การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) ของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2

Main Article Content

มณีวรรณ ตาดำ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มุ่งศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) สำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 และ 2. เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) เพื่อพัฒนาความรู้ เรื่อง หลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำนวน 14 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1. แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา 20204-2004 หลักการเขียนโปรแกรม เรื่อง หลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์  โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) จำนวน 1 แผน รวม 6 ชั่วโมง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 2. แบบทดสอบเรื่องหลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 15 ข้อ ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแสะหาคำดัชนีความสอดคล้อง (IOC) สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า


1. นักเรียนจำนวน 14 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 14.64 และ 25.50 ตามลำดับ มีค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน เท่ากับ 2.32 และ 1.55 ตามลำดับ จากคะแนน เต็ม 30 คะแนน และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


2. ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) เพื่อพัฒนาความรู้ เรื่อง หลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonchom Srisa-ard. (2010). Basic research. 8th edition. Suviriyasan.

Boonchom Srisa-ard. (2013). Basic research. 23rd edition. Suviriyasan.

Eisenkraft, A. (2003). Expanding the 5E Model: A Proposed 7E Model Emphasizes Transferring Learning and the Importance of Eliciting Prior Understanding. The Science Teacher, 70.

Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. PISA 2009 Reading Mathematics and Science. Bangkok: Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST).

Naluan, N., Na Phatthalung, N., & Kattiyamarn, W. (2012). The Results of 7E Learning Cycle Model with Questioning Technique on Analysis Thinking Abilities and Scientific Learning Achievement of Prathomsuksa 5 Students. Songkhla: Thaksin University.

Nhunark., Y. (2016). Teaching materials Computer subjects and maintenance. Kapasin Polytechnic College. Kalasin.

Office of the Education Council. (2016). Education project for reviewing manpower needs for planning the

Production and development of the country's human resources. Bangkok: Prikwan Graphic Company Limited.

Promkao., S. (2022). The Effects of Using 7E Inquiry with Analytical Questions and Creating Mental Representation In The Topic Of Living Organisms On Learning Achievement And Scientific Explanation Ability Of Grade 7 Students At Ban Nam Khiao School In Surin Province. MBU Education Journal. Faculty of Education Mahamakutv Buddhistv University. 10(1), January-June 2022.

Pruittikul., S. (2015). Educational Administration and Change in the 21 Century. Journal of Education, Burapha University, 28(2).

Vocational Education Commission. (2019). Vocational Certificate Program, 2019. Retrieved from

https://bsq.vec.go.th/Portals/9/Course/20/2562/20200/20204v3.pdf [2021, 18 Mar.]