การบริหารองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ด้านการแลกเปลี่ยนและการบริการความรู้
คำสำคัญ:
การบริหารองค์ความรู้, การแลกเปลี่ยนและการบริการความรู้, มหาวิทยาลัย, การศึกษา, สถาบันอุดมศึกษา, Knoledge Management, Echange and Serice Knoledge, Uniersity, Educationบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสังเคราะห์แนวความคิดที่เกี่ยวกับองค์ความรู้ทางการอุดมศึกษา ศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารองค์ความรู้ ด้านการแลกเปลี่ยนและการบริการความรู้ในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช การพัฒนาการบริหารองค์ความรู้ ด้านการแลกเปลี่ยนและด้านการบริการความรู้และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านธรรมชาติองค์ความรู้ องค์ความรู้ทางการอุดมศึกษา การบริหารอุดมศึกษา ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารองค์ความรู้ กระบวนการการบริหารองค์ความรู้ โครงสร้างพื้นฐานของการบริหารองค์ความรู้ ยุทธศาสตร์การบริหารองค์ความรู้ และสิ่งท้าทายของการบริหารองค์ความรู้ กับการบริหารองค์ความรู้ ในด้านการแลกเปลี่ยนและด้านการบริการความรู้
ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชให้ระดับความคิดเห็นในสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันที่เกิดขึ้นในระดับปานกลางในทุกด้านที่เกี่ยวกับการบริหารองค์ความรู้ ได้แก่ ธรรมชาติองค์ความรู้ องค์ความรู้ทางการอุดมศึกษา การบริหารอุดมศึกษา ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารองค์ความรู้ กระบวนการบริหารองค์ความรู้ โครงสร้างพื้นฐานการบริหารองค์ความรู้ยุทธศาสตร์การบริหารองค์ความรู้ และสิ่งท้าทายในการบริหารองค์ความรู้ การปฏิบัติงานที่ผู้บริหารให้ระดับความคิดเห็นในสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันที่เกิดขึ้นในระดับปานกลางในการนำองค์ความรู้ใหม่ ๆ ซึ่งเกิดจากการบริหารองค์ความรู้แล้วนำไปใช้ คือการพัฒนาการเรียนการสอน หลักสูตร เทคโนโลยี การวิจัย การประเมินความดีความชอบ การรักษาไว้ซึ่งบุคลากร การสร้างนักวิชาการ และการกำหนดภารงานของบุคลากร การแลกเปลี่ยนและบริการความรู้แบบข้ามหน่วยงานเป็นแบบทางการและไม่เป็นทางการมีการบริการความรู้ที่ต่างฝ่ายต่างเป็นผู้ให้และเป็นผู้รับ ในด้านการเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ การถ่ายทอดความรู้ การจัดอบรมการจัดสัมมนา การอำนวยความสะดวกให้เข้าถึงความรู้ และการให้คำแนะนำปรึกษา การบริหารองค์ความรู้ด้านการแลกเปลี่ยน และบริการความรู้ ทำให้มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นสถาบันแห่งการเรียนรู้และมีนักวิชาการปฏิบัติงานในด้านภารกิจ การผลิตการถ่ายทอด และบริการความรู้ ทำให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้อย่างทั่วถึงทั้งภายในสถาบันและภายนอกสถาบัน มีการพัฒนาวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนและวัฒนธรรมการบริการความรู้ มีการประเมินความสามารถและวัฒนธรรมของสถาบัน กำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารองค์ความรู้ มียุทธศาสตร์ผู้บริหาร ยุทธศาสตร์ปฏิสัมพันธ์ความรู้ ยุทธศาสตร์การสื่อสารความรู้และเทคโนโลยี ยุทธศาสตร์การไว้วางใจในบุคลากร ยุทธศาสตร์ ทีมจัดการความรู้ (Knowledge Worker) และยุทธศาสตร์พลังร่วม และยังมีการวางแผนกลยุทธ์การบริหารองค์ความรู้ ด้านกระบวนการแลกเปลี่ยนและการบริการความรู้ โดยเตรียมความพร้อม การกำหนดวิธีการแลกเปลี่ยนและบริการความรู้ประเมินผลและแก้ไขปรับปรุง ด้านผลการปฏิบัติงานทำให้ได้วัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนและการบริการความรู้
KNOWLEDGE MANAGEMENT IN HIGHER EDUCATION INSTITUTIONS OF SUKHOTHAI THAMMATHIRAT OPEN UNIVERSITY IN EXCHANGE AND SERVICES KNOWLEDGE
The purposes of this research ere to study the folloing To study and make analysis for a Knoledge Management Conceptual Model that orkable for higher education administration. To research and test the concept of Knoledge Management Model ith Knoledge Echange and Knoledge Serice factors in order to help improing higher education administration for those uniersities in Sukhothai thammathitat open uniersity To study and find a conclusion for the deeloping trend of Knoledge Echange and Knoledge Serice that effected to better higher education administration by research results. To study the relationship beteen the nature of knoledge.Knoledge of the uniersity.Higher Education Administration.Factors.Inuencing Knoledge Management.Knoledge management process.Knoledge management infrastructure.Strategic management and knoledge management challenges of the knoledge.Knoledge Management in Higher Education Institutions of Sukhothai thammathitat open uniersity in Echange and Knoledge Serices.
The study shoed the results that the sample respondents ho ere higher administrators gae responses to Knoledge Management Model ere consisted of the Nature of Knoledge Factor, Knoledge Lesson that proided by institutions, Higher Education Administration Policy of goernment. The Knoledge Management Process Model ere consisted of Knoledge Management Structure of institutions, Knoledge Management Strategies, and Knoledge Management Challenges. The Modern Knoledge Management Process Model is consisted of Deelopment of Learning Process, Deelopment of Learning Program, Applied Technology, Applies Research Results, Be a Performance Appraisal Factor as human resources policy, Deelop Ne Technocrats, Gie Clear Direction, Proide Knoledge Echange among personnel and units for both Formal and informal Knoledge, and Proide Knoledge Serice ith Gie and Take Approach. Other independent factors ere Public Knoledge Serice, Knoledge Serice Channels, Training and Seminar Eents, Gie Easily Data Approach, and Consultancy Serice.
In the Conclusion of this study, among higher education institutions in Sukhothai thammathitat open uniersity ere orking Knoledge Echange and Knoledge Serice. Higher education institutions ere learning centers, and proiding technocrats ho entitled to produce, to process learning, and to serice knoledge learning. The Knoledge Echange ere opened for institutions and non-institutions. The Culture of Knoledge Echange and Knoledge Serice ere deeloped. Institutions ere appraisal for their capability and culture of Knoledge Management, their strategies on Knoledge Management management ision, Applied Knoledge strategies, Knoledge Media and Technology strategies, Reliability strategy, Solid Strategic - North Rier Kerr County, strategy of Knoledge Synergy, Strategic Planning for Knoledge Management, Knoledge Echange and Knoledge Serice. The Knoledge Management process ere setting Knoledge Echange and Knoledge Serice Method, ho to access and improement in order to maintain Culture of echange and serice for learning.