ปัจจัยทางเศรษฐกิจและปัจจัยแวดล้อมเกี่ยวกับการออมที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมในการจัดการทางการเงินส่วนบุคคลของกลุ่มคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พนมพล สุขวัฒนทรัพย์

บทคัดย่อ

           การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและการวางแผนทางการเงินของกลุ่มคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครและ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางเศรษฐกิจและการออมกับพฤติกรรมในการจัดการทางการเงินส่วนบุคคลของกลุ่มคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ กลุ่มคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความสะดวก (Convenience sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับผลการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติไคสแควร์


           ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุระหว่าง 31 – 40 ปี สถานภาพหย่าร้าง ประกอบอาชีพรับจ้าง มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีรายได้ 20,001 – 30,000 บาท โดยปัจจัยทางเศรษฐกิจและปัจจัยแวดล้อมเกี่ยวกับการออมที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญอย่างมากได้แก่ ปัจจัยด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ด้วยค่าเฉลี่ย 3.85 รองลงมาคือ ปัจจัยอื่น ๆ ด้วยค่าเฉลี่ย 3.73 ลำดับต่อมาคือ ปัจจัยภาวะทางเศรษฐกิจ ด้วยค่าเฉลี่ย 3.71 และปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจในเรื่องการจัดการทางการเงินส่วนบุคคลเป็นลำดับสุดท้ายด้วยค่าเฉลี่ย 3.51 สำหรับการทดสอบสมมติฐานที่ 1 พบว่า เพศ อายุ การศึกษา รายได้ต่อเดือน อาชีพไม่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมในการจัดการทางการเงินส่วนบุคคล นอกจากนี้ยังพบว่าอาชีพที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์ต่อการจัดการทางการเงินส่วนบุคคลในด้านวัตถุประสงค์ในการจัดการทางการเงินส่วนบุคคล ในการทดสอบสมมติฐานที่ 2 พบว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจและการออมไม่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดการทางการเงินส่วนบุคคล ในด้านช่องทางในการจัดทำแผนทางการเงินส่วนบุคคคล ด้านรูปแบบในการจัดการทางการเงินส่วนบุคคลและด้านบุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อการจัดการทางการเงินส่วนบุคคล นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจและปัจจัยแวดล้อมเกี่ยวกับการออมมีความสัมพันธ์ต่อการจัดการทางการเงินส่วนบุคคลในด้านวัตถุประสงค์ในการจัดการทางการเงินส่วนบุคคล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา หงส์ทอง. (2551). เข็มทิศการเงิน. กรุงเทพฯ: กรุงเทพธุรกิจ Bizbook.
จันทร์เพ็ญ บุญฉาย. (2552). การจัดการการเงินส่วนบุคคล: กรณีศึกษาเฉพาะกลุ่มวัยทางานในเขตกรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ฟินันซ่า จากัด. (ม.ป.ป.). การวางแผนการเงินส่วนบุคคลในทศวรรษที่ 21. สืบค้นวันที่ 15 กันยายน 2552 จาก http://www.finansa-asset.com/articles/th_Wealth2007-08.html.
สุขใจ น้ำผุด. (2545). กลยุทธ์การบริหารการเงินบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์. (2552). ผลสำรวจการเงินของคนรุ่นใหม่ รายได้สูง. สืบค้นวันที่ 9 ตุลาคม 2552 จาก http://www.marketingoops.com/reports/research/premium-consumer/.
ศิรินุช อินละคร. (2548). การเงินบุคคล. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.