การประยุกต์เมตตาเพื่อแก้ปัญหาการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา

Main Article Content

สุนันทา เลียงธนะฤกษ์

บทคัดย่อ

              บทความวิจัยเรื่องการประยุกต์เมตตาเพื่อแก้ปัญหาการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ (1) เพื่อศึกษาปัญหาการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคาในสังคมไทย (2) เพื่อศึกษาเมตตาในพระพุทธศาสนา (3) เพื่อศึกษาการประยุกต์เมตตาเพื่อแก้ปัญหาการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา มีระเบียบวิธีวิจัย ได้แก่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากเอกสารงานวิจัย การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตอย่างไม่เป็นทางการ แล้วนำเสนอในรูปแบบพรรณนาโวหาร มีผลการศึกษาวิจัยสรุปได้ ดังนี้


             สลากกินแบ่งรัฐบาล เริ่มแรกขายเพียงใบละ 1 บาท แล้วทำการปรับราคาขายเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งปัจจุบันขายอยู่ที่ราคาใบละ 80 บาท โดยภาพรวมแล้วการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลมีการขายเกินราคา ซึ่งปัญหาการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคาในสังคมไทยนั้นมี 5 ประการ คือ (1) การขายปลีกเกินราคา (2) การขายเลขชุด (3) การแลกเปลี่ยนสลาก (4) การขายเลขประกบ และ (5) การขายส่งยกเล่ม โดยที่การขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคามีสาเหตุมาจากการขาดเมตตา ซึ่งเมตตาในพระพุทธศาสนา หมายถึง ความรัก ที่มีสายใยแห่งความปรารถนาดี และมิตรไมตรี เมตตาสามารถแบ่งออกเป็น 6 ประการ คือ เมตตาพรหมวิหาร เมตตาในอัปปมัญญา เมตตาในสาราณียธรรม เมตตาในทศบารมี เมตตาในเบญจธรรม และเมตตาในอารักขกรรมฐาน จากการวิจัย พบว่าในการประยุกต์เมตตาเพื่อแก้ปัญหาการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคามี 3 แนวทาง คือ (1) แก้ปัญหาการขายปลีกเกินราคาด้วยเมตตาพรหมวิหาร (2) แก้ปัญหาการขายเลขประกบด้วยเมตตาในเบญจธรรม และ (3) แก้ปัญหาการขายเลขชุด, การแลกเปลี่ยนสลากและการขายส่งยกเล่มด้วยเมตตาในสาราณียธรรม 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระพุทธโฆสเถระ. (2551). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส.
พระมหาบุญเรียน ปภงฺกโร (พิลาพันธ์). (2542). การศึกษาวิเคราะห์แนวความคิดเรื่องเมตตาในพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอุปปติสสเถร. (2541). วิมุตติมรรค. แปลโดย พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตโต) และคณะ. พิมพ์ครั้งที่ 5กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัตพงษ์ สอนสุภาพ (และศรัณย์ ธิติลักษณ์). (2554). สลากกินแบ่ง: โครงสร้างอำนาจและผลประโยชน์ของใคร. รายงานวิจัย, คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชระ งามจิตรเจริญ. (2557). สถานภาพของพระสงฆ์สมัยใหม่กับพระวินัย. ในนานาสาระ. รวบรวมโดย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: เอมี่เอ็นเตอร์ไพรส์.
ศรีสุ. (ม.ป.ป). รวมเรื่องกรุงเทพฯ ตอนเหตุการณ์ในสมัยรัชกาลที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สมัย ร.8.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฒโน). (2527). รวมธรรมะ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ การพิมพ์.
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล. ประวัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2561, จาก http://www.glo.or.th/ewt_news.
สุจินต์ บริหารวนเขตต์. (2539). เมตตา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา.