รูปแบบการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมตามทัศนะของ ผู้บริหารในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องรูปแบบดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมตามทัศนะของผู้บริหารในมหาวิทยาลัย ราชภัฏนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะ และวัฒนธรรมและสร้างรูปแบบการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยวิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาค้นคว้าเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยการสำรวจ (Survey) ด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นจากประชากร ซึ่งเป็นผู้บริหารที่ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าสำนักงาน คณบดี หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการสำนัก/สถาบัน รองคณบดี รองผู้อำนวยการสำนัก/สถาบัน/และประธานโปรแกรม วิชาในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปีการศึกษา 2556 จำนวน 120 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และขั้นตอนที่ 2 การค้นคว้าเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการสำนัก/สถาบัน ใน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 14 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผลการวิจัย พบว่า
สภาพปัจจุบันในการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดย รวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีการดำเนินงานมากที่สุดคือ การส่งเสริมศิลปะและ วัฒนธรรม รองลงมาคือ ด้านการธำรงศิลปะและวัฒนธรรม ด้านการเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม และด้านการพัฒนาศิลปะ และวัฒนธรรม ตามลำดับ สำหรับความต้องการในการดำเนินงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบ ว่า ด้านที่มีความต้องการมากที่สุดคือ ด้านการธำรงรักษาศิลปะและวัฒนธรรม รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมศิลปะและ วัฒนธรรม และด้านการเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม ตามลำดับ
การสร้างรูปแบบการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ทั้ง 4 ด้าน คือ 1) การธำรงรักษาศิลปะและวัฒนธรรม 2) การส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม 3) การเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม และ 4) การพัฒนาศิลปะและวัฒนธรรม สามารถดำเนินการได้ 5 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมการ 2) การวางแผน 3) การ ดำเนินการ 4) การประเมินผล และ 5) การปรับปรุงแก้ไข
AN OPERATIONAL MODEL OF ART AND CULTURAL NOURISHMENTAS PERCEIVED BY ADMINISTRATORS IN NAKHON RATCHASIMA RAJABHAT UNIVERSITY
The purpose of this research was to study the present condition of and the need for the operation of art and cultural nourishment and to create the operational model of art and cultural nourishment as perceived by administrators in NakhonRatchasimaRajabhat University. This study was carried out by mixed method and consisted of 2 stages as follows:
Stage 1.Quantitative research.The samples for this stage, which were selected by purposive sampling, were 120 administrators who were heads of the dean offices, office heads, office or institute directors and deputy directors, associate deans, and heads of programs in NRRU in the academic year 2013. Questionnaires were used as a tool to survey the samples’ opinions in this stage.
Stage 2” Qualitative research. The samples for this stage were 14 administrators who were currently or used to be vice-presidents, faculty deans and office or institute directors in NRRU. The samples were selected by means of purposive sampling. In-depth interview method was used to gather the data and structural interview forms were chosen as an instrument
The research revealed that :
The overall performance of the operation of art and cultural nourishment in NRRU was in the average level. When considering in each aspect, it was found that the operation of art and cultural nourishment in the aspects of art and cultural promotion was in the highest level followed by the operation of art and cultural nourishment in the aspects of art and cultural preservation, dissemination and development respectively. The overall need for art and cultural nourishment in NRRU was in high level when considering in each aspect it was found that the need for art and cultural nourishment in the aspect of art and cultural preservation was in the highest level followed by the need for art and cultural nourishment in the aspect of art and cultural promotion and dissemination respectively.
The creation of the proper operational model of art and cultural nourishment in NRRU in all 4 aspects; i-e, in the aspect of 1) art and cultural preservation. 2) art and cultural promotion, 3) art and cultural dissemination and 4) art and cultural development could be carried out in 5 stages which were: 1) preparation stage, 2) planning stage, 3) operation stage, 4) evaluation stage and 5) improvement Stage.