แนวทางการพัฒนาการศึกษา สถานภาพ และบทบาทของแม่ชีไทย

Main Article Content

แม่ชีณัฐหทัย ฉัตรทินวัฒน์

บทคัดย่อ

           บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง “แนวทางการพัฒนาการศึกษา สถานภาพ และบทบาทของแม่ชีไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของแม่ชีไทย สาเหตุปัจจัยที่ทำให้ยังไม่ได้การพัฒนาการศึกษา สถานภาพ และบทบาท เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาในอนาคต ระเบียบวิจัยใช้ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาการศึกษา รัฐบาลควรนำองค์กรแม่ชีเข้าสู่แผนพัฒนาสตรีของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สนับสนุนให้ศึกษา โดยให้ทุนศึกษาระดับสูงทั้งในและต่างประเทศ เพื่อที่แม่ชีจะได้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ มีศักยภาพและศักดิ์ศรี แนวทางการพัฒนาสถานภาพ ประธานสถาบันแม่ชีไทยเห็นว่ารัฐควรรับรองสถานภาพแม่ชี คัดสรรว่าผู้ที่จะเป็นแม่ชีจะต้องมีการปฏิบัติตัวอย่างไร แนวทางการพัฒนาบทบาท ควรสนับสนุนการเตรียมความพร้อมของแม่ชีไทยสู่ประชาคมอาเซียน เช่น การฝึกภาษา คอมพิวเตอร์ โดยจัดการอบรมแม่ชี เพื่อการประชุมในเวทีระดับโลก เพื่อให้บทบาทผู้นำของแม่ชีเด่นชัดขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะทำงานวางแผนพัฒนาสตรีระยะยาว. (2525). แผนพัฒนาสตรีระยะยาว (2524-2544). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). คำวัด. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง.
พระราชกวี (อ่ำ ธมฺมทตฺโต). (2518). ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุน บันทึกตำนานเมืองราชบุรี และประวัติพระพุทธศาสนาที่เมืองไทย โดยเฉพาะสุวัณณภูมิ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.
สุขสันต์ จันทะโชโต. (2549). การศึกษาเชิงวิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติแม่ชีไทย: กรณีศึกษา การพัฒนาองค์การและการพัฒนาสถานภาพแม่ชีไทยในมิติพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. สาขาพระพุทธศาสนา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักแม่ชีไทยสาขาปากท่อ จ.ราชบุรี. (2559). สูจิบัตรในงานประชุมใหญ่สถาบันแม่ชีไทย. ที่สำนักแม่ชีไทย สาขาปากท่อ จ.ราชบุรี.