การพัฒนาการการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชนไทย เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ณฐมน หมวกฉิม
จิรเดช ทังสุบุตร

บทคัดย่อ

          การศึกษาเรื่อง ” การพัฒนาการมีส่วนร่วมของเยาวชนไทย  เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการพัฒนาการมีส่วนร่วมของเยาวชนไทย และ 2) อิทธิพลของการมีส่วนร่วมของเยาวชนชาวไทย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mix Method) ที่เริ่มจากการวิจัยเอกสารทบทวนวรรณกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องหลังจากที่ได้กรอบแนวคิด ทฤษฎี และทำการตั้งสมมุติฐานของงานวิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ที่กลุ่มตัวอย่างคือ เยาวชนไทยทั้งชายและหญิงอายุตั้งแต่ 18  - 30 ปีขึ้นไป โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่ม ตัวอย่างของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น95% ได้ จำนวนตัวอย่าง 400 คนและใช้วิธีการสุ่มเลือกตัวอย่างแบบง่ายจากเยาวชน เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร โดยใช้ แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลและการวิจัยเชิง คุณภาพ (Qualitative Research) ที่ผู้ ให้ข้อมูลสำคัญจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่1 เพศชาย  กลุ่มที่2 เพศหญิง จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Random Sampling) ที่เป็นไปตามคุณสมบัติของการวิจัยโดยใช้การวิเคราะห์ ข้อมูล การวิเคราะห์ ใจความ (Textual Analysis) และเสริมด้วยการวิเคราะห์บริบท (Contextual Analysis) รวมทั้งจะใช้วิธีการวิเคราะห์แบบการวิเคราะห์สาระ (Content Analysis) เพื่อมาเป็นข้อสนับสนุนเชิงปริมาณ (Quantitative Data) สำหรับผลการวิจัยจากการวิเคราะห์ผลข้อมูลดังที่แสดงผลมาแล้วนั้นผู้วิจัยได้นำผลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ได้เป็นตัวแบบหรือ Model ที่ผู้วิจัยให้ชื่อว่า ”การพัฒนาการมีส่วนร่วมของเยาวชนไทย ซึ่งมีองค์ประกอบอยู่ 8 ส่วนคือ 1) ด้านการเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม 2) ด้านความรู้ความเข้าใจการเมือง 3) ด้านการพัฒนาทางการเมือง 4) ด้านการรับรู้ข่าวสารทางการเมือง 5) ด้านจิตสำนึกทางการเมือง 6) ด้านอุดมการณ์ทางการเมือง 7) ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง 8) ด้านความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนั้นให้เกิดความมีประสิทธิผลมากที่สุดในการลดความเสียหายที่เกิดขึ้น เพื่อความสมานฉันท์และเป็นประโยชน์ต่อประชาชน สังคม ประเทศชาติต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2556). อาเซียนศึกษา. กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล สถาบันพระปกเกล้า.

เลอภพ โสรัตน์ และคณะ. (2554). บทบาทสื่อมวลชนกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 5(3), 117-129.

สมบัติ ธำรงธัญญวงศ์. (2549). การเมืองไทย. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

สุรพงษ์ชัยนาม. (2545). อาเซียนในสหัสวรรษใหม่. กรุงเทพฯ: เต็มร้อย.

Blais, A. and Simon L. (2011).Personality Traits, Political Attitudes, and the Propensity to Vote. European Journal of Political Research, 50(3), 395–417.

Carney, D. R., Jost, J. T., Gosling, S. D. and Potter, J. (2008). The Secret Lives of Liberals and Conservatives: Personality Profiles, Interaction Styles, and the Things They Leave Behind. Political Psychology, 29(6), 807–840.

Carroll, Susan. (2006). Voting Choices: Meet You at the Gender Gap. In Susan J. Carrolland Richard L. Fox, eds., Gender and Elections Shaping the Future of American Politics. Cambridge: Cambridge University Press.

Kenski, K. (2000). Women and political knowledge during the 2000 primaries. The Annals of The American Academy of Political and Social Science, 572, 26-28.

Swidler, S. A. (2005).Conversation and control: Emergent progressive pedagogy in the last of Nebraska’s one-teacher schools. Journal of Research in Rural Education, 20(4), 1-16.