รูปแบบการพัฒนาบทบาทของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ในการส่งเสริมการศึกษาโรงเรียน ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สุรชัย ชอบชื่น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สมบูรณ์ ตันยะ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สิทธิศักดิ์ จุลศิริพงษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • พิกุล ภูมิโคกรักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนา, บทบาทนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในการส่งเสริมการศึกษา, A model development, sub-district administrative organization role of school promotion

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทที่พึงประสงค์และบทบาทที่เป็นอยู่จริง เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาบทบาท และเพื่อประเมินความเหมาะสมความสอดคล้องของรูปแบบการพัฒนาบทบาทของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในการ ส่งเสริมการศึกษาโรงเรียนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครราชสีมา โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาบทบาทที่พึงประสงค์ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในการส่งเสริมการศึกษาโรงเรียนในพื้นที่องค์การ บริหารส่วนตำบล จังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามบทบาทตามภาระงาน 8 งาน ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 15 คน ได้แก่ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไดรับรางวัลดีเด่นในด้านการส่งเสริมการศึกษา ผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้าส่วนการ ศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้บริหารโรงเรียนที่ได้รับการส่งเสริมการศึกษาจำนวน 15 คน การวิเคราะห์ใช้การหาค่า ร้อยละ ขั้นตอนที่ 2 บทบาทที่เป็นอยู่จริงของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในการส่งเสริมการศึกษาโรงเรียนในพื้นที่องค์การ บริหารส่วนตำบลจังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามของแต่ละบทบาทมีมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้แก่ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด โดยผ่านผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา กลุ่มตัวอย่างเป็นนายกองค์การ บริหารส่วนตำบล จังหวัดนครราชสีมาที่ปฏิบัติหน้าที่ในปี พ.ศ. 2556 ประชากรเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในการ ส่งเสริมการศึกษาโรงเรียนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 255 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้จำนวน 155 คน การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan ทำการสุ่มเพื่อกำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้วิธีการสุ่มตามระดับชั้น (Stratified Random Sampling) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 3 สร้างรูปแบบการพัฒนาบทบาทของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในการส่งเสริมการ ศึกษาโรงเรียนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครราชสีมา โดยการนำประเด็นข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3 ลำดับ ของแต่ละบทบาทที่เป็นอยู่จริงนำมาพัฒนาตามองค์ประกอบโครงสร้างของรูปแบบ ขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบการพัฒนา บทบาทของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในการส่งเสริมการศึกษาโรงเรียนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินรูปแบบการพัฒนาบทบาทโดยผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ และส่วนที่ 2 การประเมินความสอดคล้องของรูปแบบ แล้วเสนอ ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินรูปแบบต่อไป

ผลการวิจัยพบว่า

1. บทบาทที่พึงประสงค์ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในการส่งเสริมการศึกษาโรงเรียนในพื้นที่องค์การบริหาร ส่วนตำบล จังหวัดนครราชสีมาประกอบด้วย บทบาทการมีส่วนร่วม บทบาทการบริหารจัดการ บทบาทการริเริ่มสร้างสรรค์ บทบาทการเปลี่ยนแปลง และบทบาทการเป็นผู้นำองค์กร

2. บทบาทที่เป็นอยู่จริงของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในการส่งเสริมการศึกษาโรงเรียนในพื้นที่องค์การบริหาร ส่วนตำบลจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมทุกบทบาทอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อของแต่ละบทบาท พบว่า มีค่า เฉลี่ยในลำดับต่ำสุด 3 ข้อสุดท้ายที่จำเป็นต้องนำไปพัฒนา

3. รูปแบบการพัฒนาของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในการส่งเสริมการศึกษาโรงเรียนในพื้นที่องค์การบริหาร ส่วนตำบลจังหวัดนครราชสีมา ที่ได้ศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้รูปแบบที่ประกอบการพัฒนาต้องมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ แนวคิดและ หลักการ วัตถุประสงค์ บทบาทที่จำเป็นต้องพัฒนา วิธีการพัฒนา แผนการพัฒนา และกระบวนการพัฒนามี 4 ขั้นคือการ เตรียมการ การประเมินก่อนการพัฒนา การพัฒนา และการประเมินหลังการพัฒนา

4. การประเมินรูปแบบการพัฒนาบทบาทผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่ารูปแบบการพัฒนาของนายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลในการส่งเสริมการศึกษาโรงเรียนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครราชสีมา ที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสม และมีความสอดคล้องของรูปแบบอยู่ในระดับมาก


A MODEL DEVELOPMENT OF THE CHIEF EXECUTIVE OF THE SUB DISTRICT ADMINISTRATIVE ORGANIZATION’S ROLE OF SCHOOL EDUCATIONAL PROMOTIONIN AREA NAKHON RATCHASIMA

The research was aimed 1) to study the needed and available role of chief executive in sub district administrative organization, 2) to develop the model for encourage role on school educational promotion in sub district and 3) to asses suitable and available of the model. The research process consisted of four steps : first, interviewing 15 administrator whom obtained reward best practice. Second, survey questionnaire of 155 samples in the available role on promoting education. Third, developing the model of role’s improvement and the fourth, rechecking the model from the experts.

The findings revealed that

1. The ideal role of chief executive of supporting education in 5 sub–districts, Nakhon Ratchasima : 1) Participation 2) Management 3) Creative 4) Transformative 5) Leadership.

2. The real role of Chief Executive of the sub District to promote school education in the District Administrative Office Nakhon Ratchasima. The overall role was in high level. When considering in each role found to have the last three lowest average that need to be developed.

3. The development model of the Chief Executive of the Sub District to promote school education in the District Administrative Office Nakhon Ratchasima has Six components : concepts and principles, objectives, roles that need to be developed, development method, development plan and development process that four step were the preparation, the evaluation before development, the development and the evaluation of the development.

4. The expert suggest that the model development of the chief executive of the sub-district administrative organization’s role should be used as one of the instrument for making a decision on the position of a leader education.

Downloads