ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ของนักศึกษาวิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ของนักศึกษาวิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และ 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ของนักศึกษาวิทยาลัยการฝึกหัดครู โดยจำแนกตาม เพศ และสาขาวิชา 3) ศึกษาปัญหาการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ของนักศึกษาวิทยาลัยการฝึกหัดครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาวิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 14 สาขา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 325 คน การสุ่มตัวอย่างเป็นการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่าความแปรปรวนทางเดียว (one way ANOVA) และค่าความแตกต่างของ Scheffe'
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ของนักศึกษาวิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านผู้เรียน รองลงมา คือ ด้านเทคโนโลยี ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านเวลาและสถานที่ 2) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ของนักศึกษาวิทยาลัยการฝึกหัดครู จำแนกตามเพศ สาขาวิชา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ปัญหาการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ของนักศึกษาวิทยาลัยการฝึกหัดครู พบว่า การสั่งงานที่ค่อนข้างมากจนเกินไป ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถจัดเวลาของตนเองได้ การเรียนในรูปแบบออนไลน์ ไม่สะดวกในการทำงานกลุ่ม นักศึกษาไม่มีทักษะในการถ่ายวิดีโอเพื่อส่งงาน และสัญญาณอินเตอร์เน็ตค่อนข้างมีปัญหาบ่อย ซึ่งโดยรวมแล้วไม่สะดวกเหมือนเรียนที่มหาวิทยาลัย
Article Details
References
กนกวรรณ มณีฉาย, แสงดาว ประสิทธิสุข (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการเรียนรู้แบบออนไลน์ (E-Learning) ของพนักงานธนาคารออมสิน เขตสุราษฏร์ธานี.
จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2554). โครงการตำราอีเลิร์นนิง โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา,พิมพลักษณ์, กรุงเทพฯ
ณฐภัทร ติณเวส. (2558). การศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดแบบ MOOC ของอุดมศึกษาไทย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธนพรรณ ทรัพย์ธนาดล.(2554). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนบทเรียนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. (4), 652-666.
พชร ลิ่มรัตนมงคล, และจิรัชฌา วิเชียรปัญญา. (2556). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการเรียนออนไลน์ของผู้เรียนโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์. รังสิตสารสนเทศ, 19(2), 54-63.
มณีนุช นิธิพงษ์วนิช. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จทางการเรียนของพนักงานธนาคารกสิกรไทยที่ได้รับการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย, มูลนิธิ (2564). การแพร่ระบาดของโควิด-19 สร้างผลกระทบต่อการศึกษาไทยที่สำคัญ 3 ประการ. สืบค้นจาก https://www.kenan-asia.org/th/covid-19-education-impact/ เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564.
สุภาณี เส็งศรี. (2562). การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้โดยใช้ รูปแบบ e-CLIP ของนิสิตครูสาระวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21(2).
Bloom, B. J. (1976). Human Characteristics and School Learning. New York: McGraw-Hill.
Best, J., & Kahn, J. V. (1993). Research in Education (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers. (pp.202-204)
Cobb, P. (1994). Where is the mind Construct and Sociocultural Perspective on Material Development. Educational Researcher. 23(27): 13-20.
Holdren, Lori Smellooger. (2002). Effect of Computer-mediated Learning Instruct on Community College Intermediate Algebra Student’s Attitudes and Achievement. Retrieved September 14, 2015, from http://www.lib.umi/dissertations/fullcit/3071038.
Havard, B., Du, J., & Xu, J. (2008). Online collaborative learning and communication media. Journal of Interactive Learning Research, 19(1), 37-50.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
McAlpine, I. (2000). Collaborative Learning Online. Distance Education, 21(1), 66-80.
Salinas, Fidel Michael, Jr. (2002). Comparative learning methods of cognitive computer-based training with and without multimedia blending. Digital Dissertation Abstracts International. DAI-A 62/02: 540; August.
Smith, P. L. & Ragan, T. J. (2005). Instructional design (2nd ed.). New Jersey: Prentice-Hall.