สถานการณ์การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ในการช่วยเหลือเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และคนพิการในชุมชน

ผู้แต่ง

  • กิจฐเชต ไกรวาส วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, จังหวัดชลบุรี
  • วัลลภ ศัพท์พันธุ์ วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, จังหวัดชลบุรี
  • อาภาภรณ์ สุขหอ วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, จังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม, การช่วยเหลือเด็ก สตรี ผู้สูงอายุและคนพิการ, Involvement of civil society, Helping children women the elderly and people with disabilities

บทคัดย่อ

การศึกษาสถานการณ์การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการช่วยเหลือเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และคนพิการในชุมชน เป็นการศึกษาวิจัยเชิงต้นแบบ (Exploratory Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์การมีส่วนร่วม ของภาคประชาสังคมในการช่วยเหลือเด็ก สตรี ผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชน ทำการศึกษาใน 5 จังหวัดจากทั้ง 5 ภาค ประกอบ ด้วย 1) ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ 2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดบุรีรัมย์ 3) ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง 4) ภาคกลาง จังหวัดเพชรบุรี และ 5) ภาคใต้ จังหวัดสงขลา โดยพื้นที่ศึกษาเป็นจังหวัดที่มีสถิติปัญหาสังคมในกลุ่มเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และคน พิการอยู่ในระดับสูง และมีกิจกรรมของภาคประชาสังคมในการให้ความช่วยเหลือเด็ก สตรี ผู้สูงอายุและคนพิการที่โดดเด่น (สำนักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2555) การศึกษาใช้วิธีการแบบผสมทั้งการวิจัยวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ในกลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ที่เป็นตัวแทนของภาคประชาสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ศึกษา

ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการช่วยเหลือเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และคนพิการ ในชุมชนยังมีค่อนข้างน้อย โดยการมีส่วนร่วมยังจำกัดอยู่เฉพาะการให้ความช่วยเหลือกลุ่มที่ประสบปัญหาในบางกลุ่ม หรือใน บางพื้นที่เท่านั้น อาทิ ในจังหวัดเชียงใหม่ กิจกรรมการมีส่วนร่วมจำกัดอยู่เฉพาะการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเด็กเร่ร่อนและ ผู้พิการในเขตเมือง และกลุ่มสตรีผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูง ในจังหวัดบุรีรัมย์กิจกรรมการมีส่วนร่วมจำกัดอยู่เฉพาะการให้ความ ช่วยเหลือกลุ่มเด็กไร้ที่พึ่งพิง กลุ่มสตรีและผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบท เป็นต้น ปัญหาสำคัญในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาค ประชาสังคม เกิดจากกลไกของรัฐที่ดูแลรับผิดชอบในเรื่องนี้ยังขาดการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพ ทั้งการเชื่อมต่อในแนวดิ่ง ระหว่างหน่วยงานระดับจังหวัด อำเภอและท้องถิ่น และการเชื่อมโยงในแนวราบกับภาคประชาคมที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุนและ แบ่งเบาภาระของหน่วยงานภาครัฐ จากข้อค้นพบดังกล่าวนี้ได้นำมาสู่การกำหนดกลยุทธ์เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชา สังคม ประกอบด้วย 1) การพัฒนาเป้าหมายร่วมและแผนแม่บทระดับจังหวัดในการช่วยเหลือเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และคนพิการ 2) การสร้างกลไกในการเชื่อมต่อการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคประชาสังคมและอาสาสมัครเพื่อพัฒนาสังคม 3) การบริหาร จัดการทรัพยากรและความเชี่ยวชาญของเครือข่ายในการให้ความช่วยเหลือ 4) การส่งเสริมการพัฒนาบทบาทของภาคประชา สังคมและองค์กรภาคธุรกิจเพื่อพัฒนาสังคมให้ครอบคลุมการช่วยเหลือในทุกกลุ่ม และ 5) การเสริมสร้างแรงจูงใจให้แก่ หน่วยงานทุกภาคส่วนในการช่วยเหลือเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และคนพิการ

 

THE INVOLVEMENT OF CIVIL SOCIETY IN HELPING CHILDREN, WOMEN, THE ELDERLY AND PEOPLE WITH DISABILITIES IN THE COMMUNITY

This study was an exploratory research with the aim to explore and analyze the situation on the involvement of civil society in helping children, women, the elderly and people with disabilities in the community. The study was conducted in 5 regions; 1) Northern; Chiang Mai 2) Northeastern; Buriram 3) Eastern; Rayong 4) Central; Phetchaburi 5) Southern; Songkhla. The regions that the study was conducted were regions with high statistics of social problems among children, women, the elderly and people with disabilities and there striking civic sector activities on assistance for women, children, the elderly, and people with disabilities is. (Office of social Development and Human Security Standards, 2012) The study used a combination of documentary research, focus group, and in-depth interview conducted with the key informants that represent the civil society and the relevant authorities in the study areas.

From the study, it was found that the involvement of civil society in helping children, women, the elderly and people with disabilities in the community was relatively small. The participation was limited to assisting some group in trouble or in some areas such as in Chiang Mai; the participation activities are limited to assisting the street children, the disabled in urban areas and disadvantaged women in highland. Buriram participation activities are limited to assisting children without parents, women, and the elderly in rural areas, etc. The key issue in strengthening the civic sector participation begins with the mechanism of state responsibility lacking effective connections, the vertical connections; district and local connections and horizontal connection; connection with the civic sector to support and help alleviate the burden of the public sector. The findings have led to the formulation of strategies to strengthen the civic sector participation; 1) the development of a common goal and the master plan on helping children, women, the elderly, and people with disabilities 2) creating a connection mechanism for the participation of the public sector, civic sector, and volunteering for social development 3) management of resources and expertise of a network of assistance 4) promoting the development of the role of civic sector and business sector organizations for the assistant development to cover all groups, and 5) strengthening the incentive for the agencies in all sectors for helping children, women, the elderly and the disabled.

Downloads