แรงจูงใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษราชสีห์ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ปัทมา ณ ระนอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษราชสีห์ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และ2) เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจภายนอกและภายในของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษราชสีห์ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปกครองของนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษราชสีห์จำนวน 159 คน โดยศึกษาทั้งประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า 1) แรงจูงใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( µ = 4.51, s = 0.64)  เมื่อพิจารณาแรงจูงใจของผู้ปกครองทั้งภายนอกและภายใน พบว่าแรงจูงใจภายนอกมีค่าเฉลี่ย (µ = 4.60, s = 0.60) สูงกว่าแรงจูงใจภายใน (µ = 4.41, s = 0.68) เมื่อพิจารณารายด้าน 1.1) ด้านการพัฒนาตนเอง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีความต้องการให้บุตรหลานมีความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษ 1.2) ด้านอาชีพ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีความต้องการให้บุตรหลานได้มีทางเลือกในการประกอบอาชีพที่หลากหลาย 1.3) ด้านรายได้ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีความต้องการให้บุตรหลานมีโอกาสใช้ความสามารถจากการมีทักษะด้านภาษาอังกฤษที่ดี เพื่อสร้างรายได้จากหลายช่องทางใน 1.4) ด้านการเปลี่ยนแปลง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีความต้องการให้ บุตรหลานสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษได้ 1.5) ด้านสังคม ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีความต้องการให้บุตรหลานได้ศึกษา  มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นกับเพื่อนและครูต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษในการ และ 1.6) ด้านเหตุผลส่วนตัวอื่น ๆ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีความต้องการให้บุตรหลานได้ฝึกการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ และ 2) ผลการเปรียบเทียบแรงจูงใจภายนอก และแรงจูงใจภายในของผู้ปกครอง พบว่า แรงจูงใจภายนอกมากกว่าแรงจูงใจภายใน = 0.19 คะแนน


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chaipun, M. (2019). Human Behavioral Development. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Jaiyeakyen, P., and Sudrung, J. (2020). Guidelines for Development of Thai Teachers in

English Program in Secondary Schools under the Office of Education Commission in

Bangkok. Master of Education Thesis, Chulalongkorn University

Kohtbantau, S. (2017). Concepts, Principles, Theories, Practices, and Real Research. Bangkok: Intellectuals.

Lasongyang, P. (2016) Motivation of parents towards sending their children to study in Triam Udomsuksa Pattanakarn Suvarnabhumi School. Under the Office of Secondary Education Service Area 2. Master of Education Thesis, Ramkhamhaeng University

Leepukpreda. P., and Sutachit. K. (2012). Motivation of thai parents for sending their children to international schools in bangkok area, Journal of Finance, Investment, Marketing and Business Administration 2(3), 317-336

Office of the Education Commission (2015). Types of private non-formal schools. Bangkok: Office of the Non-Formal Private Education Commission. Retrieved from https://nfe.opec.go.th/wp-content/uploads/2019/12/9.Fullmanual2019.pdf (2020, 3 Jul.)

Pisanwacharin, C., and Suwanarak. K. (2019). A study of senior high school students’

motivation in learning English at a tutorial school. Master of English for Professional

Development in Language and Communication School Thesis, National Institute of Development Administration.

Ratchasee English Language School (2018). Employee Handbook. Bangkok: Ratchasee English Language School

Rogers, J. (2007). Adult learning (5th ed.). Berkshire, UK: OZGraf S.A.

Suwatunapornkoon, I. (2019). Educational Research Concepts and Applications. (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Upapai, N. (2015). Educational Psychology. (3th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Wankong, A. (2016). English Teaching in the 21st Century. Journal of Yanasangvorn Research Institute 7(2), 303-314.