ความต้องการพัฒนาของครูโรงเรียนอนุบาลเคหะบางพลี (๑๐ปี สปช.) จังหวัดสมุทรปราการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2

Main Article Content

ซอนด้า จันทรบุตร

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความต้องการพัฒนาของครูโรงเรียนอนุบาลเคหะบางพลี (๑๐ปี สปช.) จังหวัดสมุทรปราการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 จำแนกตาม  วุฒิการศึกษา และระดับช่วงชั้นที่สอน โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นครูผู้สอนที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนอนุบาลเคหะบางพลี (๑๐ปี สปช.)   จังหวัดสมุทรปราการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 จำนวน 70 คน โดยใช้ประชากรทั้งหมดในการศึกษา  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบ  สำรวจรายการ (Checklist) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage)  ค่าเฉลี่ยประชากร(µ)  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่า (t-test)


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความต้องการพัฒนาของครูโรงเรียนอนุบาลเคหะบางพลี (๑๐ปี สปช.) จังหวัดสมุทรปราการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความต้องการพัฒนาของครูอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน โดยความต้องการพัฒนาด้านการวัดและประเมินผล เป็นลำดับที่ 1 ด้านการครองตนของครู ลำดับที่ 2 ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ลำดับที่
    3 ด้านการวิจัยในชั้นเรียน ลำดับที่ 4 และด้านการใช้สื่อและเทคโนโลยี ลำดับที่ 5 ตามลำดับ

  2. ผลการเปรียบเทียบระดับความต้องการพัฒนาของครูโรงเรียนอนุบาลเคหะบางพลี (๑๐ปี สปช.) จังหวัดสมุทรปราการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ที่มีวุฒิการศึกษา และระดับช่วงชั้นที่สอน ต่างกัน ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). แนวปฏิบัติของครูในสถานศึกษาเอกชน เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา .
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
กิดานันท์ มลิทอง. (2543). ปัญหาและความต้องการการพัฒนาบุคลากรในสำนักงานการ ประถมศึกษาอำเภอ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครพนม. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จักพรรดิ วะทา. (2544). บทบาทของครูตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. วิทยาจารย์. 99 (5): 7 – 9.
ชำนาญ อริยะกุล. (2540). การใช้สื่อการเรียนการสอนของครูอาจารย์โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครพนม. ปริญญาการศึกษามหาบัญฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ดิเรก พรสีมา. (2542). การพัฒนาวิชาชีพครู: สภาพปัจจุบันและปัญหาวิชาชีพครูในประเทศไทย. วารสารวิชาการ. 2 (4): 9-14.
บุญเทศก์ บุษมงคล. (2544 ). ความต้องการของชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนประถมศึกษากลุ่มโรงเรียนหนองแคน สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร.ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม .
ประเสริฐ หมีทอง. (2547). การพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนบ้านนางิ้ว อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา.ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม .
ปรีดา ศรีเศษมาตย์. (2542). การศึกษาเพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดมหาสารคาม. ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น .
ปวีณา ลำพาย. (2544). ความต้องการของครูในการพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น .
พงษ์ศักดิ์ ศรีสมทรง. (2537).การศึกษาคุณลักษณะของครู อาจารย์ตามแนวทางของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นครศรีธรรมราช. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ .
พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์. (2545). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : เจริญผล.
ลัสดา กองคำ. (2541). การศึกษาสภาพการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อการเรียนการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม .
วีรพล ฉลาดแย้ม. (2544). การวิจัยในชั้นเรียนของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดหนองบัวลำภู. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น .
วีรพล ฉลาดแย้ม. (2544). การวิจัยในชั้นเรียนของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดหนองบัวลำภู. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น .
สกาวรัตน์ ชุ่มเชย. (2543). การนำเสนอรูปแบบการวิจัยปฏิบัติการสำหรับการพัฒนาครูประถมศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. ปริญญาการครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .
สมพร สอนสนาม. (2543). การศึกษาพฤติกรรมคุณธรรม จริยธรรมของครูอาจารย์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2543). รายงานการวิจัยเอกสารใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ : วีทีซี คอมมิวนิเคชั่น .
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). รายงานการประชุมสัมมนาเพื่อพิจารณารายงานการวิจัยเรื่องนโยบายการผลิตและการพัฒนาครู. กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.
สิริณา เมธาธราธิป. (2545) .ความต้องการพัฒนาบุคลากรครูในโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .
สุรพล ด้วยตั้งใจ.(ม.ป.ป.). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 – 2544 . กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ดีการพิมพ์.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2543). เรียนรู้สู่ครูมืออาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่2) . กรุงเทพฯ : ที.พี.พริ้นท์ .
อรนุช โพธนุกูล. (2545). ครูกับหน้าที่และบทบาทใหม่ที่เปลี่ยนไป. วารสารวิชาการ. 5 (3): 50-53.
อรอนงค์ แสวงการ. (2541). การศึกษามภาพปัญหาและความต้องการที่มีผลต่อแนวทางการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดขอนแก่น. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น .
อุดมศรี โพธิ์สุข. (2542). สภาพและความต้องการในการใช้สื่อการสอนและเทคโนโลยีการศึกษาของครูอาจารย์ในวิทยาลัยนาฏศิลป์ สถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ กรมศิลปากร. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Wiggins. (1998). Utilization of authentic assessment in Georgia. s elementary school Dissertation Abstracts Internacts Interntional. 59 (4): 1030-a.