ์การตลาด และใช้เทคโนโลยีใหม่เพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์และการตลาด 2) ด้านการดำเนินงาน คือ พัฒนาระบบการตลาดออนไลน์ จัดทำระบบศูนย์รวมแลกเปลี่ยนทรัพยากรในชุมชน สร้างเรื่องราว จุดเด่น และความน่าสนใจของดินด่านเกวียน 3) ด้านการเงิน คือ จัดตั้งกองทุนชุมชน จัดทำระบบสมาชิก การสนับสนุนและจัดสรรงบประมาณโดยภาครัฐ สำหรับการเสนอแนะ คือ แนวทางการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าอย่างยั่งยืนด้วยแผนกลยุทธ์ 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านผู้ประกอบการ ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการตลาด

          อภิปรายผล: การจัดทำแนวทางตามหลักการบริหารความเสี่ยงสำหรับชุมชนด่านเกวียน เป็นส่วนหนึ่งของระบบการควบคุมภายใน และกำหนดเป็นแนวทางการพัฒนาเชิงกลยุทธ์ โดยมุ่งเน้นไปที่การเตรียมความพร้อมเชิงรุก ทำการแก้ไข ป้องกัน และรองรับการเกิดสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนอย่างยืดหยุ่น เหมาะสม

          ข้อเสนอแนะ: การนำแนวทางไปใช้ศึกษาวิจัยต่อยอดการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าใหม่ทางวัฒนธรรมในชุมชนเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน เพื่อสร้างงานศิลปะดินเผาเชิงสัญลักษณ์ชุมชนและเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่น

References

Announcement on the National Economic and Social Development Plan No. 13 (2023-2027). Royal Gazette. Volume 139, special section 258 D., pages 1-143.

Chaitarachote, N. (2022). Crisis Management from the Situation of the COVID-19 Virus Pandemic. Journal of MCU Buddhapanya Review, 7(7), 278-291.

Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission (COSO) & World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) (2018, October). Enterprise Risk Management, Applying enterprise risk management to environmental, social and governance-related risks. ERM Guidance Documents. https://www.coso.org/_files/ugd/3059fc_671ed4466c0e423b93a9ef 3d2e30b786.pdf

Comptroller General's Department. (2013). Risk management. Comptroller General's Department.

Dan Kwian Subdistrict Municipality Office Nakhon Ratchasima Province. (2022). Report on the results of the service satisfaction survey. of Dan Kwian Subdistrict Municipality for the year 2022. [Mimeographed].

Ivanov, D. (2020). Predicting the impacts of epidemic outbreaks on global supply chains: A simulation-based analysis on the coronavirus outbreak (COVID-19/SARS-CoV-2) case. Transportation Research Part E: Logistics and Transportation Review, 136, 101922. https://doi.org/10.1016/j.tre.2020.101922

Jamalnia, A., Gong, Y., & Govindan, K. (2022). Sub-supplier's sustainability management in multi-tier supply chains: A systematic literature review on the contingency variables, and a conceptual framework. International Journal of Production Economics, 255, 108671. https://doi.org/10.1016/j.ijpe.2022.108671

Jiwamit, S. (1999). Financial Management (Volume 1) (5th ed.). Chulalongkorn University Press.

Leingchan, R. (2020, October 7). A new look at global value chains after the COVID-19 pandemic. Research Intelligence. https://www.krungsri.com/getmedia/f2a821bc-d863-4175-b495-b587417bf509/RI_Supply_Chain_201007_TH.pdf.aspx

Nakhon Ratchasima Provincial Community Development Office. (2017, June 16). OTOP village for tourism Ban Dan Kwian, Chok Chai Subdistrict, Chok Chai District, Nakhon Ratchasima Province. Press release. https://korat.cdd.go.th/services/หมู่บ้าน-otop-เพื่อการท่องเ

Phaewsakunphan, A. (2010). Strategic management. Academic Promotion Center.

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2004). Nursing research: Principles and methods (7th ed.). Williams & Wilkins.

Porter, M. E. (1985). Competitive advantage: Creating and sustaining superior performance. The Free.

Rajak, S., Mathiyazhagan, K., Agarwal, V., Sivakumar, K., & Appolloni, A. (2021). Issues and analysis of critical success factors for the sustainable initiatives in the supply chain during covid-19 pandemic outbreak in India: A case study. Research in Transportation Economics, 8, 101114. https://doi.org/10.1016/j.retrec.2021.101114

Sansri, R. (2023). Enterprise Risk Management. Faculty of Humanities and Social Science, Khon Kaen University.

Serirat, S., & Sererat, S. (2017). Modern marketing management. Thammasarn.

Singh, J., Hamid, A. B. A., & Garza-Reyes, J. A. (2023). Supply chain resilience strategies and their impact on sustainability: an investigation from the automobile sector. Supply Chain Management: An International Journal, 28(4), 787-802.

Suwan, S. (2011). Strategy Formulation. Kasetsart University Kamphaeng Saen Campus.

The Committee of Sponsoring Organization of the Treadway Commission. (2017). Enterprise Risk Management-Integrating with Strategy and Performance. https://aaahq.org/portals/0/documents/coso/coso_erm_2017_-_appendices_(vol_2).pdf

Thongphak, R. (2022). Creative Pottery of Dan Kwian as the Environment Friendly Product [Doctoral Dissertation, Silpakorn University]. DSpace at Silpakorn Univerity. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/4095/1/620430016.pdf

World Health Organization, Thailand. (2024, February 7). Situation of coronavirus disease 2019 in Thailand. World Health Organization. https://www.who.int/thailand/news/detail/07-02-2024-update-on-covid-19-in-thailand--7-february-2024-THA

Wurzburger, R., Aageson, T., Pattakos, A., & Pratt, S. (2009). Creative Tourism: A Global Conversation: How to Provide Unique Creative Experiences for Travelers Worldwide. Sunstone Press.

Zandbiglari, K., Ameri, F., & Javadi, M. (2023). A Text Analytics Framework for Supplier Capability Scoring Supported by Normalized Google Distance and Semantic Similarity Measurement Methods. Journal of Computing and Information Science in Engineering, 23(5), 051011.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29

How to Cite

ธงจันทร์ ส., บุญกุศล บ., อิฐรัตน์ พ., กิตติลาภานนท์ น. ., & วิโรจน์ฐิติยวงศ์ น. (2024). แนวทางการบริหารความเสี่ยงหลังการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ด้วยการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าสินค้าและบริการใหม่อย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาชุมชนด่านเกวียน. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 18(2), 290–308. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2024.17