แนวทางการพัฒนาหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนบ้านตะคุ ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • กนกพร ฉิมพลี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, Development, Cultural tourism

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนบ้านตะคุ ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมามีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนบ้านตะคุ 2) เพื่อศึกษาความพร้อมของชุมชนต่อการพัฒนาหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและ 4) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนบ้านตะคุ ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการศึกษาทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนได้แก่ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนบ้านตะคุ เป็นการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับ แหล่งประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมในชุมชนบ้านตะคุ โดยการเก็บข้อมูลภาคสนามจากสังเกต และการสัมภาษณ์เชิงลึก ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาความพร้อมของชุมชนต่อการพัฒนาหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยสร้างแบบสอบถาม และนำไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 235 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) และ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน ด้วยการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาเป็นหมู่บ้านเป็นหมู่บ้าน ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยการสัมภาษณ์กับกลุ่มเป้าหมายและผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญจำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 4 การศึกษาแนวทาง การพัฒนาหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ผู้วิจัยได้มีการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากทั้ง 3 ขั้นตอนมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การศึกษาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนบ้านตะคุ พบว่า แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของ ชุมชนบ้านตะคุ มี 2 แห่งที่สำคัญได้แก่ ปราสาทสระหินและวัดหน้าพระธาตุโดย ปราสาทสระหินหรือปราสาทหินเป็นปราสาท ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกทางบ้านตะคุ และ วัดหน้าพระธาตุหรือวัดตะคุวัดหน้าพระธาตุหรือที่ชาวบ้านทั่วไปว่าวัดตะคุ เป็น วัดเก่าแก่ของอำเภอปักธงชัย 2) การศึกษาความพร้อมของชุมชนต่อการพัฒนาหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีระดับความพร้อม โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (\inline \dpi{80} \bar{X}= 3.24 , S.D. = .43) และเมื่อจำแนกตามอายุ อาชีพและระดับ การศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุและระดับการศึกษาต่างกันมีความพร้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .053) การศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาเป็นหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมพบว่า การจัดการ โครงสร้างการบริหารงานด้านการท่องเที่ยวในหมู่บ้านยังไม่มีความชัดเจน ยังไม่มีการตั้งคณะกรรมการดูแลรับผิดชอบอย่างเป็นรูปธรรม และไม่มีรูปแบบการท่องเที่ยวที่ชัดเจน ไม่มีจุดขายที่สามารถดึงเงินจากนักท่องเที่ยวได้ และ 4) แนวทางการพัฒนา หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม คือ (1) ด้านการพัฒนาศักยภาพและการวางรูปแบบการบริหารจัดการหมู่บ้าน แก้ไขจุดอ่อน ของหมู่บ้าน โดยหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ที่มีประสบการณ์ หรือเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว มาร่วมเป็นแรงสำคัญเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวของหมู่บ้าน ให้ความรู้ ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมวางแผน โดยต้องยึดว่าทุกกระบวนการ ของการพัฒนาต้องให้ชาวบ้านเป็นผู้ร่วมลงมือปฏิบัติเองทุกขั้นตอน เพื่อสร้างและปลูกฝัง ความภาคภูมิใจ และความเป็นเจ้าของ ร่วมกันของชาวบ้าน และ (2) ด้านการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการทดลองดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยว และ ด้านการประเมินผล ซึ่งควรจัดให้มีการทดลองการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวภายในหมู่บ้าน โดยมีข้อเสนอแนะที่สำคัญจากการ ศึกษาวิจัยคือ ควรมีการร่วมกันพัฒนาศักยภาพ และการวางรูปแบบการบริหารจัดการหมู่บ้านแก้ไขจุดอ่อน ของหมู่บ้าน โดยเฉพาะในเรื่องของการสร้าง กฎ-กติกา เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับชาวบ้านและนักท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์แหล่ง ท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ตลอดจนการสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวนำร่องภายในชุมชน

 

THE DEVELOPMENT OF VILLAGE CULTURAL TOURISM IN BAN TAKHU PAK THONG CHAI DISTRICT NAKHONRATCHASIMA PROVINCE

The purposes of the study on The Development of Village Cultural Tourism in Ban Takhu Pak Thong Chai district NakhonRatchasima Province are: 1) to study on Cultural Tourism attraction in Ban Takhu community. 2) to study on how preparation to be a Cultural Tourism Village in the community. 3) to study on problem that might obstruct the Cultural Tourism development in the community. 4) To study the development of Village Cultural Tourism in Ban Takhu Pak Thong Chai district NakhonRatchasima Province.

The research procedure are in both quantitative and qualitative aspect which was divided into four steps as follows; Step one: Study the Cultural Tourism attraction in Ban Takhu commune from cultural history related document and evidence by the field data collection and in-depth interview. Step two: Study the preparation for community development on Cultural Tourism with Purposive Sampling by creating questionnaires and data collecting from a sample of 235 people. The result was analyzed with the Frequency Distribution, Percentage, Means and Standard Deviation methods and conduct the Hypothesis Testing with One-way ANOVA method. Step three: Study problem and obstruction that might arise in the community while developing the Cultural Tourism Village. This study apply the interviewing method with the key target group on 10 person. Step four: study the development of Village Cultural Tourism. The analyzed result from the former three steps ware synthesized to produce the Cultural Tourism development guideline.

The research results were summarized as follows : 1) The study on The Development of Village Cultural Tourism in Ban Takhu reveal as there were two important places for Cultural Tourism attraction; Srahin Castle and Na Phra That Temple. The Srahin Castle or the Rock Castle is located in the west of the village. The Na Phra That Temple or known as WatTakhu is the old temple in Pak Thong Chai. 2) The study on community preparedness for the Cultural Tourism development results that the villager had the overall availability in the intermediate level (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.24, S.D. = .43). When separated the results by age, occupation and education level, it reveal that there was a statistically significant difference between variety of ages and education at .05 level. 3) From the study of the problem and obstruction of Cultural Tourism development, it found that there still an unclear picture on the management structure, no actual committees who take a full responsibilities, and there was no definite tourism style and no highlight that can gain silver from the tourists. 4) The guideline for the development of Cultural Tourism 1) the development of village potential and management, there must be the collaboration from the government organizations, private organizations and related departments including the tourism specialists in order to help the village’s potential development. Those have to provides the knowledge, idea, and planning on the principle that every villager should be participated in every process to create and cultivate the honor and shared ownership among them. And 2) the communication with all related departments by creating a trial tourism campaign which the result can be evaluated. The campaign will create a valuable experience to the villager, they will familiar with the tourists and also many kinds of tourist’s styles.

The important suggestions from research result were that the community should collaborate to develop the potentiality and design community management’s pattern to get rid of the all weakness point especially the making of tourism rules and regulations as a guideline for both villager and tourist. This also includes campaign for promoting the tourism in the village along with all trial activities.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-21