การศึกษาการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการเรียนร่วม เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ด้านการบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 - เขต 4
คำสำคัญ:
การบริหาร, มาตรฐานการเรียน, Administration, standard of inclusive educationบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการเรียนร่วม เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ด้านการบริหารจัดการเรียนร่วม ของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1-4 และเพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการเรียนร่วม เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ด้านการบริหารจัดการเรียนร่วม ของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1-4 โดยจำแนกตามประสบการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในการบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม และ ประเภทของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1-4 จำนวนทั้งสิ้น 76 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มตามระดับชั้นแบบไม่เป็นสัดส่วน โดยใช้ประเภทของโรงเรียนเป็นชั้นภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า
1. การปฏิบัติงานตามมาตรฐานการเรียนร่วมเพื่อ การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ด้านการบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา บุรีรัมย์ เขต 1-4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวบ่งชี้ พบว่าทุกตัวบ่งชี้ อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 ลำดับแรกได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ 1 ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจ มีเจตคติที่ดี และมีวิสัยทัศน์ ในการบริหารจัดการเรียนร่วมรองลงมาคือ ตัวบ่งชี้ที่3 ผู้บริหารมีการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และ ตัวบ่งชี้ที่ 2 ผู้บริหารมีการบริหารจัดการเรียนร่วม ตามโครงสร้างซีท (Seat Framework) ตามลำดับ
2. การเปรียบเทียบการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการเรียนร่วม เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาด้านการบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1-4 จำแนกตามประสบการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในการบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมโดยรวมทุกตัวบ่งชี้ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบรายตัวบ่งชี้ พบว่า มีเพียง 1 ตัวบ่งชี้ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้บริหารที่มีประสบการณ์ 5 ปีขึ้นไปเห็นว่าระดับการปฏิบัติคือ ตัวบ่งชี้ที่ 6. มีการส่งเสริม สนับสนุน ยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลและองค์กรที่มีส่วนร่วมด้านการจัดการเรียนร่วม
3. การเปรียบเทียบการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการเรียนร่วม เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาด้านการบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1-4 จำแนกตามประเภทของโรงเรียน ทั้งโดยรวมทุกตัวบ่งชี้และรายตัวบ่งชี้ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
A STUDY OF JOB PERFORMANCE IN THE STANDARD OF INCLUSIVE EDUCATION FOR THE INTERNAL QUALITY ASSURANCE OF SCHOOLS ON INCLUSIVE EDUCATION MANAGEMENT OF MAINSTAY SCHOOLS BASED ON THE VIEWS OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE BURIRAM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICES 1-4
This research aimed to study job performance in the standard of inclusive education for the internal quality assurance of schools on the inclusive education management of mainstay schools based on the views of school administrators under the Buriram Primary Educational Service Area Offices 1-4, and to compare job performance in the standard of inclusive education for the internal quality assurance of schools on the inclusive education management of mainstay schools based on the views of school administrators under the Buriram Primary Educational Service Area Offices 1-4 as categorized by the administrators’ experiences in managing inclusive educational mainstay schools and by school types. Research samples derived from disproportional stratified random sampling with school types and the strata were 76 administrators of inclusive educational mainstay schools under the Buriram Primary Educational Service Area Offices 1-4. Statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test. Research findings showed that.
1. Relating job performance in the standard of inclusive education for the internal quality assurance of schools on the inclusive education management of mainstay schools based on the views of school administrators under the Buriram Primary Educational Service Area Offices 1-4, it was generally in the high level. When each individual indicator was considered, it was found out that every indicator was in the high level. The first three indicators with the highest average scores were indicator No. 1 (the administrator had the understanding, good attitude and vision in managing inclusive education), indicator No. 3 (the administrator used the SBM (school-based management) for inclusive education management and indicator No. 2 (the administrator managed inclusive education n accordance with Seat Framework respectively.
2. Relating the comparison of job performance in the standard of inclusive education for the internal quality assurance of schools on the inclusive education management of mainstay schools based on the views of school administrators under the Buriram Primary Educational Service Area Offices 1-4 as categorized by the administrators’ experiences in managing inclusive educational mainstay schools, every indicator generally showed no difference. However, when each individual indicator was considered, it was found out that one indicator that had a difference with statistical significance at the .05 level was indicator No. 6 (the administrator supported, encouraged, and honored people as well as organizations contributing to inclusive education management).
3. Relating the comparison of job performance in accordance with the standard of inclusive education for the internal quality assurance of schools relating the inclusive education management of mainstay schools according to school administrators under the Buriram Primary Educational Service Area Offices 1-4 as categorized by school types, every indicator being considered both generally and individually, showed no difference.