การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตชลบุรี 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง

Main Article Content

พงศกรณ์ พูลชัยวัฒนะ
อัจฉราวรรณ จันทร์เพ็ญศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับ และเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตชลบุรี 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง จําแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทํางาน กลุ่มตัวอย่าง คือครูในสถานศึกษา สหวิทยาเขตชลบุรี 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ปีการศึกษา 2565 จำนวน 274 คน ที่สุ่มมาจากประชากร รวมทั้งหมด 11 โรงเรียน จํานวน 955 คน ซึ่งได้จากตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ระดับ
ความเชื่อมั่น .05 โดยสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบการเปรียบเทียบ ผลการศึกษาพบว่า ระดับการบริหารงานวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า คะแนนเฉลี่ยรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด คือ 2. การวางแผน จัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติงานด้านวิชาการ และการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา คะแนนเฉลี่ยรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ 5.การคัดเลือกหนังสือ แบบเรียน การพัฒนาและใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 3. การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา 1. การพัฒนาหรือการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น และ 4. การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น ตามลำดับ การเปรียบเทียบการบริหารงานตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามเพศและระดับการศึกษา โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และประสบการณ์การทำงาน ในรายด้าน 3 การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา ด้าน 5 การคัดเลือกหนังสือ แบบเรียน การพัฒนาและใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน 6-10 ปี กับ 11-15 ปีขึ้นไป แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แต่โดยรวมและรายด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chaiprom N. (2022). Academic affairs administration of Matthayom wat benchamabophit school. (Master's thesis). Silpakorn University, Bangkok.

Fuengsila K. (2015). Academic administration of Watprongmadua School. (Master's thesis). Silpakorn University, Bangkok.

Ministry of Education. (1999). National Education Act 1999 and its amendment (2nd edition) 2002. Bangkok: Freight Forwarding Organization.

Ministry of Education. (2010). Guidelines for teachers in preparing teaching plans to develop the potential of Thai children. Bangkok: Chuan Kan Phim.

National Institute of Educational Testing Service (Public Organization). (2022). Historical O-NET statistics. Retrieved from https://www.niets.or.th/th/catalog/view/3865. [2022, 15 Mar.]

Office of the Basic Education Commission. (2009). Handbook for the practice of civil servants. Bangkok: Author.

Sinlarat, P. (2015). Reforming Learning : Reforming education from the bottom up. Bangkok: The Teachers Council of Thailand.

Sinsiri, W & Suwansumrit, C (2021). The Academic Administration of School under The Secondary Educational Service Area Office Nonthaburi. (Master's thesis). Rajapruk University, Nonthaburi.

The Secondary Educational Service Area Office Chonburi Rayong. (2022). Basic Education Development Plan 2022-2024. Retrieved from http://www.spm18.go.th/2017/download.html [2022, 15 Apr.]

Thongcharoen, T. (2012). The role of school administrators. Retrieved from https://www.gotoknow.org/posts/484673 [2022, 15 Apr.]

Tubpayoong, K & Panarson, P. (2019) The Study of Academic Administration’s Administrator Toward Teacher’s Opinion of Banna 3 School Group Under the Nakhonnayok Primary Educational Service Area Office. (Master's thesis). BangkokThonburi University, Bangkok.

Wongnakphet, S. (2010). Academic Administration and the Effectiveness of Basic Educational Institutions Under Primary Educational Service Area Office Suphan Buri. (Master's thesis). Silpakorn University, Bangkok.