ผลกระทบของการระบาด COVID-19 ที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนในรูปแบบความปกติใหม่ที่ยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการวิเคราะห์ผลกระทบของการระบาด COVID-19 ที่มีผลต่อระบบการเรียนการสอนหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ จนมีการปรับรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันของนักศึกษา บุคลากร และเจ้าหน้าที่จนอาจเรียกได้ว่าเป็นวิถีชีวิตรูปแบบใหม่(New Normal)ที่ยั่งยืน ซึ่งมี 3 รูปแบบได้แก่ 1)การเรียนแบบสื่อสารสองทาง 2)การเรียนแบบสื่อสารทางเดียว 3)การเรียนแบบมอบหมายงาน และการปรับรูปแบบการวัดและประเมินผล
ผลกระทบส่งผลต่อ การเตรียมการสอน การใช้สื่อการสอน การติดต่อสื่อสารกับผู้เรียน การออกแบบการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียนออนไลน์ การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆในการสอนออนไลน์ และกลวิธีให้ผู้เรียนได้เข้าใจในบทเรียนให้มากที่สุด และมีการประเมินผลในระบบออนไลน์ หลักการของ ADDIE Model ซึ่งเป็นหลักการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาอย่างเป็นระบบ และมีการใช้เครื่องช่วยการสอนออนไลน์มากขึ้น เช่น ระบบ ZOOM, MS Team, Google Classroom, Microsolf Team Classroom, Cisco Webex, Google meet, Facebook Messenger group, Line group
เทคนิคการสอนแบบออนไลน์นั้นจึงมีความสำคัญโดยเฉพาะสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพที่ปฏิบัติงานในระบบสุขภาพตามโรงพยาบาล และสถานบริการด้านสุขภาพต่าง ๆ ต้องอาศัยรูปแบบวิธีที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันจนส่งผลให้เกิดปกติวิถีใหม่และใช้จนถึงปัจจุบัน องค์ประกอบหลักที่สำคัญคือ ผู้เรียน ผู้สอน เนื้อหา และเทคโนโลยีเป็นหลักเพื่อนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ให้มากที่สุด
คำสำคัญ: ผลกระทบการระบาดของ COVID-19, รูปแบบการเรียนการสอนแบบปกติวิถีใหม่ยั่งยืน
Article Details
References
ธีระชล สาตสิน,ศรีสุดา วงษ์วิเศษกุล. ถอดบทเรียนการสอนออนไลน์:ความท้าทายสำหรับอาจารย์ในสถานการณ์โรคโควิด 19. วารสารพยาบาลทหารบก. 2564;22(1):1-9
Jones AL, Kessier MA. Teachers' emotion and identity work during a pandermic. Frontiers in Education. 2020, (5):583775 https://www.moicoid.com/04/09/2021/uncotegorized/4785/[Internet.] [cited 2021 September 5]
นิรุจน์ เพ็ชร์สินเดชากุล, นันท์นภัส ยุทธไธสงค์, เกษรินทร์ พุทธวงศ์, อานุวัฒ ราณรงค์, วีระชาติ บุญเกิน, วราภรณ์ แก้วล้วนทองและคณะ. การสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(Coronavirus Disease 2019: COVID-19)ผู้ป่วยรายแรกจังหวัดนครสวรรค์ 23 มีนาคม 2563. วารสารโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์. 2564;15(2):21-30
Thanakijtummakul N. Nursing care for COVID-19 patient with acute respiratory distress syndrome. Journal of Thailand Nursing and Midwifery council. 2021; 36(3):16-30
วงเดือน สุวรรณคีรี, สุรีภรณ์ สุวรรณโอสถ,รุ้งนภา ชัยรัตน์, อรอุมา ไชยเอม, ธัญลักษณ์ ทองสะอาด. การศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่21ของนิสิตพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2562;13(1):89-98
สายสมร เฉลยกิตติ,จินตนา อาจสันเที๊ยะ,มักเดลานา สุภาพร ดาวดี. ผลกระทบโรคระบาด COVID-19: การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2563;36(2):255-262
พัชราภรณ์ ดวงชื่น. การบริหารจัดการศึกษาความปกติหลังวิกฤติโควิด-19. วารสารศิลปการจัดการ. 2563;4(3):783-794
สมสิริ รุ่งอมรรัตน์, ดวงใจ รัตนธัญญา, พัสมนต์ คุ้มทวีพร, วันดี โตสุขศรี, วารีรัตน์ ถาน้อย, จรรยา เจริญสุขและคณะ. การสัมมนาการเพิ่มขีดความสามารถด้านการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วันที่ 10-12 มิถุนายน 2563, ห้อง 217 อาคารมหิดลอดุลยเดช-พระศรีนครินทร ศาลายา และ ห้อง301 อาคารพระศรีพัชรินทร บางกอกน้อย และผ่านระบบออนไลน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
พิไลพร สุขเจริญ, จุฬาลักษณ์ แก้วสุก, สุนันทา ลักษ์ธิติกุล, เสาวพฤกษ์ ช่วยยก, ศิมาภรณ์ พวงสุวรรณ์, สุพัตรา ลักษณะจันทร์. ถอดบทเรียนจากประสบการณ์ของนักศึกษาพยาบาลผ่านการเรียนการสอนออนไลน์ภายใต้วิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด 19. วารสารศูนย์การแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2564;38(2):224-231
ปราโมทย์ ถ่างกระโทก, บุศรินทร์ หลิมสุนทร, ณัฐชยา พลาชีวะ, อาบกนก ทองแถม. การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลแบบออนไลน์ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส 19: กรณีศึกษา รายวิชาวิทยาการระบาด. วารสารสภาการพยาบาล. 2564;36(3):31-44
Butnaru GI, Nita V, Anichiti A,Brinza G. The effectiveness of online education during Covid 19 pandermic –A comparative analysis between the perceptions of academic students and high school students from Romania. Sustainability2021;13(9):5311.
Mahdy MA. The impact of COVID-19 pandemic on the academic performance of veterinary medical students. Frontiers in veterinary Science. 2020;(7):594261
Mahdy MA. The impact of COVID-19 pandemic on the academic performance of veterinary medical students. Frontiers in veterinary Science. 2020;(7):594261
Gopal R, Singh V, Aggarwal A. Impact of online classes on the satisfaction and performance of students during the pandemic period of COVID 19. Education and Information Technologies. 2021.
Gopal R, Singh V, Aggarwal A. Impact of online classes on the satisfaction and performance of students during the pandemic period of COVID 19. Education and Information Technologies. 2021.
Li W, Gillies R, He M, Wu C, Lui S, Gong Z. et al. Barriers and facilitators to online medical and nursing education during the COVID-19 pandemic: perspectives from international students from international students from low- and middle-income countries and their teaching staff. Human Resource for Health journal. 2021;10 (1186):1-14
Bdair IA. Nursing students and faculty members' perspectives about online learning during COVID-19 pandermic:A qualitative study.Teaching and Learning in Nursing. 2021.;16(3)220-6.
Purling A. King L. A literature review: graduate nurses` preparedness for recognizing and responding to the deteriorating patient. Journal of Clinical Nursing. 2012. 21:3451-3465
จิรภัค สุวรรณเจริญ, อติญาณ์ ศรเกษตริน, ชุติมา มาลัย. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. พยาบาลสาร. 2560;44(4):177-188
เทื้อน ทองแก้ว. การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. คุรุสภาวิทยาจารย์วารสาร. 2563;1(2):1-10