ผลกระทบจากการดำเนินนโยบายค่าจ้าง 300 บาท ต่อวัน: กรณีพนักงานบริษัท เอส เอ็ม แอล (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

วรัญญา รักแก้ว
รัฏฐาธิป จันทร์ครุธ ทรัพย์รวงทอง
ปัญญา อนันตธนาชัย

บทคัดย่อ

            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบจากการดำเนินนโยบายค่าจ้าง 300 บาท ต่อวัน ของพนักงาน บริษัทเอสเอ็ม แอล (ประเทศไทย)จำกัด 2)  เปรียบเทียบผลกระทบ จากการดำเนินนโยบายค่าจ้าง 300 บาท ต่อวัน ของพนักงานบริษัทเอส เอ็ม แอล (ประเทศไทย) จำกัด ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงาน บริษัทเอสเอ็ม แอล (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 223 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีระดับค่าความเชื่อมั่น 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที สำหรับตัวแปรที่มี 2 กลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว สำหรับตัวแปรที่มี 3 กลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีการทดสอบฟิชเชอร์


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลกระทบจากการดำเนินนโยบายค่าจ้าง 300 บาท ต่อวัน กรณีพนักงานบริษัทเอส เอ็ม แอล (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนรายด้านมีค่าเฉลี่ยเรียงตามลำดับมากไปน้อยได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการนำนโยบายปฏิบัติ  และด้านคุณภาพชีวิตของครอบครัว  ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบ ผลกระทบจากการดำเนินนโยบายค่าจ้าง 300 บาท ต่อวัน กรณีศึกษาพนักงานบริษัทเอส เอ็ม แอล (ประเทศไทย) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาพรวมเมื่อจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอายุงาน ไม่แตกต่างกัน ส่วนรายด้านเมื่อจำแนกตามรายได้ต่อเดือน พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว. (2555). ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในการวิจัยผลกระทบจากการขึ้นค่าจ้าง 300 บาท ที่มีต่อภาคธุรกิจ SME ธุรกิจขนาดย่อยและขนาดเล็ก. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://www.manager.go.th

ธนิต โสรัตน์. (2554). การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย ปี 2553/2554. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2560, จาก http://www.tanitsorat.com/view.php?id=439

บริษัท เอส เอ็ม แอล (ประเทศไทย) จำกัด. (2556). แผนธุรกิจประจำปี 2556. พระนครศรีอยุธยา: ม.ป.ท..

ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา. (2555). ปัญหาและอุปสรรคในการสร้างความเข้มแข็งและเอกภาพของขบวนการแรงงานไทย. ใน นภาพร อติวานิชยพงศ์ และคณะ. แรงงานกับความเป็นธรรม ปัญหาและทางออก รายงานการวิจัยในโครงการพัฒนาความเป็นธรรมทางสังคม เพื่อสังคมสุขภาวะ. สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

ศูนย์วิจัย ม.ธุรกิจบัณฑิตย์. (2555). ผลกระทบที่มีต่อธุรกิจ SME จากการขึ้นค่าจ้าง 300 บาท ตามนโยบายของรัฐบาล. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://www.manager.go.th.

ศูนย์วิจัยธุรกิจ เอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. (2555). เสียงสะท้อนของผู้ประกอบการ SMEs และประชาชนทั่วไปต่อนโยบายค่าแรง 300 บาท และเงินเดือน 15,000 บาท. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2556, จาก https://www.ryt9.com/s/abcp/1379360

สมศจี ศิกษมัต และวรุตม์ เตชะจินดา. (2554). ระบบอัตราค่าจ้างขั้นต่าของไทย. Focused and Quick, Bank of Thailand, 38, 24-35.

Yamane, T. (1973).Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. Newyork : Harper and Row Publication.