แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามโครงการสวดมนต์ข้ามปีของประชาชนในจังหวัดยโสธร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามโครงการสวดมนต์ข้ามปีของประชาชนในจังหวัดยโสธร 2) เพื่อเปรียบเทียบแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามโครงการสวดมนต์ข้ามปีของประชาชนในจังหวัดยโสธร ที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาแตกต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามโครงการสวดมนต์ข้ามปีของประชาชนในจังหวัดยโสธร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนในจังหวัดยโสธร จำนวน 132 คนเครื่องมือที่ใช้ของการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติอนุมานหรืออ้างอิง ได้แก่ (t - test) การทศสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามโครงการสวดมนต์ข้ามปีของประชาชนในจังหวัดยโสธร รวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง พิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านการสมาทานศีล รองลงมา คือ ด้านการฟังเทศน์ และค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการเจริญสมาธิ 2) ผลการเปรียบเทียบแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามโครงการสวดมนต์ข้ามปีของประชาชนในจังหวัดยโสธร ที่มีเพศ และการศึกษา ไม่แตกต่างกัน แต่ด้านอายุแตกต่างกันโดยรวมทั้ง 3 ด้าน แตกต่างกัน คือ ด้านการสมาทานศีล อายุ 18-29 ปี แตกต่างกันกับอายุ 30-39 ปี อายุ 40-49 ปี และ50 ปีขึ้นไป และอายุ 40-49 ปี ยังแตกต่างจากอายุ 50 ปีขึ้นไป ด้านการฟังเทศน์ อายุ 18-29 ปี แตกต่างกันกับ อายุ 30-39 ปี และอายุ 50 ปี ขึ้นไป และอายุ 30-39 ปี อายุ 40-49 ปี และอายุ 50 ปีขึ้นไป ด้านการสวดมนต์ อายุ 18-29 ปี แตกต่างกันกับอายุ 30-39 ปี และอายุ 40-49 ปี และอายุ 50 ปีขึ้นไป และอายุ 40-49 ปี ยังแตกต่างกันกับอายุ 50 ปี ขึ้นไป และด้านการเจริญสมาธิ ไม่แตกต่างกัน และ 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามโครงการสวดมนต์ข้ามปี ด้านการสมาทานศีล ควรตั้งใจงดเว้นจากอบายมุขทุกอย่าง ตามขอบเขตของการตั้งใจ ควรประพฤติสิ่งดีงามให้ปรากฏในจิต ตลอดระยะเวลาเข้าร่วมโครงการ และควรนึกถึงอานิสงส์ของการรักษาศีลที่จะได้รับในปัจจุบัน และอนาคต ด้านการฟังเทศน์ ควรจัดให้มีการสนทนาธรรม และโต้วาทีคารม คำคมธรรม ควรเน้นสาระเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่ดีงามตามหลักคำสอนพระพุทธศาสนา และควรมีการจัดประกวดการบรรยายธรรมเรื่อง ความไม่ประมาทดำรงชีวิต ด้านการสวดมนต์ ควรมีการอธิบายความเป็นมาของบทสวดมนต์แต่ละบท ควรแสดงอานิสงส์บทสวดมนต์แต่ละบท และควรปลูกจิตสำนึกในการสวดมนต์บทพุทธคุณ บทธรรมคุณ และบทสังฆคุณ ด้านการเจริญสมาธิ ควรปลูกฝังการฝึกสมาธิ และวิธีการทำสมาธิเบื้องต้น ควรแสดงอานิสงส์ของการปฏิบัติสมาธิ และควรแสดงแนวทางการปฏิบัติกรรมฐานแบบต่าง ๆ
Article Details
References
ธนิต อยู่โพธิ. (2537). อนุภาพพระปริตต์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
บุญน้อย มุ่งงาม. (2543). การศึกษาเชิงวิเคราะห์ค่านิยมแบบพุทธและการดำเนินชีวิตของชาวพุทธในปัจจุบัน.งานวิจัย บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเสริฐ บุญตา. (2547). พาหุงฯ การเผชิญภัยของพระพุทธเจา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรุงเทพ ฯ.
พระครูวินัยธรน้อมชัย สุธมฺโม (เต้นปักษี). (2557). ศึกษาทัศนคติตอพิธีสวดมนตข้ามปของพุทธศาสนิกชนวัดชะลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ปอ.ปยุตโต). (2540). พุทธธรรมกับการพัฒนาชีวิต. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสภา.
พระมหาชลทิช จันทร์หอม. (2543). การศึกษาวิเคราะห์พิธีสวดมนต์ในพระพุทธศาสตร์เถรวาท ศึกษาเปรียบเทียบความเชื่อของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
ภูริณัฏฐ์ แสงทอง. (2547). เจตคติและการปฏิบัติของเยาวชนต่อหลักเบญจศีล เบญจธรรม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2541).พระไตรปฎกพรอมอรรถกถา แปล. ชุด 91 เล่ม.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
รัชชัย ขยันทำ. (2556). การพัฒนากิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชน จังหวัดยโสธร. รายงานการวิจัย, สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมศักดิ์ ดวงสีเสน. (2534). ศึกษาเชิงวิเคราะห์การปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนไทยในหลักธรรมว่าด้วยบุญกิริยาวัตถุ 3 ได้แก่ การทำทาน รักษาศีล และการเจริญภาวนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุรศักดิ์ ม่วงทอง. (2543). พระพุทธธรรมกับภาวะผู้นำที่พึงประสงค์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
เสถียร พันธรังษี. (2534). ศาสนาเปรียบเทียบ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.