ความสัมพันธ์ของกระแสเงินสดอิสระกับผลตอบแทนจากหลักทรัพย์ : หลักฐานเชิงประจักษ์บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่ม SET100
คำสำคัญ:
กระแสเงินสดอิสระ, SET100, ผลตอบแทนจากการลงทุน, Free Cash Flows, Stock Returnบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของกระแสเงินสดอิสระกับผลตอบแทนจากหลักทรัพย์ โดยกลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้คือบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่ม SET100 ระหว่างปี พ.ศ. 2551-2555 รวม 5 ปี และใช้แบบจำลองของ Wang (2010) ในการคำนวณหากระแสเงินสดอิสระการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การถดถอยแบบพหุ คุณ (Multiple Regression Analysis)แบบภาคตัดขวาง (Cross Sectional Data) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของกระแส เงินสดอิสระกับผลตอบแทนจากหลักทรัพย์
ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดอิสระกับผลตอบแทนจากหลักทรัพย์ พบว่ากระแสเงินสดอิสระ มีความสัมพันธ์ในเชิงลบกับผลตอบแทนจากหลักทรัพย์ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์ในเชิงบวก ระหว่างความเสี่ยงจากมูลค่าตลาดกับผลตอบแทนจากหลักทรัพย์ในตัวแปรควบคุมอีกด้วย
ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า นักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่ม SET100 พิจารณาว่าการมีกระแส เงินสดอิสระที่มากอาจเกิดผลในทางลบต่อผลการดำเนินงานของกิจการและผลตอบแทนจากหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นไปตาม สมมติฐานที่เกี่ยวข้องกับกระแสเงินสดอิสระที่นำเสนอโดย Jensen (1986) ที่ว่าการมีกระแสเงินสดอิสระที่มากเกินไปอาจ ทำให้เกิดปัญหาต้นทุนตัวแทน (Agency Costs)
THE RELATIONSHIP BETWEEN FREE CASH FLOWS (FCF) AND STOCK RETURN : EVIDENCE FROM STOCK EXCHANGE OF THAILAND (SET100)
This research aimed to examine the relationship between free cash flows and stock return. Samples were selected from SET100 companies listedin the Stock Exchange of Thailand between 2008 and 2012. Free cash flows were computed from model developed by Wang (2010). Data were analyzed by using cross sectional data and multiple regression analysis.
The results indicated negative relationship between free cash flows and stock return, which was significant at the 0.05 level.In addition, positiverelationship between risk on market value, a controlled variable, and stock returnwas found.
The findings suggest that SET100 investors should consider that high level of free cash flows might incur a negative impact on company’s operating result and its stock return. This goes along with idea proposed by Jensen (1986) which stated that too high free cash flows may cause agency costs.