การพัฒนาทักษะการปฏิบัติ เรื่องการประดิษฐ์ท่ารำจากการเคลื่อนไหวอย่างมีรูปแบบโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชานาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคันนายาว (ธารินเจริญสงเคราะห์)

Main Article Content

จิรายุทธ นันจินดา
กนิษฐา สังขรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการปฏิบัติ เรื่องการประดิษฐ์ท่ารำจากการเคลื่อนไหวอย่างมีรูปแบบ โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชานาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพของผลสัมฤทธิ์มากขึ้น 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะการปฏิบัติ เรื่องการประดิษฐ์ ท่ารำจากการเคลื่อนไหวอย่างมีรูปแบบ รายวิชานาฏศิลป์โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ แบบวัดทักษะการปฏิบัติ และแบบประเมินความพึงพอใจ โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนคันนายาว (ธารินเจริญสงเคราะห์) จำนวน 19 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จาก แบบวัดทักษะการปฏิบัติ และแบบประเมินความพึงพอใจ มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบโดยการทดสอบค่าที  (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาทักษะการปฏิบัติ เรื่องการประดิษฐ์ท่ารำจากการเคลื่อนไหวอย่างมีรูปแบบ โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชานาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยมีประสิทธิภาพมีค่าเท่ากับ 81.32/85.04 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนของการเรียนรู้ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย  เท่ากับ 4.46 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.50    

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

AbuSeileek, A. F. (2007). Cooperative vs. individual learning of oral skills in a CALL

environment. Computer Assisted Language Learning, 20 (5).

Jarusan, W. (2008). The Development of creative thinking by using the concept of orff – Schulwerk to thai dancing in grade 1. (Master Thesis). Silpakorn University, Nakhon Pathom.

Jaitiang, A. (2007). Teaching Principles (Revised Edition). (4). Bangkok: Odeonstore.

Khamanee, T. (2010). Pedagogical science: body of knowledge to organize an effective learning process. Bangkok: Publisher of Chulalongkorn University.

Moonkham, S & Moonkham,O. (2009). 19 Learning management methods: to develop thinking processes. Bangkok: printmaking

Ministry of Education. (2017). Basic Education Core Curriculum. B.E. 2008 (A.D. 2017). Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand, Ltd.

Nasomtong, U. (2016). The development of learning activity for enhancing performance-skill in dramatic arts on the invention of stylistic dancing movements with the song in learning area of arts for prathomsuksa 6 students. (Master Thesis). Rajabhat Maha Sarakham University, Maha Sarakham.

Puwiphadawat, S. (2011). Learner-centered and hands-on assessments. Chiang Mai: Saengsilp.

Slavin, Robert E. 1995. Cooperative Learning Theory, Research and Practice. 2nd ed.

Massachsetts : A Simom & Schuster.

Singsena, C. (2022, 21 July). Problems arising in studying classical dance. Teacher Kannayao school (Dharim Charoen Songkhroo).

Sukma, M. (2016). Results of learning activities based on cooperative instructional model by student teams achievement divisions to develop learning achievements in basic thai dancing art of students grade 4. (Master Thesis). Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Pathum Thani.