บทบาทพระสังฆาธิการต่อการส่งเสริมวิถีประชาธิปไตย ในชุมชนเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พระวัชรวิช อิ่มวงศ์ษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา นครราชสีมา

คำสำคัญ:

การส่งเสริมวิถีประชาธิปไตย, ประชาชนในชุมชน, Support Demmocratic way, People in the Municiparity

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทพระสังฆาธิการต่อการส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยในชุมชนเขต อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทพระสังฆาธิการต่อการส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยในชุมชนเขต อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามอายุ พรรษา วุฒิการศึกษาทางโลก วุฒิการศึกษาทางธรรม วุฒิการศึกษาทางบาลี 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาบทบาทพระสังฆาธิการต่อการส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยในชุมชน เขตอำเภอเมือง จังหวัด นครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา สังกัดมหานิกาย ประจำปี 2556 จำนวน 141 รูป ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) และดำเนินการ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informant interview) ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ซึ่งบุคล ดังกล่าวเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารและมีข้อมูลในเรื่องศึกษาที่ทำการศึกษา จำนวน 5 รูปซึ่งผู้วิจัยเดินทางไปสัมภาษณ์และ รวบรวมข้อมูลด้วยตนเองเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) ค่าเอฟ (F-test) พบความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ในกรณีที่มีนัยสำคัญทางสถิติจะใช้วิธีการของ Fisher’s Least Significant Difference (LSD) ผลการวิจัยพบว่า1) บทบาทพระสังฆาธิการต่อการส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยในชุมชนเขต อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา อยู่ระดับมากทุกด้านใน 5 องค์ประกอบ ด้านคุณธรรมจริยธรรมมีระดับของการปฏิบัติมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านวิถีประชาธิปไตย และการเลือกตั้ง 2) ผลการเปรียบเทียบ บทบาทพระสังฆาธิการต่อการส่งเสริม วิถีประชาธิปไตยในชุมชน เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามอายุ พรรษา วุฒิการศึกษาทางโลก วุฒิการศึกษา ทางธรรม วุฒิการศึกษาทางบาลี ทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการส่งเสริมการศึกษาส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย การส่งเสริมการเลือกตั้ง และวิถีประชาธิปไตยในหัวข้อนี้ พบว่า อายุ พรรษา มีบทบาทส่งเสริม วิถีประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน ส่วนการศึกษาทางโลก การศึกษาแผนกธรรม และบทบาทของพระสังฆาธิการต่อการส่งเสริม วิถีประชาธิปไตย พบว่า มีระดับที่ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการพัฒนา บทบาทพระสังฆาธิการต่อการส่งเสริมวิถีประชาธิปไตย พบว่า (1) ด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม พระสังฆาธิการควรจะให้มีการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของวัดหรือมีการ แสดงธรรมสั่งสอน ละใช้ธรรมะเพื่อแก้ปัญหาภายในชุมชน และส่งเสริมให้พระธรรมทูตทั้งในและต่างประเทศมาเผยแพร่ หลักธรรมแก่ประชาชน (2) ด้านการปกครองระบอบประชาธิปไตย พระสังฆาธิการต้องส่งเสริมประชาชนในชุมชนให้สามัคคีกัน รับฟังความคิดเห็นต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (3) ด้านการส่งเสริมการเลือกตั้งพระสังฆาธิการต้องวางตัวเป็นกลาง ส่งเสริมให้ประชาชนใช้สติปัญญา พิจารณาการเลือกตั้ง โดยนำหลักธรรมมาเป็นเครื่องประกอบในการตัดสินใจพิจารณาด้วย หลักคุณธรรมจริยธรรมในบุคคลที่จะเข้ามาทำงานเพื่อประชาชน (4) ด้านวิถีประชาธิปไตยพระสังฆาธิการต้องติดตามข่าวสาร สนับสนุนการทำงานร่วมกันพัฒนาระหว่างพระสงฆ์กับประชาชน รับฟังเหตุผลพร้อมเดใจที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อการ พัฒนาประชาธิปไตย เคารพสิทธิและหน้าที่ของตนที่พึ่งมีต่อประชาธิปไตยในฐานะประชาชน

 

THE ROLES OF SANGHA LEADERS TO SUPPORT DEMOCRATIC WAY OF THE PEOPLE THE MUNICIPALITY, NAKHONRATCHASIMA PROVINCE

This research aims to 1) study the roles of leading abbot to support the way of democracy of the people in the municiparity, Nakhon Ratchasima Province, 2) comparethe roles of leading abbot to support the way of democracy in the municiparity, Nakhon Ratchasima Province categorized by age, monk year, educational degree before monkhood, educational degree after monkhood and Pali educational degree, 3) study the way to develop the role of leading abbot to support the way of democracy in the municiparity, Nakhon Ratchasima Province. Sample group used in this research is 141 leading abbots under monk group administrative area of Mueang District, Nakhon Ratchasima Province, MahaNikai, year 201. Using purposive sampling and interviewing for 5 monks. The tool used to collect data is questionnaires and 5 level rating scales. Statistic used to analyze data is frequency, percentage, average, standard deviation, t-test, F-test. If found statistical significance difference, will test the difference in pairs using Fisher’s Least Significant Difference (LSD) method.

Research result is found that :

1. Study result of the 5 aspects of the roles of leading abbot to support the way of democracy in the community of Mueang District, Nakhon Ratchasima Province are that they are all in a much level. The most practice is moral aspect, next is democratic way and election respectively.

2. Comparing result of the 5 aspects of the roles of leading abbot to support the way of democracy in the community of Mueang District, Nakhon Ratchasima Province divided by age, monk year, educational degree before monkhood, educational degree after monkhood and Bali educational degree is that age, monk year have different roles to support democratic way. However, study before monkhood, study after monkhood and Bali study do not have different way to support democracy.

3. The way to develop the roles of leading abbot to support the way of democracy in the community of Mueang District, Nakhon Ratchasima Province are that 1) for moral support aspect, leading abbots must promote voice over the line to preach and solve problems in the community and promote Buddhist missionaries both domestic and internal to spread Dharma to people. 2) For democratic governing aspect, leading abbots must support people in the community to harmonize and open for comment related democratic governing. 3) For election support aspect, leading abbots must be neutral and encourage people to be conscious, use Dharma as a tool for election and with moral to work for people. For democratic way, leading abbots must follow up news and work together to develop, open up to other’s comments, agree with the change to develop democracy and realize the right and duty they should have toward people’s democracy.

Downloads