การศึกษาการลงทุนในสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว กฎหมาย และปัญหาอุปสรรคที่เกี่ยวข้อง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการลงทุนใน สปป.ลาว ในระยะหนึ่งปีผ่านมาของปี 2012 จากการศึกษาวิจัยพบว่าสภาพการลงทุนอยู่ใน สปป.ลาว โดยรวมแล้วมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและเป็นประเทศหนึ่งที่มีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจเร็วที่สุดในขอบเขตภูมิภาคอาเซียนโดยระดับอัตราการเพิ่มขึ้นของ GDP เฉลี่ย 8% ต่อปี รายได้ส่วนใหญ่มาจากภาคการลุงทุนจากต่างประเทศ (2) เพื่อศึกษาแขนงการอุตสาหกรรมหรือจำนวนโครงการของนักลงทุนแต่ละประเทศที่เข้ามาลงทุนอยู่ สปป.ลาว ภาคส่วนการลงทุนในปี 2012 ที่ได้อนุมัติทั้งหมดมี 14 ประเทศ [โดยจัดอันดับที่มีการลงทุนมากที่สุดแต่ละประเทศ คือ ประเทศเวียดนาม มี 12 โครงการ มูลค่าลงทุน 1,454,654,474 US$ สปป.ลาวมี 58 โครงการมูลค่าลงทุน 262,095,251US$ ประเทศเกาหลีใต้ มี 5 โครงการ มูลค่า 136,294,708 US$ ประเทศจีน 21 โครงการ มูลค่า 77,327,922 US$ ประเทศไทยมี 11 โครงการ มูลค่า 69,578,275 US$ ประเทศมาเลเชีย มี 2 โครงการ มูลค่า 22,030,000 US$ ฮ่องกง มี 2 โครงการ มูลค่า 6,500,000 US$ สหรัฐอเมริกา มี 1 โครงการ มูลค่า 1,851,840 US$ แคนนาดา มี 1 โครงการ มูลค่า 1,493,010 US$อิสรเอล มี 3 โครงการ มูลค่า 1,432,600 US$ รัสเชีย มี 1 โครงการ มูลค่า 900,000 US$ ฝรั่งเศส มี 6 โครงการ มูลค่า 748,000 US$ ไต้หวัน มี1 โครงการ มูลค่า 400,000 US$ ญี่ปุ่น มี 1 โครงการ มูลค่า 350,000 US$] (3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนใน สปป.ลาว โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิและเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ เช่น จากหนังสือ เอกสาร บทความ วารสาร และระเบียบกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการลงทุนใน สปป.ลาวเช่น ด้านกฎหมายการส่งเสริมการลงทุนใน สปป.ลาว เพิ่งจะได้เริ่มใช้ปฏิบัติ จึงอาจมีการตีความหมายจากหน่วยงานผู้ปฏิบัติของ สปป.ลาว ที่แตกต่างกันในแต่ละหน่วยงาน นอกจากนี้กฎหมายมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขเร็ว ไม่แน่นอนกฎหมายกับแนวทางปฏิบัติ ไม่สอดคล้องกันในบางประเด็นรวมทั้งยังไม่ได้มาตรฐานระดับสากล ด้านเทคโนโลยียังได้รับการพัฒนามากมายทำให้นักลงทุนใน สปป.ลาว ต้องนำเข้าทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ด้านการบริการทางการเงิน ธนาคารพาณิชย์ใน สปป.ลาว ยังมีน้อยและส่วนใหญ่อยู่ในนครหลวงเวียงจันทร์ อาจทำให้ไม่สะดวกในการใช้บริการ ด้านระบบสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า น้ำปะปา ยังกระจายไม่ทั่วถึง เส้นทางคมนาคมยังทุรกันดาร ต้องใช้เวลาในการขนส่ง รวมทั้งใช้ต้นทุนสูง เพราะนักลงทุนไม่สามารถขนส่งสินค้าด้วยรถยนต์ของตนเองหรือต้องเสียค่าจ้างให้กับรถที่ขึ้นทะเบียนสำหรับในการขนส่งเท่านั้น และเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ด้านแรงงานท้องถิ่นยังเป็นแรงงานที่มีทักษะน้อย (Non- Skill) และทั้งนี้การนำแรงงานต่างชาติสามารถนำเข้าไปได้เฉพาะเท่าที่จำเป็น ด้านขนาดตลาดของ สปป.ลาว มีขนาดเล็ก ประชากรยังมีน้อย มีอำนาจซื้อไม่มากนัก ด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือการโฆษณายังมีความจำกัด
Article Details
References
สมฤทธิ์ จินดาวงศ์. (2543). ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างไทยกับลาว ค.ศ. 1990 (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสาวรินทร์ สายรังษี. (2537). การลงทุนทางตรงในต่างประเทศของบริษัทไทย : กรณีศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต). คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อดิเทพ จิตรหัสต์ชัย.(2547). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนโดยตรงของนักธุรกิจไทยในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.