รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

ผู้แต่ง

  • จุฑาทิพย์ อิทธิชินพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, จังหวัดอุบลราชธานี
  • เสนอ ภิรมย์จิตรผ่อง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, จังหวัดอุบลราชธานี
  • ณัฐกิตติ์ สวัสดิ์ไธสงค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนการสอน, การวิจัยเป็นฐาน, ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข, การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, Teaching model, research-based, numerical analysis skill, communication and information technology usage

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาการทักษะ การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ การวิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาการทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานใช้วิธีการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การศึกษาคืออาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 730 คน การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ตัวอย่างที่ได้จำนวน 248 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามลักษณะการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานของอาจารย์ในปัจจุบันและ ขั้นที่ 2 กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้เชี่ยวชาญ 7 คน สำหรับตรวจความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ รูปแบบการ จัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบฯ มีค่า IOC 0.70-1.00 สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทั้ง 2 ขั้นตอน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า

1. สภาพการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน พบว่า ภาพรวมทั้งหมด มีระดับปฏิบัติในระดับสูงที่สุด (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.56, S.D. = 0.50) และมีระดับความสำเร็จอยู่ในระดับสูง (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.49, S.D. = 0.65) เมื่อพิจารณาด้านทักษะ พบว่า ภาพรวมการใช้กระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะบัณฑิตที่พึงประสงค์ (ทักษะตัวที่ 5 คือ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ) ระดับปฏิบัติในระดับสูงที่สุด (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.84, S.D. = 0.74) และมีระดับความสำเร็จอยู่ในระดับสูง (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.14, S.D. = 0.67)

2. รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การกำหนดปัญหา การออกแบบ การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปผล และการนำผลที่ได้ ไปใช้ ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน โดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในระดับมาก (X = 3.50, S.D. = 0.52)

 

THE RESEARCH-BASED LEARNING MODEL INTO DEVELOPMENT PREFERABLE NUMERICAL ANALYSIS SKILLS, COMMUNICATION AND INFORMATION TECHNOLOGY SKILLS FACULTYOF BACHELOR’S DEGREE FOR RAJABHAT INSTITUTE INSTRUCTORS.

The purposes of this research are 1) to study the state of research-based teaching to develop numerical analysis skill, communication and information technology usage and2)to createthe research-based teaching model to develop numerical analysis skill, communication and information technology usage. Step1, study the state of research-based teaching by the survey method. The population is 730 university teachers, Faculty of Education in Northeastern Rajabhat Universities. The sampling group is 248 by stratified random sampling. The instrument is the questionnaire about the character of research-based teaching of the present teachers. Step 2, the target group is 7 experts to examine the appropriateness of research-based teaching model. The instrument isthe research-based teaching model which the researcher has developed and the IOC appropriate value is 0.70-1.00. The statistics used in both step is percentage, mean, standard deviation. It is found that:

1. The state of research-based teaching modelas a wholeof the practical level is in the highest level (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.56, S.D. = 0.50) and the successful level is in the high level (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3. 49, S.D. = 0.65). Considering in skill aspect for the whole picture of using process, the research is a part of the learning activities to develop desirable Bachelor skill (the fifth skill: numerical analysis skill, communication, and information technology usage). The practical level is in the highest level (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.84, S.D. = 0.74) and the successful level is in the high level (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.14, S.D. = 0.67).

2. The research-based teaching model has 5 components: setting problem, designing, collecting and analyzing data, summarizing and using. The appropriateness and possibility of research-based learning model result examined by the experts is found that the developed model has the appropriateness in the most level (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.50, S.D. = 0.52).

Downloads