ประสิทธิภาพการทำงานที่เกิดจากความรู้ความเข้าใจในการเป็นองค์การดิจิทัล ตามนโยบายรัฐบาลดิจิทัล กรณีศึกษา สำนักงาน ก.พ.
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรสำนักงาน ก.พ. ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานขององค์การดิจิทัล และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจในการเป็นองค์การดิจิทัลที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานขององค์การดิจิทัล การศึกษาวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรสำนักงาน ก.พ. จำนวน 258 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และค่าความแปรปรวนทางเดียว f-test : One-way ANOVA ในกรณีที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะนำไปเปรียบเทียบเป็นรายคู่โดยวิธีของ Scheffé และโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 55.80) มีอายุระหว่าง 31 - 40 ปี (ร้อยละ 34.50) สถานภาพสมรสแล้ว (ร้อยละ 46.10) การศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยล 43.80) ตำแหน่งประเภทวิชาการ (ร้อยละ 55.00) และระยะเวลาปฏิบัติงาน 1 - 5 ปี (ร้อยละ 31.80)
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจในการเป็นองค์การดิจิทัลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ คือ ด้านสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 3.82) ด้านการเปลี่ยนพฤติกรรม (ร้อยละ 3.79) ด้านการรับรู้ (ร้อยละ 3.75) และด้านการฝึกฝน (ร้อยละ 3.59)
ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ คือ ด้านเวลา (ร้อยละ 4.12) ด้านคุณภาพและความคุ้มค่า (ร้อยละ 4.12) และด้านความพึงพอใจ (ร้อยละ 3.96)
ผลการทดสอบสมมติฐาน ด้านปัจจัยส่วนบุคคล สรุปผลได้ว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันโดยภาพรวมไม่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานขององค์การดิจิทัล ยกเว้น ประเภทตำแหน่ง ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานขององค์การดิจิทัลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการทดสอบสมมติฐาน ปัจจัยความรู้ความเข้าใจในการเป็นองค์การดิจิทัล มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานขององค์การดิจิทัล สรุปผลได้ว่า ปัจจัยความรู้ความเข้าใจในการเป็นองค์การดิจิทัลโดยภาพรวมในทุก ๆ ด้านมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานขององค์การดิจิทัล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01
Article Details
References
กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก. (15 กุมภาพันธ์ 2559). สืบค้น 2 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.thaigov.go.th/index.php/government-th1/item/99971id99971.html/th/government-th.html.
ประวัติความเป็นมา. สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.). สืบค้น 2 พฤษภาคม 2563,จาก dga.or.th/th/profile_history/.
สมาคมครู เทคโนโลยีสารสนเทศ. ดิจิทัลคืออะไร. 8 กรกฎาคม 20562. สืบค้น 3 พฤษภาคม 2563, จาก aitt.or.th/articles/ดิจิทัลคืออะไร/.
สำนักงาน ก.พ.. Digital Literacy Project โครงการพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ. สืบค้น 2 พฤษภาคม 2563,จาก ocsc.go.th/DLProject/about-dlp.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. คู่มือเทคนิคและวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่ตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. สืบค้น 3 พฤษภาคม 2563, จากhttps://blackdogsworld. wordpress.com/2008/02/08/knowledge-and-comprehension/.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. หลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในการกำกับของฝ่ายบริหาร. กันยายน 2558. สืบค้น 3 พฤษภาคม 2563, จากfile.job.thai.com/prakad/otcc201807/ otcc201807_18.pdf.
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.). แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ.2563-2565. สืบค้น 2 พฤษภาคม 2563, จาก dga.or.th/th/profile/2158.
เอกสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์ Academic Focus. ภาครัฐไทยกับการก้าวสู่รัฐบาลดิจิทัล. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. มีนาคม 2559. สืบค้น 2 พฤษภาคม 2563,จาก http://www.parliament.go.th/library.
Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. New York: Harper and Row, Second Edition.
Likert, R. (1967). The Human Organization : Its Management and Value. New York: McGraw-Hill.