ความสัมพันธ์ระหว่างปฏิสัมพันธ์ของอาจารย์กับนักศึกษา และพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา ในระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ประภัสสร ชโลธร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา, ปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา, Undergraduate Studying Behavior, Teacher-Student Interactions

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับการมีปฏิสัมพันธ์ของอาจารย์กับนักศึกษาและพฤติกรรมการเรียน ของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา เพื่อเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมการเรียน ของนักศึกษา จำแนกตามชั้นปีที่ศึกษา ระดับการศึกษาของบิดาและมารดา สถานที่พักอาศัยขณะศึกษาและผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปฏิสัมพันธ์ของอาจารย์กับนักศึกษาและพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา จำนวน 8,534 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 383 คน จำแนกตามชั้นปี ดังนี้ ชั้นปีที่ 1 จำนวน 81 คน ชั้นปีที่ 2 จำนวน 110 คน ชั้นปีที่ 3 จำนวน 65 คน ชั้นปีที่ 4 จำนวน 64 คน และชั้นปีที่ 5 จำนวน 63 คน ผู้วิจัยกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) แบ่งเป็น 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแล้วทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย รายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ระดับปฏิสัมพันธ์ของอาจารย์กับนักศึกษา และพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา พบว่า ระดับโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านระดับ ปฏิสัมพันธ์ของอาจารย์กับนักศึกษา ด้านพฤติกรรมทางวาจา (Verbal Behavior) การเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมการเรียน ของนักศึกษา จำแนกตามชั้นปีที่ศึกษา ระดับการศึกษาของบิดาและมารดา สถานที่พักอาศัยขณะศึกษาและผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปฏิสัมพันธ์ของอาจารย์กับ นักศึกษา และพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา พบว่า มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มากที่สุด ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ของอาจารย์กับ นักศึกษาด้านวาจา กับพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาด้านการถาม-ตอบ มีความสัมพันธ์กันในทางบวก ระดับค่อนข้างต่ำ และ ด้านที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์น้อยที่สุดได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ของอาจารย์กับนักศึกษาด้านไม่ใช่วาจา กับพฤติกรรมการเรียน ของนักศึกษาด้านการเข้าชั้นเรียน มีความสัมพันธ์กันในทางบวกระดับค่อนข้างต่ำ

 

THE CORRELATION BETWEEN TEACHER-STUDENT INTERACTIONS AND UNDERGRADUATE STUDYING BEHAVIOR FACULTY OF EDUCATION NAKHON RATCHASIMA RAJABHAT UNIVERSITY

The objectives of this research were to investigate the level of teacher-student interactions and undergraduate studying behavior Faculty of Education Nakhon Ratchasima Rajabhat University. Compare the undergraduate studying behavior Faculty of Education Nakhon Ratchasima Rajabhat University classified by year class, parents’ education, cottage, and achievement. Study correlation between teacher-student interactions and undergraduate studying behavior Faculty of Education Nakhon Ratchasima Rajabhat University. The populations of this research were 8,534 undergraduates and the samples were 383 undergraduates as the first year were 81 students, the second year were 110 students, the third year were 65 students, the fourth year were 64 students, and the fifth year were 63 students. The samples were randomly selected by Yamane’method at the reliability of 95 percentage. The research instrument was 5 levels of rating scale questionnaire have . Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, one-way ANOVA, and test by Schefe’ method, t-test, and pearson product moment correlations. The salient points found that; The level of teacher-student interactions and undergraduate studying behavior found that was a high level, the highest mean was verbal behavior. The comparison of undergraduate studying behavior classified by year class, parents’ education, cottage, and achievement as whole and in each dimension, found that insignificantly difference. The correlation between teacher-student interactions and undergraduate studying behavior found that was a positive correlation at a medium significantly at .01. When considering in each dimension found that the highest correlation was the verbal behavior and undergraduate studying behavior on question-answer with the positive correlation at a low level, while the lowest correlation was nonverbal behavior and class attendant was the positive correlation at a low level.

Downloads