การปฏิบัติกิจกรรม 5ส และการเสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน บริษัท คอมพาร์ท พรีซิชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
คำสำคัญ:
การปฏิบัติ 1, กิจกรรม 5ส 2, ความปลอดภัย 3, Implementation 1, 5S Activity 2, Safety 3บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล 2) ระดับการปฏิบัติกิจกรรม 5ส 3) ระดับการเสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงาน 4) เปรียบเทียบระดับการปฏิบัติกิจกรรม 5ส ตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 5) เปรียบเทียบระดับการเสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงานตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ บริษัท คอมพาร์ท พรีซิชั่น (ประเทศไทย) จำกัด กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 323 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการหาค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนด้านเดียว และทดสอบการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 27-33 ปี สถานภาพโสดระดับการศึกษามัธยมศึกษา ตอนปลาย/อนุปริญญา อายุการทำงาน 1-4 ปี และสังกัดแผนกผลิต มีระดับการปฏิบัติกิจกรรม 5ส โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีระดับการเสริมสร้างความปลอดภัยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติกิจกรรม 5ส พบว่า พนักงานที่มีเพศต่างกันมีระดับการปฏิบัติกิจกรรม 5ส ไม่แตกต่างกัน ส่วนพนักงานที่มีอายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา อายุการทำงาน และสังกัดแผนกต่างกัน มีระดับการปฏิบัติกิจกรรม 5ส แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และผลการเปรียบเทียบระดับการเสริมสร้างความปลอดภัยพบว่า พนักงานที่มีเพศและอายุการทำงานต่างกัน มีระดับการปฏิบัติกิจกรรม 5ส ไม่แตกต่างกัน ส่วนพนักงานที่มีอายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา และสังกัดแผนกต่างกัน มีระดับการเสริมสร้างความปลอดภัยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
IMPLEMENTATION OF 5S ACTIVITY AND SAFETY PROMOTION AT WORK OF EMPLOYEES AT COMPART PRECISION (THAILAND) COMPANY LIMITED
This research aims to study : 1) personal factors; 2) Level of 5s activity performance; 3) level of work safety promotion; 4) comparison on 5s activity performance levels according to personal factors; and 5) comparison on work safety promotion according to personal factors. Populations used in this research were Compart Precision (Thailand) Company Limited consisted of 323 samples. Tool used in this research was questionnaire. Statistics used in this research were percentage, mean and standard deviation. Hypothesis testing was tested by finding one way ANOVA and Post Hoc by using Scheffe’e method. The results showed that most employees were female with the age between 27-33 years, single, and graduation in high school/diploma. Their service years ranged from 1-4 years in the Production Department. Their total 5s activity performance level was moderate and their work safety promotion was also moderate. The results of comparison on 5s activity performance level showed that employees with different gender had no difference on 5s activity performance level while employees with different age, marriage status, educational level, and departments had different 5s activity performance level with statistical significance at .05. The results of comparison on work safety promotion level showed that employees with different age and gender had no difference on 5s activity performance level while employees with different age, marriage status, educational level, and department had different work safety promotion level with statistical significance at .05