การประยุกต์ใช้หลักอารักขสัมปทาเพื่อการสร้างมูลค่าทางวัฒนธรรมประเพณี จุดไฟตูมกาของชุมชนตำบลทุ่งแต้ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร

Main Article Content

นิคม ปาทะวงศ์

บทคัดย่อ

            งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อให้ทราบว่าประชาชนมีความเข้าใจในประเพณีจุดไฟตูมกาอย่างไรบ้าง 2. เพื่อศึกษาการนำหลักอารักขสัมปทามาใช้ในในการส่งเสริมประเพณีจุดไฟตูมกาของชุมชนเทศบาลตำบลทุ่งแต้ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร 3. เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งเสริมการนำหลักอารักขสัมปทามาประยุกต์ใช้การสร้างมูลค่าทางวัฒนธรรมประเพณีจุดไฟตูมกาของชุมชนเทศบาลตำบลทุ่งแต้ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธรและ 4.เพื่อแสวงหารูปแบบของการนำหลักอารักขสัมปทามาประยุกต์ใช้สร้างมูลค่าทางวัฒนธรรมประเพณีจุดไฟตูมกาของชุมชนเทศบาลตำบลทุ่งแต้ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ประชาชนที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้เป็นอย่างดีและมีอายุที่อาศัยอยู่ไม่น้อยกว่า 20 ปี ทั้งชายและหญิงโดยเลือกการวิจัยจากผู้วิจัย 1 : 4 คน จำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 15 คน และการสนทนากลุ่มจำนวน 5 คน จากผู้ที่อาศัยในท้องถิ่นนี้ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นรายบุคคล แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นรายลุ่ม แบบสังเกตสภาพสิ่งแวดล้อม แบบบันทึกชีวประวัติบุคคลสำคัญ แบบบันทึกการเดินทาง แบบสำรวจพื้นที่เบื้องต้น แบบสังเกตการณ์ชนิดไม่มีส่วนร่วม


           ผลการวิจัยพบว่า สิ่งแวดล้อมของหมู่บ้าน เป็นลักษณะธรรมชาติ มีกิจกรรมของชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงมีบ้านเรือนใหญ่บ้างเล็กบ้างตามอัตภาพหรือสถานะที่เหมาะสมของแต่ละคนซึ่งปัจจุบันสถานะทางเศรษฐกิจของชุมชนกำลังพัฒนามีความเจริญมากยิ่งขึ้น ส่วนประชาชนมีเข้าใจในประเพณีจุดไฟตูมกาเป็นสองลักษณะ คือประเพณีแบบดั่งเดิมได้แก่การทำแบบเรียบง่ายไม่มีการจัดงานขบวนแห่ส่วนปัจจุบันมีการประยุกต์ให้มีความหลากหลายเช่นมีการแห่ขบวนไฟตูมกา ประกวดไฟตูมกา รวมถึงการฟ้อน ประกวดร้องเพลง รวมทั้งมีการประพันธ์บทเพลงเกี่ยวกับไฟตูมกาเพื่อเผยแผ่เป็นต้นแต่ก็ยังเป็นไปเพื่อพุทธบูชา ส่วนการนำหลักอารักขสัมปทามาใช้ส่งเสริมประเพณีไฟตูมกาของประชาชนคือการมีส่วนร่วมเช่นเป็นคณะกรรมการดำเนินการ การส่งบุตรหลานหรือหรือแม่บ้านพ่อบ้านเข้าร่วมขบวนแห่ ขบวนฟ้อนร่วมประกวดธิดาไฟตูมกา และมีส่วนร่วมในการจัดหาวัสดุ การทำต้นไฟตูมกา สิ่งสนับสนุนที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างมูลค่าทางวัฒนธรรมคือความพร้อมของวัตถุดิบทางธรรมชาติคือลูกตูมกาซึ่งนับวันจะเป็นต้นไม้ที่จะหายากมากขึ้นถึงแม้ปัจจุบันยังคงหาได้บ้างตามป่าดงดิบธรรมชาติ ความพร้อมของบุคคลผู้นำซึ่งมีความคิดสร้างสรรค์ต่อยอดเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นและการสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐ ปัจจัยที่ส่งเสริมการนำอารักขสัมปทามาประยุกต์ใช้สร้างมูลค่าทางวัฒนธรรมจุดไฟตูมกาคือประชาชนมีความเสียสละให้ความร่วมมือทั้งด้านวัสดุสิ่งของเสียสละเวลาเป็นวิทยากรอบรมสาธิตการทำต้นตูมกาให้บุคคลทั่วไปได้ทราบความเป็นมาของประเพณีไฟตูมกา และประการสุดท้ายมีการแสวงหาตลาดเพื่อรองรับการสร้างคุณค่าให้เกิดกับประเพณีไฟตูมกา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปริวรรต สมนึกและคณะ. (2552). รูปแบบและแนวทางการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนเกาะภูกระแตของชุมชนบ้านโดมประดิษฐ์ ชุมชนบ้านหนองมะเกลือ และชุมชนบ้านโนนกลาง ตำบลโนนกลาง อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. รายงานการวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
พระครูสิริปริยัติธำรง. (2554). ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบโภควิภาค 4 กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัตนาพร เศรษฐกุล. (2547). การคงอยู่และการปรับเปลี่ยนทางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไท กรณีศึกษาหมู่บ้านในตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง. (2546). ทิศทางการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน. วารสานพัฒนาชุมชน. ปีที่ 42 ฉบับที่ 10, 14-18.
สุวิทย์ วรรณศรีและคณะ. (2554). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา ชุมชนในเขตลุ่มน้ำป่าสักตอนบน อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, ปีที่ 13 เล่มที่ 1, 23-31.